เมื่อวันที่ 3 พ.ค.65 ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์พร้อมนายอดิเทพ กมลเวทย์,นายเสริมศักดิ์ สีสันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายแพทย์สินชัย ตัณติรัตนานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมกันแถลงต่อสื่อมวลชน ในการประกาศความพร้อม ภาค 2 ก.พ. กำหนดให้โรค Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น
นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid 19 ข้อมูลวันที่ 26 เมษายน 2555 จังหวัดสุรินทร์มีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวนทั้งสิ้น 26,026 รายอยู่ในระหว่างการรักษาจำนวน 2,770 คนที่ผ่านมานั้นจังหวัดสุรินทร์สามารถบริหาร บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพขณะเดียวกันจังหวัดได้เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดตามโครงการหมู่บ้านสีฟ้าหรือหมู่บ้านที่ไม่มีโรค Covid-19 คือภายในหมู่บ้านผู้ติดเชื้อจะได้รับการแยกกักกันตัว หรือรักษาตัวจากชุมชนครบ 100% จังหวัดสุรินทร์มี 2,128 หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านสีฟ้าทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันและดำเนินการตามมาตรการ Covid free setting หรือ 3 P อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องทำให้ 2 อำเภอในจังหวัดสุรินทร์คือ อำเภอเมืองสุรินทร์และอำเภอท่าตูมได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ แถลงอีกว่า การแพร่ระบาดของ covid 19 ปัจจุบันพบว่าผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรงซึ่งเป็นผลจากการได้รับวัคซีนที่ครอบคลุมมีอัตราเสียชีวิตน้อยและอัตราการครองเตียงของผู้ป่วยหนักอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยทรัพยากรทางสาธารณสุขที่มีปริมาณการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดรวมถึงระบบการควบคุมโรคที่เป็นระบบการให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ต่อเนื่องมีประสิทธิภาพจังหวัดสุรินทร์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 จึงได้กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมหาก 2 ก.พ. กำหนดให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นประกอบด้วย 3 ด้านคือ ด้านเชื้อโรค ด้านคนและด้านสิ่งแวดล้อม จำนวนรวม 13 ตัวชี้วัดและจังหวัดสุรินทร์ได้นำได้ดำเนินการขับเคลื่อนกำกับติดตามโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งผลการประเมินได้ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด ทำให้เชื่อมั่นว่าจังหวัดมีความพร้อมสามารถอยู่ร่วมกับ Covid-19 ตามวิถีใหม่แบบ New Normal ได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นจังหวัดสุรินทร์ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 จึงขอประกาศความพร้อมหาก ศบค. กำหนดให้โรค Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่นทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอีกว่า หาก ศบค.ส่วนกลางได้กำหนดให้โรค Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น จังหวัดสุรินทร์ก็เชื่อมั่นว่า การกระตุ้นการขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจในทุกๆด้านจากขยับขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นด้านชายแดน/ธุรการกิจของภาคเอกชนก็คงดำเนินการได้ ถึงอย่างไรก็ตาม ในมาตรการการป้องกัน Covid 19 พี่น้องประชาชนก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค.จังหวัดต่อไป
ด้านนายแพทย์สินชัย ตัณติรัตนานนท์ สสจ.สุรินทร์ กล่าวว่า จากการประเมินการเตรียมความพร้อม ที่กำหนดให้ covid-19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้น จังหวัดสุรินทร์ถือว่า เกนณ์ในการ ประเมิน ได้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสามารถ เสนอต่อ ศบค. เพื่อกำหนดให้โรค covid-19 จังหวัดสุรินทร์เป็นโรคประจำถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม ทาง ศบค.จังหวัดสุรินทร์ก็จะนำเสนอไปยัง ศบค. ส่วนกลางเพื่อพิจารณาต่อไป