เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ลงพื้นที่พร้อมกับ นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายก อบจ. และกองช่าง โดยมี นายสถาพร โชติกลาง ส.อบจ.อำเภอโนนสูง เขต 1 นายสมพร จินตนามณีรัตน์ ส.อบจ.อำเภอโนนสูง เขต 2 และนายวีรยุทธ รายพิมาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในโครงการซ่อมสร้างถนนลาดยาง แอสฟัลท์ติกคอนกรีต ถนน อบจ.นม. 10204 บ้านกลึง - บ้านหนองสะแก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชน ซึ่งมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม ชาวบ้าน มาร่วมเป็นสักขีพยาน ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีความภาคภูมิใจในการพัฒนา ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ด้วยความตระหนักถึงการได้ช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้พี่น้องประชาชน สามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา ทำให้การคมนาคม การขนส่งสินค้าพืชผลด้านการเกษตรได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้ง ทำให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ด้านนายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายก อบจ เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาได้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชนในอำเภอโนนสูงเป็นงบประมาณในปี 2564 จำนวน 15 โครงการ เป็นจำนวนงบประมาณ 43,611,000 บาท และในปี 2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ยังได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาในส่วนของอำเภอโนนสูง อีกจำนวน 18 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 620,076,000 บาท ซึ่งโครงการซ่อมสร้าง ถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ถนน อบจ.นม. 10204 บ้านกลึง – บ้านหนองสะแก อำเภอโนนสูง ก็เป็นโครงการที่อยู่ในงบประมาณ ปี 2565โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง จำนวนเงิน 7,780,000 บาท นายวีรยุทธ รายพิมาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในการสัญจรคมนาคมและขนส่งผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้ประสานไปยัง อบจ ขออนุมัติงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เพื่อจัดทำโครงการซ่อมสร้างถนนลาดยางแอสฟิลท์ติกคอนกรีต ถนน อบจ.นม. 10204 บ้านกลึง - บ้านหนองสะแก อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของการสัญจรไปมาของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากถนนสภาพปัจจุบันเป็นหลุมบ่อ ขรุขระ ซึ่งเมื่อได้รับการปรับปรุงก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราษฎรในพื้นที่ก็จะมีการเดินทางสัญจรดีขึ้น มีความสะดวกสบายในการติดต่อราชการ ด้านการศึกษาและด้านการลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ