วันที่ 23 เม.ย.65 ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว " Chaiyan Chaiyaporn" ระบุว่า ...
อย่างในกรณีของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สถานะของพระองค์ภายใต้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในสถานะ “ราชกุมารี” หรือ “princess royal”
เช่นเดียวกันกับเจ้าฟ้าหญิงแอนในขณะนี้ภายใต้รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง
แต่ไม่ใช่ “crown princess” หรือ “มกุฎราชกุมารี” ที่อยู่ในสถานะของผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติถือเป็นพระรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า presumptive heir
พระรัชทายาทโดยสันนิษฐาน (presumptive heir) หมายถึงผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิ แต่อาจจะมีผู้ใดมาแทนเมื่อใดก็ได้ โดยตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ในฐานะ “สมเด็จหน่อพุทธเจ้า”
และเมื่อทรงพระชนมายุครบ 20 พรรษา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็นตําแหน่งสมเด็จพระยุพราช พระองค์ก็จะทรงเป็นพระรัชทายาทโดยแท้หรือที่เรียกว่า apparent heir
อันหมายถึง องค์รัชทายาท ผู้ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึงเกิดขึ้น
ขณะนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติทรงมีพระชนมายุได้ 17 พรรษา (ในวันที่ 29 เมษายน ปีนี้)
และจะทรงพระชนมายุครบ 20 พรรษาในปี พ.ศ.2568 นั่นคือ อีกสามปีนับจากนี้
ขอบคุณข้อมูล เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
ขอบคุณภาพ เพจ สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
