ป.ป.ช. มีมติตีตกข้อกล่าวหา ‘สุวิทย์ คุณกิตติ-เลขาฯ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ’ ปมไม่อนุมัติเปิดเหมืองแร่พลวงให้ บจ.พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง ปี’53 ชี้พยานหลักฐานไม่เพียงพอ-ให้ข้อกล่าวหาตกไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตีตกข้อกล่าวหา นายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีพิจารณาเรื่องขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าแม่ต๋า และป่าแม่ปาย ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อทำเหมืองแร่พลวง ของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด กรณีนี้ถูกกล่าวหาว่า เมื่อเดือนกันยายน 2548 บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่พลวง ในพื้นที่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด จึงได้ยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าวต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง โดยเรื่องดังกล่าวได้รับการพิจารณามาตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นได้เสนอเรื่องมายังนายสุวิทย์ เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แต่นายสุวิทย์ ไม่ได้พิจารณาสั่งการใด ๆ จนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือถึงทนายความของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด สรุปความได้ว่า“เหมืองแร่พลวงเป็นแหล่งแร่โลหะที่อาจจะมีสารพิษต่าง ๆ รวมอยู่ด้วยจึงได้ส่งเรื่องให้กรมป่าไม้ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน” บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด เห็นว่าการขอเข้าทำประโยชน์ของบริษัทได้ดำเนินการมาตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอที่ นายสุวิทย์จะพิจารณาอนุมัติแล้ว การที่นายสุวิทย์ ไม่พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากมีเจตนาประวิงเวลาอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ล่าสุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหานี้แล้ว มีมติ ดังนี้ 1. กรณีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟัง ได้ว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ในการพิจารณาเรื่อง ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่พลวง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป 2. กรณีนายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ไม่มีเจตนาทุจริตหรือเพื่อจะก่อให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และที่ระบุว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่า เลขานุการรัฐมนตรีไม่มีอำนาจยับยั้งหนังสือที่มีไปถึงหรือสั่งการแทนรัฐมนตรีได้นั้น ก็ปรากฏว่าเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี 2554 จึงไม่อาจนำมาใช้ในคดีนี้ที่เกิดเหตุในปี 2553 ได้ นอกจากนี้ จากการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่านายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ได้มีการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปป.ป.ช. มีมติตีตกข้อกล่าวหา ‘สุวิทย์ คุณกิตติ-เลขาฯ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ’ ปมไม่อนุมัติเปิดเหมืองแร่พลวงให้ บจ.พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง ปี’53 ชี้พยานหลักฐานไม่เพียงพอ-ให้ข้อกล่าวหาตกไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตีตกข้อกล่าวหา นายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีพิจารณาเรื่องขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าแม่ต๋า และป่าแม่ปาย ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อทำเหมืองแร่พลวง ของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด กรณีนี้ถูกกล่าวหาว่า เมื่อเดือนกันยายน 2548 บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่พลวง ในพื้นที่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด จึงได้ยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าวต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง โดยเรื่องดังกล่าวได้รับการพิจารณามาตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นได้เสนอเรื่องมายังนายสุวิทย์ เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แต่นายสุวิทย์ ไม่ได้พิจารณาสั่งการใด ๆ จนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือถึงทนายความของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด สรุปความได้ว่า“เหมืองแร่พลวงเป็นแหล่งแร่โลหะที่อาจจะมีสารพิษต่าง ๆ รวมอยู่ด้วยจึงได้ส่งเรื่องให้กรมป่าไม้ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน” บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด เห็นว่าการขอเข้าทำประโยชน์ของบริษัทได้ดำเนินการมาตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอที่ นายสุวิทย์จะพิจารณาอนุมัติแล้ว การที่นายสุวิทย์ ไม่พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากมีเจตนาประวิงเวลาอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ล่าสุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหานี้แล้ว มีมติ ดังนี้ 1. กรณีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟัง ได้ว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ในการพิจารณาเรื่อง ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่พลวง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป 2. กรณีนายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ไม่มีเจตนาทุจริตหรือเพื่อจะก่อให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และที่ระบุว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่า เลขานุการรัฐมนตรีไม่มีอำนาจยับยั้งหนังสือที่มีไปถึงหรือสั่งการแทนรัฐมนตรีได้นั้น ก็ปรากฏว่าเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี 2554 จึงไม่อาจนำมาใช้ในคดีนี้ที่เกิดเหตุในปี 2553 ได้ นอกจากนี้ จากการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่านายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ได้มีการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตีตกข้อกล่าวหา นายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีพิจารณาเรื่องขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าแม่ต๋า และป่าแม่ปาย ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อทำเหมืองแร่พลวง ของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด กรณีนี้ถูกกล่าวหาว่า เมื่อเดือนกันยายน 2548 บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่พลวง ในพื้นที่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด จึงได้ยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าวต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง โดยเรื่องดังกล่าวได้รับการพิจารณามาตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นได้เสนอเรื่องมายังนายสุวิทย์ เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แต่นายสุวิทย์ ไม่ได้พิจารณาสั่งการใด ๆ จนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือถึงทนายความของบริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด สรุปความได้ว่า“เหมืองแร่พลวงเป็นแหล่งแร่โลหะที่อาจจะมีสารพิษต่าง ๆ รวมอยู่ด้วยจึงได้ส่งเรื่องให้กรมป่าไม้ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน” บริษัท พี.เอส.ซี.ไมนิ่ง จำกัด เห็นว่าการขอเข้าทำประโยชน์ของบริษัทได้ดำเนินการมาตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอที่ นายสุวิทย์จะพิจารณาอนุมัติแล้ว การที่นายสุวิทย์ ไม่พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากมีเจตนาประวิงเวลาอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ล่าสุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหานี้แล้ว มีมติ ดังนี้ 1. กรณีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟัง ได้ว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ในการพิจารณาเรื่อง ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่พลวง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด ตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป 2. กรณีนายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติว่า นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ไม่มีเจตนาทุจริตหรือเพื่อจะก่อให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัท พี.เอส.ซี. ไมนิ่ง จำกัด จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และที่ระบุว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่า เลขานุการรัฐมนตรีไม่มีอำนาจยับยั้งหนังสือที่มีไปถึงหรือสั่งการแทนรัฐมนตรีได้นั้น ก็ปรากฏว่าเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี 2554 จึงไม่อาจนำมาใช้ในคดีนี้ที่เกิดเหตุในปี 2553 ได้ นอกจากนี้ จากการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่านายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ได้มีการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป