วันที่ 23 พ.ค.65 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่สงขลา เดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะกล้ากระท่อม ที่ อ.นาทวี จ.สงขลา เมื่อ 21 เมษายน 2565 เพื่อรับฟังสถานการณ์การปลูกและการเพาะกล้ากระท่อม โดยได้รับรายงานจากเกษตรกรว่าในช่วงแรกหลังจากการปลดล๊อกกระท่อมออกจากกฎหมายยาเสพติด ความต้องการต้นกล้ากระท่อมมีสูงมาก สามารถจำหน่ายได้ราคา 200-300 บาทต่อต้น แต่ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการเพาะกล้ามากขึ้น ทำให้ราคาลดลงตามกลไกการตลาด ต้นกล้าเพาะเมล็ดอายุ 4 เดือน ราคาจะขายได้ประมาณต้นละ 40 บาท สำหรับแปลงเพาะกล้าของผู้ประกอบการอำเภอนาทวี มีการเพาะกล้าประมาณ 7 แสนต้น โดยลูกค้าจะเป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบการธุรกิจกระท่อม เกษตรกรรายใหญ่ และลูกค้าเกษตรกรทั่วไป ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกกระท่อมมีความต้องการคำแนะนำทางวิชาการ เช่น พันธุ์ และวิธีการจัดการที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในการผลิตให้ได้ผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพืชสมุนไพร โดยเฉพาะกัญชา กัญชง กระท่อม ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ และ ได้มอบหมายให้สวพ.1-8 และหน่วยงานของกรมทำการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระท่อมต่อไป อย่างไรก็ตามการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งจะไม่ทันการต่อความต้องการเทคโนโลยีของเกษตรกร กรมจึงได้มอบหมายให้นักวิจัย สวพ.8 ทำการศึกษา วิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างก่อน เพื่อจะได้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นแก่เกษตรกร ในสวนงานที่ สวพ.8 ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การสำรวจรวบรวมพันธุ์ ดำเนินการที่ ศวพ.ยะลา รวบรวม แล้วจากจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา การศึกษาเทคโนโลยี ดำเนินการที่ ศวพ.สงขลา การจัดทำแปลงต้นแบบ ที่ศวพ.ตรัง ศวพ.สตูล ศวพ.พัทลุง ศวพ.ปัตตานี ศวพ.รือเสาะ ศวพ. นราธิวาส การทดลองปลูกในแปลง เกษตรกร โครงการ วิจัยความั่มคงทางอาหาร (ปี2565-67) 6 ชุมชน ใน จ. พัทลง ปัตตานี สตูล ยะลา สงขลา นอกจากนั้น สวพ.8 จะได้บูรณาการกับมหาวิทยาลัยทักษิณพัทลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกับหน่วยงานต่าง ๆ โดย สวพ.8 จะสนับสนุนการรับรองมาตรฐาน GAP / Organic และการเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้กระท่อมคุณภาพที่จะวัตถุดิบทางการแพทย์และอุตสาหกรรมต่อไป นอกจานี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มาเป็นประธานการลงนามความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับบริษัทไทยอิสเทิร์นออแกนิก้าจำกัด ภายใต้การร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก และวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดชลบุรี ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการบูรณาการงานพัฒนากระท่อมต่อไป โดยจะมีกิจกรรม เช่น การปลูก การรับรองมาตรฐาน การแปรรูป การพัฒนาโรงงานต้นแบบในการผลิตสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรเพื่อใช้ในทางการแพทย์และอาหารที่ได้ม่ตรฐาน GMP ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีการจัดทำแปลงต้นแบบในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ด้านการตลาดปัจจุบันอินโดนีเซียจะมีการส่งออกมากที่สุด ในปี2563 มีการส่งออกกระท่อม มายังไทย 30 ตัน มูลค่า 23,140 $ ทั้งนี้กระท่อมไทยถือว่าเป็นกระท่อมที่มีชื่อเสียงในตลาดโลก จากข้อมูลการวิเคราะห์สารสำคัญของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่ามีสารสำคัญไมทราไจนีน (Mitragynine) สูงประมาณ 14,000- 15,000 mg/kg ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างจากต่างประเทศ จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดี ของไทยในการพัฒนา อย่างไรก็ตามปริมาณสารสำคัญจะขึ้นกับสายพันธุ์ การขยายพันธ์ การใส่ปุ๋ย ให้น้ำ แสง สภาพแวดล้อมการปลูก และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเกษตรกรจะต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ประกอบการพิจารณาในการจัดการสวนกระท่อม และในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในครั้งที่จะถึงนี้กรมวิชาการเกษตรจะได้มีการนำประเด็นกระท่อมเข้าไปนำเสนอในที่ประชุมด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีความเห็นชอบร่วมกันในการที่จะร่วมบูรณาการงานวิจัยและพัฒนาระหว่างกรมวิชาการเกษตร กับ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และชุมชนที่จะมีขึ้นในโอกาสต่อไป