ร่วมสมัย/ชะมวง พฤกษาถิ่น : ในทางจิตวิทยา ศิลปะภาพวาดเป็นสื่อในการเยียวยาจิตใจ (Art therapy)

ภาพความงดงามของธรรมชาติแบบเหมือนจริง (Realistic) ช่วยให้ผู้พบเห็นชื่นชมรู้สึกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย สงบ จดจ่อ เป็นสมาธิ ช่วยลดความกังวลและลดความซึมเศร้า ในขณะที่ภาพวาดเชิงนามธรรม (Abstract) ช่วยให้เซลล์ประสาทในสมองทำหน้าที่แปลผลกับสิ่งที่คุ้นเคย ช่วยให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และภาพวาดการ์ตูนตัวโปรดที่น่ารัก สดใส เป็นวีรบุรุษ (Hero) เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นกาลังใจให้กับเด็กๆ ผู้พบเห็น และผู้ที่ชื่นชอบในด้านจิตวิทยาพัฒนาการ

นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กล่าวว่า สศร.ได้สนับสนุน โครงการศิลปะร่วมสมัยเพื่อสุนทรียภาพในสังคม โดยจัดสรรงบประมาณในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรวมพลังศิลปินมากถึง 150 คน จากผลงานศิลปะของศิลปินจิตอาสา นำโดยนายพรชัย ใจมา ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ คณาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตลอดจนศิลปินจิตอาสาก ลุ่มป้ายสี แต้มฝัน ปันจินตนาการ ดำเนินการสร้างผลงานติดบนฝาผนัง จำนวน 11 ผนัง ร่วมกับผลงานศิลปะสร้างสรรค์ของศิลปินและเยาวชนจิตอาสาใน จ.เชียงใหม่ อีกจำนวน 76 ผลงาน เพื่อส่งมอบและติดตั้งให้โรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่

สำหรับโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลจิตเวช เปิดให้บริการนับเป็นเวลา 83 ปี มีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช โดยวิธีการสำคัญทางหนึ่ง คือการสร้างสิ่งแวดล้อมภายในอาคารผู้ป่วยให้มีความรู้สึกปลอดภัย สะดวก สงบ และผ่อนคลาย ตามหลักสิ่งแวดล้อมบำบัด (Milieu Therapy) นอกจากการจัดโครงการที่มีความมั่นคงดังกล่าวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือมีแนวคิดในการใช้ศิลปะบำบัด (Art therapy) เข้ามาเพื่อเสริมสิ่งแวดล้อมให้มีความสวยงาม สงบ และเป็นสุข โดยการใช้ศิลปะเพื่อสุนทรีภาพ เข้ามาช่วยเป็นสื่อจรรโลงใจ ปลอบประโลมจิตใจแก่ผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ให้รู้สึกประทับใจ มีความสุข ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ศิลปะบาบัดในโรงพยาบาลจิตเวช