สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้แนวทางการบริหารความเสี่ยงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้หลายๆ ประเทศปรับแผนขับเคลื่อนการท่องเที่ยวใหม่ โดยสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มรายได้สูง กลุ่มใช้จ่ายสูง กลุ่มนักท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่รักและยินดีจ่ายเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงปฏิเสธไม่ได้เลย ว่า ในอนาคตจะเกิดการแย่งชิง และแข่งขันกันอย่างดุเดือด สร้างคุณค่ายกระดับท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท. ได้ถอดบทเรียนและระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วงที่ผ่านมา จนสามารถตกผลึกจนสามารถจัดทำแผนวิสาหกิจ ททท. ปี 2566-2570 หรือแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานขององค์กร ทั้งในด้านการตลาดการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการองค์กรให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Economy Model และ Happy Model ของรัฐบาล และความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยภายใต้แผนวิสาหกิจ ททท. พ.ศ. 2566-2570 เป็นการดำเนินงานมุ่งสู่ความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์สำคัญ ประกอบด้วย SO1 Drive Demand: มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน SO2 Shape Supply: สร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ SO3 Thrive for Excellence: ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง เน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพผ่านการสร้างเรื่องราวเพื่อส่งมอบคุณค่าประสบการณ์เหนือระดับ (Storytelling and Experience-based) ผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายผ่านการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ร่วมกันขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยว (Tourism Ecosystem) ให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน อันได้แก่ กลุ่มรายได้สูง กลุ่มใช้จ่ายสูง กลุ่มนักท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่รักและยินดีจ่ายเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ยุทธศักดิ์ สุภสร รวมถึงการยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น (พ.ศ. 2566) ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมในทุกมิติ ระยะกลาง (พ.ศ. 2567-2568) เปลี่ยนสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีมูลค่า และระยะยาว (พ.ศ. 2569-2570) มุ่งให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ด้าน นางน้ำฝน บุญยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ กล่าวถึงการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นใน Tourism Ecosystem ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และขยายผลส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ผ่านการสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวคุณภาพที่ตอบโจทย์ Customer Journey มุ่งสู่ Smart Tourism จากการให้สำคัญกับการใช้ข้อมูล เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก ให้พร้อมสำหรับการส่งมอบประสบการณ์ทรงคุณค่าแก่นักท่องเที่ยว นำเสนอเรื่องราวประเทศผ่าน 4 แง่มุม ขณะที่ นายจอห์น เกรกอรี่ คอนเซเซา ผู้อำนวยการบริหารการท่องเที่ยวสิงคโปร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า สิงคโปร์ได้เปิดตัวแคมเปญ SingapoReimagine มุ่งเน้นการนำเสนอสถานที่องเที่ยวและเรื่องราวใหม่ๆ ในสิงคโปร์ ผ่าน 4 แง่มุม ได้แก่ 1. ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainability) ชูการการท่องเที่ยวให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นเมืองในธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. ด้านสุขภาพที่ดี (Wellness) ให้ความสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยว ได้รับประสบการณ์ที่ช่วยผ่อนคลายหรือสร้างความสดชื่น พร้อมการฟื้นฟูสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นในขณะท่องเที่ยว 3. ด้านประสบการณ์อาหารที่หลากหลาย (Food & Dining) เพราะสิงคโปร์คือแหล่งรวมความหลากหลายของอาหารตั้งแต่ระดับสตรีทฟู้ดไปจนถึงไฟน์ไดนิ่ง 4. ด้านสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าตื่นตาตื่นใจ (Novelty & Excitement) ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในสิงคโปร์หรือมีเฉพาะที่สิงคโปร์เท่านั้น จอห์น เกรกอรี่ คอนเซเซา โดย นายจอห์น กล่าวว่า แม้ผลกระทบของโควิดจะทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่ด้วยรูปโฉมใหม่จากกิจกรรมต่าง ๆ ในแคมเปญ น่าจะทำให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจและเกิดความประทับใจได้อย่างหลากหลายแน่นอน และในปีนี้จะต้องเร่งทำการโปรโมตการท่องเที่ยว และคาดว่าเริ่มกลับมาตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชัดเจนในปีหน้า ซึ่งน่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวใกล้เคียงกับก่อนโควิด-19 หรือราว 19.1 ล้านคนในปี 2562 พร้อมกันนี้ การท่องเที่ยวสิงคโปร์ จะผลักดันการเติบโตจากหลากหลายตลาด เริ่มต้นที่ตลาดเอเชีย ก่อนจะขยายไปยังตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลมากขึ้น ส่วนในปัจจุบันตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของสิงคโปร์ คือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยติดอยู่ใน 15 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม นายจอห์น กล่าวต่อว่า นักท่องเที่ยวชาวอาเซียนที่เดินทางไปเยือนสิงคโปร์เป็นกลุ่ม Re-visit สูงถึง 63% ดังนั้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจึงใช้โอกาสพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อเปิดตัวต่อสายตาชาวต่างชาติหลังจากนี้ไป ซึ่ง ความท้าทายของการท่องเที่ยวสิงคโปร์เวลานี้ คือ ต้องทำการประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวไทยให้ไปเยือนสถานที่ใหม่ ๆ ที่คนไทยอาจยังไม่เคยได้ยิน แต่อาจเป็นสถานที่ที่ชาวท้องถิ่นรู้จักกันมานานแล้ว