บทสวดชยสิทธิคาถาหรือบทพาหุง (ทำนองสังโยค) พาหุง (รับพร้อมกัน) สะหัสสะมะกินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง ฯ บทสวดชยสิทธิคาถา (ทำนองสรภัญญะ) ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท-(รับพร้อมกัน) ธวิสุทธศาสดา ตรัสรู้อนุตตรสมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์ ขุนมารสหัสสพหุพา- หุ่"วิชาวิชิตขลัง ขี่คีริเมขลประทัง คชเหี้ยมกระเหิมหาญ แสร้งเสกสราวุธประดิษฐ์ กลคิดจะรอนราญ" รุมพลพหลพยุหปาน พระสมุททะ"นองมา หวังเพื่อผจญวรมุนิน-ท์ สุชินราชา" พระปราบพหลพยุหมา-รมเลืองมลายสูญ ด้วยเดชะองค์พระทศพล สุวิมลไพบูลย์ ทานาทิธัมมวิธิกูล" ชนน้อมมโนตาม ด้วยเดชสัจจวจนา และนมามิองค์สาม ขอจงนิกรพลสยาม ชยสิทธิทุกวาร ถึงแม้จะมีอริวิเศษ พลเดชเทียมมาร ขอไทยผจญพิชิตผลาญ อริแม้นมุนินทร ฯ (กราบ) ชยสิทธิคาถา คือ บทร้อยกรองเพื่อชัยชนะที่อวยชัยให้พรแก่นักรบฝ่าย กองทัพบกของสยามที่ไปร่วมรบใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 6ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยอนุวัติตาม บทพระบาลีร้อยกรองวสันตดิ่ลกฉันท์ ที่พระราชทานให้แก่นักรบที่ไปร่วมรบ ให้เกิดกำลังใจ จึงให้ร่วมสวดบทพาหุง ซึ่งเป็นบทสวดที่กล่าวถึงชัยชนะของ พระพุทธเจ้าในการเอาชนะมาร ที่แปล เป็นภาษาไทยขึ้น โดยทหารอาสาที่ได้ ไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรใน สงครามโลกครั้งที่1 ก็ได้รับชัยชนะ กลับมา ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ทำให้วันที่ 11 พฤศจิกายน ถือ เป็นวันที่ระลึกทหารอาสาจาก เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1(2) ที่มา: คู่มือสวดมนต์ ส่งเสริมประชาชนเข้าวัดปฏิบัติธรรม ฉบับกรมการศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2553/ (2)อ้างอิงจากwww.http//dhamma.sereechon.us โดยทองย้อย แสงสินชัย รศ.ดร.ชัชพล ไชยพร รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรเรื่อว'ชยสิทธิคาถา' ในรายการ จามจุรีมีเรื่องเล่า ของวิทยุจุฬา เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563