ในขณะที่ยอดป่วยอาการหนักปอดอักเสบทั่วประเทศวันนี้เพิ่มเป็น 1,985 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเป็น 913 ราย กทม.มียอดป่วยปอดอักเสบในรพ.2195 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้พบ 21,808 ราย มาจากต่างประเทศ 91 ราย แต่เมื่อรวมกับผู้ป่วยจากการตรวจ ส่วนผู้ป่วยเข้าข่ายจากการตรวจ ATK วันนี้ 20,635 ราย ทำให้ไทยมีผู้ติดเชื้อบวกเพิ่มเป็น 42,443 ราย ส่วนยอดเสียชีวิตจำนวน 128 ราย  เจอป่วยติดเตียงถึง 11 ราย เป็นโรคหัวใจถึง 17 ราย ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มโรคเรื้อรัง และส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนใกล้ชิด อยู่ในพื้นที่ระบาด สำหรับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด คือ กทม. จำนวน 3,562 ราย เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน (2,907 ราย) และพบการเสียชีวิตกระจายในทุกภาคทั่วไทย เสียชีวิตสูงสุดรายจังหวัดอยู่ที่ กทม. 12 ราย ส่วนยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง มีจำนวน 45 ราย รักษาหาย 19,826 ราย กำลังรักษาอยู่ 191,743 ราย  วันที่ 22 เม.ย.2565  ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 21,808 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 21,717 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 91 ราย วันนี้ไม่มีรายงานลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย ติดเชื้อในประเทศ (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 21,561 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 111 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 45 ราย)  รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63  รวม 4,0 ราย อย่างไรก็ตามหากรวมยอดผู้ป่วยจากการตรวจ ATK จำนวน 20,635 ราย ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่จะมี 42,443 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตทำสถิติใหม่อีก 128 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 27,520 ราย หายป่วย 19,826 ราย รวมยอดรักษาหาย 3,909,738 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 190,780 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.49,711 ราย ในรพ.สนาม/HI-CI 141,069 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,985 ราย (จากเมื่อวาน 2,021 ราย) ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 913 ราย (จากเมื่อวาน 885 ราย) สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต จำนวน 128 ราย พบเป็นคนไทย 126 ราย เมียนมา 1 ราย สวีเดน 1 ราย เพศชาย 79 เพศหญิง 49 ราย อายุ 2 -102 ปี พบทุกภาคทั่วไทยโดยเสียชีวิตมากสุดใน กทม.12 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิต 128 ราย พบ 100 รายอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุน้อยกว่า 60 ปีแต่มีโรคเรื้อรัง 26 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 2 ราย ส่วนผู้ป่วยติดเตียงยังมีการรายงานเสียชีวิตต่อเนื่องวันนี้พบ 11 ราย