วันที่ 12 พ.ค.65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ... สมมติฐานที่อธิบายสาเหตุของตักอักเสบปริศนาในเด็กนี้น่าสนใจครับ ด้วยข้อมูลที่ว่า 1.ไวรัส SARS-CoV2 สามารถติดเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร และ ยังสามารถพบซากเชื้อหรือโปรตีนของไวรัสได้เป็นเวลาหลายเดือนหลังจากหายแล้ว 2.โปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 โดยเฉพาะโปรตีนหนามสไปค์ มีบางส่วนที่มีคุณสมบัติเป็น Superantigen คือ ไปกระตุ้น T cell แบบมากเกินธรรมชาติ เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบแบบรุนแรงได้ 3. แต่ Superantigen นั้นปกติจะไม่มีผลอะไรที่ต่อโฮสต์ชัดเจน จนกระทั่งมีการติดเชื้อไวรัสอื่นร่วม โดยเฉพาะ Adenovirus ไปเหนี่ยวนำให้ Superantigen ดังกล่าวในระบบทางเดินอาหารของเด็กถูกกระตุ้นขึ้นมา ส่งผลให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ บน slide ใช้คำว่า "potentiate" ซึ่งหมายถึง ทำให้รุนแรงขึ้น ประเด็นที่ยังไม่ชัดจากคำให้สัมภาษณ์คือ ทำไมเพิ่งมาพบอาการปริศนาช่วงนี้ ซึ่งทำให้คิดต่อไปได้ว่า Superantigen ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับโอมิครอน โดยสายพันธุ์เก่าก่อนหน้านี้อาจจะยังไม่มี...เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจ จาก Slide ดูเหมือนจะมีบทความกำลังจะออกมาในThe Lancet Gastroentetology and Hepatology เร็วๆนี้คงสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ครับ