ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนถูกยุโรปขนานนามว่าเป็น “ช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด”ของยุโรป และเป็น “จุดเปลี่ยน” ของประวัติศาสตร์ยุโรป ในช่วงเวลาที่ผ่านยุโรปได้ดำเนินการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายุโรปได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนี้อย่างรุนแรง และความขัดแย้งนี้ยังไม่มีวี่แววยังสิ้นสุดลงในเร็ววันอีกด้วย จากการประเมินของนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนอาจจะยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ส่งกระทบต่อยุโรปเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตครั้งนี้จะนำพาให้ยุโรปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ประการแรก ยุโรปและรัสเซียเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบภายใต้บรรยากาศที่อึมครึม หลังการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น และจากความสำเร็จในการขยายอำนาจไปทางยุโรปตะวันออกครั้งแรกทางประวัติศาสตร์ สหภาพยุโรปได้แสดงความปิติยินดีอย่างตรงไปตรงมาในเอกสารยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยฉบับแรกในปี ค.ศ. 2003 (The 2003 European Security Strategy) ว่า “ยุโรปไม่เคยรุ่งเรืองและสงบสุขเช่นนี้มาก่อน” และได้ออกแถลงการณ์ว่า “มหาภัยคุกคามทางทหาร” ได้สิ้นสุดลงแล้ว ทำให้เวลานั้นความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและรัสเซียกำลังไปได้ดีอย่างดีเยี่ยมนับตั้งแต่สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงด้วยความร่วมมือระหว่างทั้งสองในการกำหนดแนวคิดเรื่อง “พื้นที่ร่วมกันสี่ด้าน” (Four Common Spaces) ได้แก่ พื้นที่ร่วมทางด้านเศรษฐกิจ พื้นที่ร่วมทางด้านเสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม พื้นที่ร่วมทางด้านความมั่นคงภายนอก และพื้นที่ร่วมทางด้านการวิจัย การศึกษาและวัฒนธรรม สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและจอร์เจียในปีค.ศ. 2008 และวิกฤติไครเมียในปีค.ศ. 2014 ส่งผลให้ความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างยุโรปและรัสเซียเลวร้ายเรื่อยมา ความเชื่อใจในยุทธศาสตร์ที่มีร่วมกันก็ลดน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามภายในช่วงเวลาอันแสนยาวนานนี้ ยุโรปก็ยังคงมีช่องว่างทางนโยบายให้แก่รัสเซีย โดยเฉพาะการพึ่งพาระหว่างกันทางด้านพลังงานกลับมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น หลังจากการนายไบเดนได้ขึ้นสู่อำนาจในรัฐบาลของสหรัฐฯ ได้มีการดำเนินการเพิ่มความแข็งแกร่งของการดำรงอยู่ของนาโต้ (NATO) และเพิกเฉยต่อความกังวลด้านความปลอดภัยของรัสเซียในปัญหาของยูเครน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดไม่ความเข้าใจซึ่งกันและกันที่ยุโรปมีกับรัสเซียและนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในที่สุด สหภาพยุโรปได้ยกระดับมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมกับรัสเซียถึง 3 ครั้ง ในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังจากเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน โดยครั้งแรกใช้ “ระเบิดนิวเคลียร์ทางการเงิน” อย่างระบบ SWIFT ซึ่งเป็นตัดรัสเซียออกจากระบบการเงินโลก ทั้งนี้เยอรมนีและสหภาพยุโรปได้ฝ่าฝืนข้อห้ามทางประวัติศาสตร์ โดยการส่งมอบอาวุธให้แก่ยูเครน ซึ่งก่อนหน้านี้เยอรมนียึดนโยบายว่าจะไม่ส่งออกอาวุธสังหารไปยังพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ รวมถึงยูเครนด้วย ประเทศที่มีขนมธรรมเนียมเป็นกลางมาโดยตลอดอย่าง สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และฟินแลนด์ยังเข้าร่วมการคว่ำบาตรของยุโรปที่มีต่อรัสเซีย และประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ยกกำลังทหารไปยังพรมแดนด้านตะวันออก และเข้าร่วมกองกำลังกับนาโต้ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการป้องปรามทางทหารต่อรัสเซีย ภายใต้สถานการณ์นี้ได้ลบล้างทฤษฎี “Brain Death” ของนาโต้ที่นายเอ็มมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้เสนอในปี 2019 กระแสการขยายกำลังทหารและการเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามของประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง และสหภาพยุโรปจะยังคงเสริมแข็งแกร่งเพื่อการแย่งชิงอิทธิพลในประเทศที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย เช่น ยูเครน มอลโดวา และจอร์เจีย นอกจากนี้ การต่อสู้ระหว่างสหภาพยุโรป-รัสเซียในซีเรีย ลิเบีย และมาลีจะทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ประการที่สอง กระบวนการพัฒนาของยุโรปจะต้องได้รับผลกระทบ ในปี 2020 ปริมาณการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและรัสเซียจะสูงถึง 1.74 แสนล้านยูโร ในปี 2019 ปริมาณการลงทุนของยุโรปในรัสเซียสูงถึง 3.114 แสนล้านยูโร และในปี 2021 สหภาพยุโรปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติของรัสเซียสูงถึง 42% เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างยุโรปและรัสเซีย การออกมาตราการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปต่อรัสเซียจะเป็น "ผลย้อนกลับ" ต่อตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภายใต้ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น และผลักดันอัตราเงินเฟ้อของยุโรปมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทเข้าไปลงทุนในรัสเซียต่างพากันทยอยถอนตัว ช่องทางการค้าในยุโรปถูกจำกัด ความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานมีเพิ่มสูงขึ้น และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ก็จะได้รับผลกระทบอย่างมาก ปัจจุบันสหภาพยุโรปกำลังเร่งดำเนินการสำรวจมาตรการรับมือต่างๆ เช่น ผ่อนคลายกฎเกณฑ์และข้อจำกัดเกี่ยวกับหนี้และการขาดดุลของประเทศสมาชิก การปรับโครงสร้างการจัดสรรกองทุนที่มีอยู่ของสหภาพยุโรป และการชดเชยต่อประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร สหภาพยุโรปหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะลดหรือเลิกพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ยุโรปได้ออกมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถาณการณ์การส่งออกก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียที่ไม่แน่นอนในระยะสั้น ด้วยการเพิ่มปริมาณการสะสมพลังงานสำรองและการนำถ่านหินมาใช้เป็นพลังงานใหม่อีกครั้ง และมาตรการต่างๆในระยะยาว เช่น การเร่งการสร้างคลังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) การนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่รัสเซียอย่าง สหรัฐอเมริกาและกาตาร์ และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากแอฟริกาเหนือ ล้วนเป็นทางเลือกเชิงนโยบายของสหภาพยุโรป รัฐบาลเยอรมันให้คำมั่นว่าจะเร่งรัดให้บรรลุตามเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 % อย่างเร็วที่สุด และหลายประเทศในยุโรปกลางและตะวันออกที่ยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียอย่างมาก พลังงานนิวเคลียร์น่าจะเป็นแหล่งพลังงานหลักในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ตาม การที่ยุโรปยังจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย การไม่นำเข้าพลังงานจากรัสเซียได้ในเวลาอันสั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย และเมื่อเร็วๆนายโอลัฟ ช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนียังยอมรับด้วยว่าเป็นเรื่องยากสำหรับเยอรมนีที่จะไม่นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ขณะเดียวกัน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้"การเปลี่ยนแปลงด้านต่อสิ่งแวดล้อม “สีเขียว” และ “ดิจิทัล” เป็นเป้าหมายการพัฒนาหลัก 2 ประการของสหภาพยุโรป การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้การพัฒนาของประเทศฝั่งยุโรปเป็นไปได้ช้า อีกทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นจากรัสเซียก็ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เกิดความไม่แน่นอน ท้ายที่สุดแล้ว ยุทธศาสตร์ของยุโรปต้องเผชิญกับทางเลือกใหม่ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ถดถอยลงอย่างรวดเร็ว แนวคิดเรื่อง “หวาดกลัวรัสเซีย” และ “การต่อต้านรัสเซีย” ปรากฏขึ้นแล้วนยุโรป การผูดมัดกับสหรัฐฯหรือนาโต้ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันและปราบปรามรัสเซีย อาจกลายเป็นตัวเลือกนโยบายที่สำคัญสำหรับยุโรปในระยะยาว แต่นี่ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเดียวสำหรับยุโรปเท่านั้น ยุโรปเห็นชัดเจนว่าในช่วงเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ตนเองเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของยุโรป และมีบทบาทไม่สำคัญเท่าไหร่นัก แต่หลังเกิดจากเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ยุโรปก็กลายเป็นผู้ที่ต้องแบกรับความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง อีกทั้งยังเห็นด้วยว่ายุทธศาสตร์ของสหรัฐฯยังคงมุ่งให้ความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็ตาม ยุโรปต้องคิดหาวิธีด้วยตนเองด้านความมั่นคงของยุโรปเอง รวมถึงวิธีการจัดการปัญหากับรัสเซีย ด้วยเหตุนี้นายบอเรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปได้ชัดให้เห็นอย่างตรงไปตรงมาในการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาต่อรัฐสภายุโรปเมื่อเร็วๆ นี้ว่ายุโรปจะต้องไม่พูดถึงเพียงความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์ แต่ยุโรปจำเป็นต้องดำเนินการด้านการป้องกันและความมั่นคงของยุโรปเป็นการเร่งด่วน และจะต้องแบกรับความรับผิดชอบที่มากยิ่งขึ้น แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ยังได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปลงทุนในด้านความมั่นคงของตนเองมากขึ้น ในฐานะที่ฝรั่งเศสเป็นประธานสภาสหภาพยุโรปได้นำประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 10 มีนาคมนี้ และในเดือนเดียวกันนี้สหภาพยุโรปได้ออกเอกสาร “แนวทางยุทธศาสตร์” อย่างเป็นทางการ เอกสารดังกล่าวจะเป็นการตอบสนองเชิงยุทธศาสตร์และมั่นคงล่าสุดของสหภาพยุโรปต่อการเปลี่ยนแปลงระดับโลกและการเปลี่ยนแปลงใหม่ของยุโรป และจุดเปลี่ยนสำคัญในนโยบายทางการทหารและความมั่นคงของเยอรมนี จะเป็นการส่งเสริมให้ฝรั่งเศสและเยอรมนีสร้างความฉันทามติเกี่ยวกับการสร้างการป้องกันของยุโรปให้มีมากยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น สหภาพยุโรปควรรับฟังเสียงของทุกฝ่ายและพิจารณาว่าจะสร้างโครงสร้างด้านความมั่นคงของยุโรปให้มีความสมดุล มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนได้อย่างที่แท้จริงได้อย่างไร เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอิสระเชิงยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปและสันติภาพที่ยั่งยืนในทวีปยุโรปอย่างแท้จริง เขียนโดย:WANG Li,นักวิจัยสถาบันยุโรปศึกษา สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมสมัยของจีน