เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 มีนาคม 2565 นางสุมิตรา อติศัพท์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ลงพื้นที่ จังหวัดยโสธร เพื่อติดตามการดำเนินโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม สีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ที่โครงการ พัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร โดยมีนายสมศักดิ์ ทวินันท์ หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ,นายยศวัฒน์ เธียรสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร,นายสมชัย บูรณะ นายอำเภอเมืองยโสธร ,นายชาติศักดิ์ จันทร์สุคน อุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร, จ.ส.ต.พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร และผู้นำหมู่บ้าน ผู้บริการ อบต.ค้อเหนือ พร้อมประชาชน ร่วมต้อนรับ โดยนายสมศักดิ์ ทวินันท์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ พัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านการขุด ลอกหนองอึ่ง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและขยายพันธุ์ปลา การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์และการฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อให้คนอยู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งความสำเร็จของการสร้างเครือ ข่ายป่าไม้ตามแนวพระราชชดำริ การปลูกไม้วงศ์ยางเพาะเชื้อเห็ดป่า ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน 200 ไร่ ที่บ้านเปาะ ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร พื้นที่สวนป่าคูเมือง ต.คูเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร จำนวน 200 ไร่ และในพื้นที่ป่าดงมัน บ.ท่าเยี่ยม ต.ค้อเหนือ อ.เมืองยโสธร จำนวน 3,006 ไร่ ที่ให้ผลผลิตเห็ดป่า ทั้งเห็ดเผาะหนัง เห็ดละโงก เห็ดตะไค เห็ดโคน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารตาม ธรรมชาต และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ วนาทิพย์ โอทอปชุมชน คนรักป่า ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยมีภาคเอกชน ร่วมสนับสนุนช่องทางการตลาด ส่วนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในพื้นที่ เช่น งบประมาณในการ ผลิตไม้วงศ์ยางเพาะเชื้อเห็ดป่า เพื่อมอบให้กับประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์และการบำรุงรักษาพื้นที่ปลูกไม้วงศ์ยางเพาะเห็ดป่า ที่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน พร้อมนี้ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบแนวทางการ ดำเนินงานในพื้นที่ โดยการบูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมดำเนินงานตามแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจ ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว ในการสร้างความมั่นคง ทางอาหาร การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากการ เกษตรและการสนับสนุนช่อทางการตลาดซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพ ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ส่วนปัญหา อุปสรรค ด้านงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอนั้น จะสรุปเป็นข้อเสนอแนะ จากการตรวจติดตามงาน เพื่อหาแนวทางให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ต่อไป