8 มิ.ย.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ราชวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ช่วยให้ระบบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 สามารถรองรับกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึง 2) ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหายหรือภาวะ Long COVID และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว และ ปลอดภัย


ทั้งนี้ มาตรการในระยะแรก เริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ รายละเอียด ดังประกาศของกรมการแพทย์  แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลเรื่องการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น  ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม  2565 (รายละเอียด  อ่านต่อที่  https://bit.ly/3GMrDXr

สรุปมาตรการด้านการรักษา จะแบ่งการดูแลผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

1) กรณีผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย มาตรการการเตรียม การคัดกรองผู้ป่วย  การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ในกลุ่มอาการต่างๆ  จะเน้นใน เรื่อง ของ Outpatient self Isolation ถ้าอาการมากขึ้น เข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาล Cohort Covid ward  รวมถึง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน   ระบบส่งต่อผู้ป่วยโควิด และมาตรการการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ 
2)  กรณีผู้ป่วยมีเสี่ยงต่ออาการรุนแรง รวมถึง ภาวะ Long COVID  เน้นการประเมินอาการของผู้ป่วยที่สงสัยเป็นLong Covid-19 และให้การรักษา การเฝ้าระวัง และ ติดตามช่วยเหลือ
3) กรณีผู้ป่วยทั่วไป เริ่มจากมาตรการการคัดกรองผู้ป่วย ในด้านต่างๆ ได้แก่   การดูแลผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด (Pre-operation) การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน (ER) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ ที่มีระยะเวลานาน  การรับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล (IPD)  การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล  เป็นต้น  

ทั้งนี้ หาก สถานการณ์ปรับเปลี่ยน ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น อาจปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถติดตามในจากเวบไซต์ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.dms.go.th