วันที่ 26 เม.ย.65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ... เด็กเล็กติดโอมิครอนได้เยอะกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาก ทำให้ความจำเป็นที่ต้องป้องกันเด็กน้อยด้วยวัคซีนกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน...ในขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกอย่างนึง ผู้เชี่ยวชาญผู้มีอำนาจในการตัดสินใจยังมองหาข้อมูลที่ชัดขึ้นว่าควรหรือไม่ควรดี.. ภาพนี้จึงสื่อสารออกมาชัดเจนครับ เด็กน้อยอาจจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะเห็นโควิดเป็นโรคประจำถิ่น และ ถ้าปล่อยให้ไวรัสปรับตัวติดเด็กง่ายขึ้นๆ ในอนาคตเราอาจจะไม่เห็นโควิดที่ไม่ทำให้เด็กป่วยเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป เป็นหลักการอยู่รอดของไวรัสครับ ประชากรกลุ่มไหนเป็นที่ที่ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดี มักจะกลายเป็นเป้าหมายเสมอ