สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดเดินสาย "สักการะนาคบารมี" เป็นวันที่2 ก่อนที่จะมีพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพลุ่มน้ำโขง ที่จ.มุกดาหาร
สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘o มูลนิธิวีระภุชงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดคณะนำคณะกรรมการเดินทาง "สักการะนาคบารมี" และพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพ เนื่องในโอกาสงานสรุปโครงการวิจัย"อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย"ที่ จ.มุกดาหาร นำโดยพระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 พระเมธีวรญาณ ป.ธ.๙ ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยาฯ ดร.อภัย จุนทนจุลกะ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันฯ เกษม มูลจันทร์ และ คุณสุรพงษ์ มณีวงศ์ รองเลขาธิการ ดร.อัจฉราวดี แมนชาติ และอันนา สุขสุกรี ผู้ช่วยเลขาธิการ
ระหว่างเส้นทางสักการะนาคบารมีคณะเดินทางไปยัง วัดป่าศรีมงคลรัตนาราม บ้านสิม ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษมีถ้ำนาคาธิบดี หรือถ้ำพญานาควังบาดาล ภายในมีรูปจำลองพญาภุชงค์นาคราช มีตำนานเล่าขานว่าเป็นพญานาคผู้มีตบะเดชะการบำเพ็ญเพียร ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา เฝ้าอยู่ ณ พระธาตุจุฬามณีเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายในโถงด้านใน สวยงาม ราวมนต์สกด พระครูวิจิตรวินัยคุณ เจ้าอาอาสวัดนี้เป็นพระสายธรรมยุติกนิกายสร้างวัดด้วยนิมิตมีอ่างน้ำมนต์ที่ให้โชคกับผู้มาสักการะได้โชคหลายครั้ง
จากนั้นคณะของสถาบันโพธิคยาฯออกเดินทางไป วัดป่าถ้ำผาเพียงนาคแก้ว ตำบลบักดอง อำเภอยขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษเดินทางถึง วัดป่าถ้ำผาเพียงนาคแก้ว กราบสักการะพระครูอุดมสิทธิโชติ เจ้าอาวาสเยี่ยมชมรูปปั้นนพญานาค เศียร นาคแก้วเรืองฤทธิ์ ถ้ำผาเพียงนาคแก้ว ที่ชาวบ้านเล่าว่า เห็นลูกแก้วและแสงหลายสีฉายออกมาจากล้ำ กลิ่นหอม ชุ่มชื่นร่มเย็น เชื่อว่าดินแดนแห่งมนต์ขลังที่เชื่อมต่อโลกมนุษย์และเมืองบาดาล และมีการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกองค์ใหญ่ เป็นสัญสักษณ์แห่งแรงปรารถณาแห่งองค์พญานาคที่ต้องการปกป้องพระพุทธศาสนา
จากคำบอกเล่าระบุว่ามีพระเกจิที่เป็นพระสายปฏิบัติจะเห็นงูใหญ่มาอยู่แถวถ้ำ น่าจะเป็นที่อยู่ของพญานาค ส่วนการที่จะมองเห็นพญานาคต้องเป็นผู้ปฏิบัติ วัดป่าถ้ำผาเพียงนาคแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยการนำของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่าล้านขวดในปัจจุบัน เนื้อที่ 9 ไร้ 3 งาน
เมื่อปี 2552 คณะผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันสร้าง องค์หลวงพ่อทันใจ ถวาย ประดิษฐานกลางลานหินริมเขื่อนห้วยทา โดยหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ท่ามกลางธรรมชาติร่มรื่น แวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาพันธ์
จุดหมายต่อไปของคณะ คือ บ่อโบราณวังพญานาคหนองเดียง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบ่อน้ำโบราณ 9 บ่อ ตำนานเมืองอารยธรรมขอม ที่มาของเมืองพญานาค ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เคยปกครองด้วยครึ่งมนุษย์และพญานาค
จุดหมายสุดท้ายของการเดินทางสักการะนาคบารมีวันที่สอง คือ วัดพระธาตุหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สักการะพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ สร้างเมื่อปี พศ.2500 ภายในองค์พระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึงบรรจุไว้ในสถูป ลงรักปิดทองศิลปะอินเดียแบบปาละ
จากนั้นสักการะรูปปั้น "พญานาคฉัพยาปุตตะ" หนึ่งในพญานาค 4 ตระกูล สร้างตามดำริของเจ้าอาวาสที่ได้นิมิตเห็นงูใหญ่สีรุ้งมาอาศัยอยู่บริเวณพระธาตุหนองบัว