วันที่ 14 เม.ย. 65 เวลา 15.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 6 ลงพื้นที่หาเสียง เขตหนองจอก บริเวณตลาดนัดการเคหะฉลองกรุง พร้อมรับฟังปัญหาประชาชนในพื้นที่ โดยมีประชาชนมารอต้อนรับกว่า 300 คน ถึงแม้ว่าพื้นที่หนองจอกจะไม่มีผู้สมัคร ส.ก.กลุ่มรักษ์กรุงเทพลงสมัคร แต่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ก็อยากจะสนับสนุน พล.ต.อ.อัศวิน ให้เป็นผู้ว่าฯ อีกครั้ง โดยได้เล่าถึงปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ให้ฟังทั้งเรื่อง น้ำท่วมขัง อยากมีโรงรับจำนำ กทม.ในพื้นที่ บางชุมชนยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นชุมชนใน กทม.เป็นต้น จากนั้นได้ขึ้นรถหาเสียง ไปตามถนนในชุมชนเพื่อขอคะแนนเสียง ก่อนเดินทางต่อไปยัง เขตสวนหลวง พร้อมผู้สมัคร ส.ก.เขตสวนหลวงหมายเลข 6 นายพงศ์ไพศาล มะลุลีม ลงพื้นที่ชุมชนบ้านป่า พบอิหม่าม ผู้นำชุมชน และพี่น้องประชาชน เพื่อรับฟังปัญหาในพื้นที่ วันนี้เป็นวันครอบครัว พล.ต.อ.อัศวิน ได้กล่าวว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่อยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ปกติหลังเลิกงานก็จะกลับบ้าน อยู่กับภรรยาอยู่กับครอบครัวอยู่กับลูก ถึงแม้บุคลิกของตนจะดูเป็นคนจริงจัง แต่เวลาอยู่กับครอบครัว ตนนั้นเป็นคนอบอุ่นเพราะเป็น Family Man ในฐานะที่เคยเป็นพ่อเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จะดูแลครอบครัวใหญ่ในเมืองหลวง ได้อย่างไรนั้น พล.ต.อ อัศวิน กล่าวว่า ครอบครัวเล็กยังดูแลได้เป็นอย่างดี ครอบครัวใหญ่ไม่ใช่ปัญหาเพราะว่า เริ่มต้นจากตัวเอง คนเราจะดีต้องดีจากตัวเองก่อน ต้องทำตัวเองให้ดีให้ได้ก่อนที่จะไปทำให้คนอื่น ครอบครัวตนเองดีครอบครัวอบอุ่นเพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชน ชาวกรุงเทพฯไม่ต้องกังวลเลย จะต้องอบอุ่นเหมือนครอบครัวของ อัศวิน แล้วยังทิ้งท้ายด้วยว่า เลือกเบอร์ 6 แล้วครอบครัวกรุงเทพมหานครจะอบอุ่นแน่นอน นอกจากนี้ที่ผ่านมา ได้พยายามดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต รวมทั้งความปลอดภัยของทุกคนควบคู่กันไป และยังนับสนุนให้มีพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นทั้ง Pocket Park และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เชื่อมความสัมพันธ์ ในครอบครัว โดยมองว่า พื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวในตอนนี้ ไม่ได้แค่มีแค่ห้างสรรพสินค้าแล้ว ดังนั้นจึงมี นโยบายเรื่องพื้นที่สีเขียว ขึ้นมาแล้วหลายพื้นที่ในสมัยที่เป็นผู้ว่าฯและจะพยายามผลักดันให้มีเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.ผลักดันการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองมากขึ้น ( เป็นพื้นที่กว่า 10,000 ไร่) และสนับสนุนการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาสาธารณขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก เช่น • ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่สวนจากภูผาสู่มหานที เขตจตุจักร • ศึกษาความเป็นไปได้บริเวณพุมธมณฑลสาย 3 • ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เขตบึงกุ่ม • ศึกษาความเป็นไปได้เขตประเวศ • ศึกษาความเป็นไปได้เขตหนองแขม เป็นต้น 2.สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะให้สามารใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น การพัฒนาเป็น Dog Park เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนกรุงเทพมากขึ้นจากเดิมโดยศึกษาความเป็นไปได้ในสวนเบญจกิติ 3.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ว่างในชุมชนให้กลายเป็นสวนเพิ่มเติม เพื่อคนในชุมชนได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ใกล้และสะดวกขึ้นกว่าเดิม และกระจายไปตามเขตต่างๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากพื้นที่ ที่เอื้ออำนวยก่อน เช่น • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขตวัฒนา • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขตจตุจักร • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขตคลองสาน • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขตพระโขนง • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขตพญาไท • ศึกษาความเป็นไปได้ใน เขต ดอนเมือง เป็นต้น 4.ส่งสริมการเพิ่มสวนในเมือง ตามแนวทางรถไฟฟ้า รถไฟ เกาะกลางถนน รวมไปถึงการพัฒนาพื้นที่ว่างและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคลองต่างๆที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น • คลองแสนแสบ • คลองเปรมประชากร • คลองคูเมืองเดิม เป็นต้น 5.ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าชายเลนให้เพิ่มขึ้น (โดยมีเป้าหมายเพิ่มถึง 1000 ไร่) 6.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ในเมืองให้มีสีเขียวมากขึ้น เพิ่มพื้นที่ป่าในให้ได้มากที่สุด โดยมีเป้าหมายถึง 1,000 ไร่ โดยศึกษาความเป็นไปได้ ภายในศูนย์จำกัดขยะมูลฝอยทั้ง 3 แห่ง ได้แก • ศูนย์อ่อนนุช • ศูนย์หนองแขม • ศูนย์สายไหม 7.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประสานระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานครมากขึ้น สอดคล้องกับโครงการ Green Bangkok ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความสงบสุข ปลอดภัย และทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น