วันที่ 4 ก.ค.65 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) โพสต์ข้อความระบุว่า... 

คำถามที่สอบถามศูนย์จีโนมฯเกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 และไวรัสฝีดาษลิง-คำถาม-ตอบที่ 8

Q8: โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75, BA.2.38, BE.1, และ BF.1 มีการกลายพันธุ์ไปมากน้อยแค่ไหน มีการระบาดที่รวดเร็วและก่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากหรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อนหน้านี้ และสายพันธุ์ใดน่ากังวลที่สุด

A8:

BA.2.75 และ BA.2.38 ส่วนใหญ่พบในอินเดีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า B.1.1.529.2.75 และ B.1.1.529.2.38

BA.2.75 ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากกลายพันธุ์ไปเกือบ 100 ตำแหน่งจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะระบาดเข้ามาแทนที่ BA.5 ซึ่งกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู๋ฮั่น เพียง 85

รองลงมาคือ 2.38 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 75-80 ตำแหน่ง

BE.1 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า B.1.1.529.5.3.1.1 ส่วนใหญ่พบในประเทศแอฟริกาใต้ กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 80-85 ตำแหน่ง

BF.1 ยังไม่มีข้อมูลมากนัก

ในขณะที่ BA.5 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 80-85 ตำแหน่ง

โอไมครอน 4 สายพันธุ์ย่อยที่อุบัติใหม่นี้ ยังไม่มีข้อมูลในด้านความรุนแรงก่อโรคโควิด-19 (disease severity) ต้องเฝ้าระวังกันต่อไป

ยังไม่พบ BA.2.75, BE.1, BF.1 ในประเทศไทย

ส่วน BA.2.38 พบในประเทศไทยแล้วอย่างน้อย 2 ราย

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)