วันที่ 17 มิ.ย.65 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุว่า...
ม็อบสามนิ้ว-ร้อยชื่อ ประท้วงเพื่อเรียกร้องอะไร
ตอนที่ ๒ เรียกร้องว่าประชาชนไม่ต้องการเสียภาษีเลี้ยงดูสถาบันพระมหากษัตริย์
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
...........................................................…………..
ทุกครั้งที่ผมเห็นหรือได้ยินคำพูดหรือถือป้ายโจมตีในทำนองว่า ทำไมคนไทยต้องเสียภาษีเลี้ยงดูพระมหากษัตริย์ แล้วผมอยากเดินไปตอบว่า
มีใครในโลกที่มีอาชีพการงานทำ โดยไม่มีเงินเดือนบ้าง
...........................................................…………..
พระมหากษัตริย์ คือตำแหน่ง
พระมหากษัตริย์ คือตำแหน่ง ประมุขของประเทศ
นายกรัฐมนตรี คือตำแหน่ง ประมุขของรัฐบาล
ประธานรัฐสภา คือตำแหน่ง ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
ประธานกรรมการบริษัท คือตำแหน่ง ประมุขของบริษัทเอกชน
ผู้อำนวยการโรงเรียน คือตำแหน่ง ประมุขของโรงเรียน
ตำแหน่ง ประมุข หรือถ้าจะเรียกอย่างแบบชาวบ้าน ก็เรียกได้ว่า เป็นตำแหน่ง หัวหน้าหรือผู้นำ นั้นเอง
ซึ่แต่ละตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือลูกน้อง ย่อมจะมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานต่างกันไป และต้องได้รับเงินเดือนและสวัสดิการ ต่างกันไป ตามภาระและหน้าที่
...........................................................…………..
ภาษี
ภาษี คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นรายได้นำมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น
สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
สวัสดิการค่าเล่าเรียน
สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่
เป็นต้น
การจะพัฒนาชาติได้ก็ต้องมีคนทำงาน ดังนั้นเงินภาษีส่วนใหญ่ก็คือเงินเดือนของข้าราชการ
พระมหากษัตริย์ คือ ตำแหน่งทางราชการ
...........................................................…………..
รัฐถวาย”เงินเดือน”แด่สถาบันพระมหากษัตริย์ปีละ ๖๐ ล้านบาท หรือเดือนละ ๕ ล้านบาท
แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และพระราชินี ไม่ทรงรับเงินปีนี้เลย นับตั้งแต่ในหลวงทรงขึ้นครองราชย์และพระราชินีได้รับการสถาปนา
มีใครในประเทศไทย หรือในโลกนี้ ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ในงานราชการหรือเอกชน แล้วไม่รับเงินเดือนบ้าง ???
...........................................................…………..
นอกจากไม่รับเงินเดือนแล้ว ยังทรงบริจาคเงินจาก”พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์” รวมไปถึงพระราชทานที่ดินอันเป็น”ทรัพย์สินส่วนพระองค์ “ ให้กับประชาชนผ่านทางหน่วยงานและโครงการต่างๆ มากมาย เป็นจำนวนเงินนับหมื่นนับแสนล้านบาทแล้ว
...........................................................…………..
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
คือทรัพย์สินคนละกอง และคนละเรื่องกัน
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ เป็นกฎหมายในเรื่องสิทธิอันชอบธรรมในการดูแลพระราชมรดกแห่งพระราชวงศ์จักรี ได้แยก
• ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายถึงทรัพย์สินในฐานะส่วนบุคคล
• ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หมายถึงทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถูกแยกออกกันอย่างชัดเจน มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว แต่หลังจากปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฏร์จับมารวมกันทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย
ต่อมาเมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ขึ้นครองราชสมบัติ ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ ขึ้นเพื่อแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้ชัดเจนอีกครั้ง
ทำให้ทรงจัดการพระราชทรัพย์ได้สะดวกและเป็นประโยชน์ได้ง่ายขึ้น และทำให้ทรงเสียภาษีอย่างถูกต้องได้ทั้งหมด
ในส่วนของ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ได้รับการจัดการโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการ
สิ่งที่เรียกว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งไม่สามารถจะยกให้ใครได้ เพราะเป็นของชาติและจะตกเป็นของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ ไป เท่านั้น
ไม่ใช่อย่างที่หลอกกันและปั่นเป็นกระแสโจมตีให้ร้ายและบั่นทอนสถาบันพระมหากษัติย์ เพื่อต้องล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงการล้มล้างการปกครอง
...........................................................…………..
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ มาจากไหน?
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินที่เป็นเงินมรดก
ราชสกุลมหิดล มีทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือเงินมรดกก้อนใหญ่ เนื่องจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็น พระภรรยาเจ้าของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นสมเด็จปู่ของ รัชกาลที่ ๙
พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ ได้ว่า สมเด็จย่าของ ร.๙ ได้รับมรดกจาก ร.๕ ซึ่งเป็นสมเด็จปู่
แล้ว สมเด็จย่าของ ร.๙ นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความประหยัดแล้ว พระองค์ยังขยันทำมาหากิน ทั้งการค้าขาย ทำนา ทำโรงสีข้าว ทอผ้าไหม ถึงขนาดว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงตรัสเสมอว่า “แม่กลางร่ำรวย”
...........................................................…………..
๑. ต่อยอดทำมาหากิน
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
๓.ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
คือส่ิงที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน
...........................................................…………..
๑.ต่อยอดทำมาหากิน
ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า
“ที่ดินหมู่บ้านสัมมากรที่รามคำแหงก็เกิดจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จทางเรือไปตามคลองแสนแสบเพื่อทรงหาซื้อที่ดินเพื่อการทำนา และต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ก็ทรงนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่มีสัมมาชีพมีรายได้ไม่มากนักได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ในราชสกุลมหิดลทั้งสิ้น”
คิดกันง่ายๆ และผมขออธิบายกันง่ายๆ ด้วยภาษาชาวบ้าน ว่า ผู้ที่เป็นเมียเจ้า ย่อมได้รับเงินทองทรัพย์สมบัติเป็นมรดก แต่นอกจากจะมีมรดกแล้ว ก็ไม่ได้นั่งกินนอนกินเฉยๆ แต่กลับเป็นผู้ที่ขยันทำมาหากิน แถมยังเป็นผู้ที่ประหยัดมัธยัสถ์ คนแบบนี้ย่อมมีทรัพย์สมบัติตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลาน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือเป็นสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีพระราชโอรสและะพระราชธิดาหลายพระองค์ แต่ทรงอาภัพ เนื่องจากทะยอยสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระชนมพรรษาน้อยๆ เรื่อยๆ สุดท้ายเหลือพระราชโอรส หรือลูกชายเพียงพระองค์เดียว นั้นคือ เจ้าฟ้ามหิดล พระราชบิดาของรัชกาลที่ ๙ สมเด็จปู่ของรัชกาลที่ ๑๐
ดังนั้นทรัพย์สมบัติ ตกมาที่”เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” หรือ “ทูลกระหม่อมแดง” ทำให้ทรงเป็นเจ้านายที่ร่ำรวยมหาศาล
เรื่องนี้มีบันทึกเป็นหลักฐานชัดเจน โดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ว่า
“...ทูลกระหม่อมอาแดงนั้น ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในบรรดาเจ้าฟ้าด้วยกัน"
นอกจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช จะมีทรัพย์สินมหาศาล แต่พระราชวงศ์ในราชสกุลมหิดล ล้วนได้รับการอบรมสั่งสอนสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ให้รู้จัก ทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์
"ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์"
คือส่ิงที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน
ทุกพระองค์ ทุกรุ่น ที่ล้วนได้รับมรดกมากมายมหาศาล ยังคงรู้จัก ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์
ไม่ใช่อย่างที่หลอกกันและปั่นเป็นกระแสโจมตีให้ร้ายและบั่นทอนสถาบันพระมหากษัติย์ เพื่อต้องล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงการล้มล้างการปกครอง
...........................................................…………..
ขอยกตัวอย่างในเรื่องการทำมาหากิน โดยทรงเป็นหุ้นใหญ่ใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้รับมรดกนี้มาจากรัชกาลที่ ๖
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานวันนี้ (๖ ต.ค.๒๕๖๑) ว่า มูลค่าของธุรกรรมการโอนหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ที่ราว ๑.๖๙ หมื่นล้านบาท ถ้า สนง.ทรัพย์สินฯ ยังถือหุ้นสัดส่วน ๓.๓๓% นี้ต่อไป จะได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลอีกปีละ ๖๐๐ ล้านบาทต่อปี บนสมมติฐานของอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน(ปี ๒๕๖๑) ที่ ๓.๖๒ % ต่อปี
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานด้วยว่า สนง.ทรัพย์สินฯ ยังถือหุ้น ๓.๐๘ % ใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย มูลค่าทรัพย์สินที่ถือใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีรวมกันถึง ๒.๘ แสนล้านบาท
รอยเตอร์อ้างอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งใน สนง. ทรัพย์สินฯว่า ผลตอบแทนจากหุ้นบมจ. ปูนซิเมนต์ไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสัดส่วนราว ๘๐ % ของรายได้รวมต่อปีของ สนง. ทรัพย์สินฯ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
คุณคิดว่าผู้ที่มีทรัพย์สมบัติและรายได้มากมายมหาศาลขนาดนี้ จะมากินเงินภาษีเล็กน้อยๆ เพื่อให้เกิดคำครหาที่สั่นครอนสถาบันฯ เพื่ออะไร? คุ้มหรือ?
ที่สำคัญ คนที่ออกมาโจมตีในหลวงเรื่องใช้เงินภาษีนั้น บางคนจ่ายภาษีตำ่กว่าความเป็นจริง บางคนไม่เคยจ่ายภาษีจากรายได้ของตนเลยด้วยซ้ำ
ในขณะที่ในหลวงชำระภาษีจากรายได้ทุกบาททุกสตางค์ถูกต้องตามกฎหมาย
...........................................................…………..
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ว่า
“...ทูลกระหม่อมอาแดงนั้น ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในบรรดาเจ้าฟ้าด้วยกัน แต่ท่านทรงระมัดระวังกระเหม็ดกระแหม่ในการใช้จ่ายเป็นที่สุด แทนที่จะเสด็จไปประทับโฮเต็ลชั้นเอก กลับประทับโฮเต็ลที่ซอมซ่อที่สุดอยู่ใกล้ ๆ สถานทูต อันเป็นทำเลที่ไม่หรูหราเสียเลยในกรุงลอนดอน...”
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ในฐานะ “หลานอา” ทรงบันทึกไว้
เจ้านายหลายพระองค์ ต่างบันทึกไว้สอดคล้องกันว่า เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชนั้น “ท่านต้องการจะเก็บรายได้ของท่านไว้เป็นส่วนมากเพื่อทำการกุศลอย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ผู้ซึ่งรู้จักทูลกระหม่อมอาแดงดี จึงรักใคร่นับถือบูชาท่านอย่างดูดดื่ม”
นอกจากนี้หลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานที่สำคัญ คือคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ย่อมทราบกับทั่วไปและการันตียืนยันถึงความประหยัดมัธมัธยัสถ์ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้ชัดเจนเป็นอย่างดี
รวมทั้งในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ก็ทำตามเบื้องพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ ๙ เห็นได้ชัดเจน
ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า
เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีของประชาชนสำหรับสำนักพระราชวัง นั้น โปรดให้ใช้เฉพาะในส่วนของหมวดค่าจ้างเงินเดือน หมวดค่าดำเนินการ และหมวดค่าสาธารณูปโภค เท่านั้น
ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงห้ามสำนักพระราชวังตั้งของบพัสดุ ครุภัณฑ์ และงบอื่นใดๆ จาก สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง ทั้งๆ ที่ทรงตั้งงบประมาณได้ เช่นเดียวกันกับหน่วยราชการอื่น ๆ
และหากมีการตั้งเบิก จะต้องตั้งฎีกาไปที่กรมบัญชีกลาง เช่นเดียวกันกับหน่วยงานราชการอื่นๆ ทุกประการ นอกจากนี้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกรายการที่กฎหมาย
ทั้งที่สำนักพระราชวัง เป็นหน่วยงานราชการหนึ่งเหมือนหน่วยงานราชการทั่วไปในประเทศไทย หรือแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ที่ปกครองด้วยระบอบ ประชชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั่วโลก ก็มีงบประมาณในส่วนนี้เหมือนกันทั้งโลก
แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ขอรับงบประมาณเฉพาะส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการเท่านั้น ส่วนอื่นๆ แทบไม่ขอรับงบประมาณจากเงินภาษีเลย
...........................................................…………..
๓ ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
จากมรดกมากมายมหาศาล แต่ยังคงรู้จัก ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากรุ่นสู่รุ่นในราชวงศ์
ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน ยังคงทรงงานและทรงใช้พระราชทรัพย์ในการทรงงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สืบสาน ต่อยอดเพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้
ตัวอย่างหนึ่งคือ การที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ พระราชทานที่ดินมากมายที่เคยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้หน่วยราชการจำนวนมากเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งมีมูลค่านับหลายแสนล้านบาทนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างที่ประเมิณค่ามิได้
...........................................................…………..
อ่านมาจนจบแล้ว ท่านคงเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้วว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในราชวงศ์จักรี จากราชสกุลมหิดลนี้ ทรงอยู่ในราชบัลลังก์อย่างสง่างาม ถูกต้องตามกฎหมายและครรลองครองธรรม
ด้วยปณิฐานซึ่งอาจถือเป็นคุณลักษณะเฉพาะ
๑. ต่อยอดทำมาหากิน
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
๓.ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
คือส่ิงที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน
...........................................................…………..
หากท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อความเข้าใจที่ถูกต้องของพี่น้องประชาชน
โปรดแชร์
ตอนที่ ๑ พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ :
https://www.facebook.com/100566188950275/posts/319678567039035/?d=n