วันที่ 9 มิ.ย.65 สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (RC DDC Poll Online) กรณีชีวิตที่ประชาชนต้องการเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่นของโรคโควิด19 ครั้งที่ 1 โดยทำการสำรวจวะนที่ 25 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2565 จำนวน 3,194 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 69% และชาย 31% ช่วงอายุตั้งแต่ 13- 70 ปีขึ้นไป โดยพบว่า ช่วงอายุ 50-59 ปีมากที่สุด 30.3% รองลงมาอายุ 40.49 ปี 29%

โดยผลสำรวจการฉีดวัคซีน ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,194 คน พบว่า... ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 2% ,ฉีดวัคซีนโควิด 1 เข็มอยู่ที่ 1%,ฉีดวัคซีนโควิด 2 เข็มอยู่ที่ 23%,ฉีดวัคซีนโควิด 3 เข็มอยู่ที่ 47%,ฉีดวัคซีนโควิด 4 เข็มอยู่ที่ 26%
ฉีดวัคซีนโควิดมากกว่า 4 เข็มอยู่ที่ 1%

ส่วน เหตุผลที่ไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น มีกลุ่มตัวอย่างตอบ 741 คน พบว่า...กังวลใจผลข้างเคียง 68.6%,ประเทศจะเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น 22.7%,เชื้อโอมิครอนไม่มีความรุนแร 13%,วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ 8.8%

นอกจากนี้ RC DDC Poll Online ยังสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 3,194 คน พบว่า 28% เคยติดเชื้อโควิด และ 72% ไม่เคยติดเชื้อ

เมื่อถามว่าช่วงที่ติดเชื้อโควิด19 ได้รับการดูแลรักษาอย่างไร มีกลุ่มตัวอย่าง 892 คนให้ข้อมูลว่า 67.7% ได้รับการดูแลผ่าน Home Isolation 11.4% ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล 9.5% ได้รับการดูแลที่ Hospitel 7.6% หายเอง และ 3.7% Community Isolation


RC DDC Poll Online ยังสอบถาบกรณีถ้าเข้าสู่โรคประจำถิ่น ต้องการให้ยกเลิกมาตรการใด มีกลุ่มตัวอย่าง 3,175 คน ให้ข้อมูล ดังนี้

อันดับที่ 1 คือ ต้องการเลิกตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 33.4%,อันดับที่ 2 คือ ไม่ต้องตรวจวัดอุณหภูมิ 30.8%,อันดับ 3 คือ ต้องการถอดหน้ากากอนามัย 26.2%,อันดับ 4 คือ ไม่จำกัดจำนวนคนร่วมงาน 24.8%,อันดับ 5 คือ ไม่ต้องตรวจประวัติการฉีดวัคซีนก่อนร่วมกิจกรรม 22.5%,อันดับที่ 6 คือ ไม่ต้องการให้มีการเว้นระยะห่าง 17.1%,นอกนั้น ให้ยกเลิกทุกมาตรการ และไม่ต้องฉีดวัคซีนก่อนเข้าไทย 15.8% และ 10.5% ตามลำดับ