ภายหลังเกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน 5 วัน โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี โดยได้ลงนามในเอกสารเพื่อยื่นขอสมาชิกภาพในสหภาพยุโรป หรือ EU ในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และในวันที่ 1 มีนาคม ภายหลังจากที่ยูเครนได้ลงนามสมัครเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเพียงหนึ่งวัน ประธานาธิบดี เซเลนสกี ได้กล่าวต่อที่ประชุมสมัยพิเศษของรัฐสภายุโรปผ่านทางวิดีโอลิงก์ว่า ยูเครนได้พิสูจน์ความสามารถของตนเองแล้ว "สหภาพยุโรปจะแข็งแกร่งขึ้นหากมีเรา" และเขายังได้เรียกร้องให้ผู้นำของสหภาพยุโรปพิสูจน์ว่าได้อยู่ข้างเดียวกันกับยูเครน คำกล่าวของ ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมธิการยุโรป ได้สร้างความหวังให้แก่ยูเครนในการเข้าร่วมสหภาพยุโรปได้โดยเร็วที่สุด เธอได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า “ยูเครนเป็นหนึ่งในพวกเรา พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรา และพวกเราต้องการอยู่ร่วมกับพวกเขา” และฟ็อน แดร์ ไลเอิน ยังได้ประกาศที่ต้องการก้าวสู่ “ก้าวต่อไป” ซึ่งแน่นอนว่าหมายถึงกระบวนการที่ยูเครนสามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป โดย ชาร์ลส์ มิเชล ประธานคณะมนตรียุโรปได้ให้คำมั่นกับประธานาธิบดี เซเลนสกี ว่าจะพิจารณาคำร้องขอของเขา และรัฐสภาพยุโรปยากที่จะปฏิเสธคำร้องขอดังกล่าวของยูเครนได้ คำกล่าวของผู้นำสหภาพยุโรปทั้งสอง นั่นจะหมายถึงยูเครนจะกลายเป็นประเทศสมาชิกที่ 28 ของสหภาพยุโรปในเร็ววันหรือไม่? แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลังจากนั้นไม่นาน พวกเขาก็รู้ตัวเองดีกว่าได้กล่าวคำที่ยากจะคืนคำได้ ไม่กี่วันต่อมา อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ได้กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปถึงการหารือเกี่ยวกับปัญหานี้ว่า "แต่ตอนนี้พวกเรากำลังมุ่งเน้นไปที่การยุติสงคราม" แม้ว่าอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน กล่าวว่าเธอมีทัศนคติเชิงบวกต่อการขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของยูเครน แต่จริง ๆ แล้ว เธอไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจได้ว่ายูเครนจะสามารถเข้าร่วมกับเราได้หรือไม่ และตามระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้ว่าคณะกรรมธิการยุโรปจะสามารถเตรียมความคิดเห็นและการประเมินของผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเทศสมาชิก เพื่อประกอบการพิจารณาว่าประเทศที่ยื่นขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกตรงไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 12 ถึง 18 เดือนถึงกระบวนการทั้งหมดจึงจะแล้วเสร็จ อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (KENZO TRIBOUILLARD / POOL / AFP) เพียงเพราะว่าโอกาสที่ยูเครนจะเข้าร่วมสหภาพยุโรปนั้นมันเกินจริง แม้แต่เจ้าหน้าที่ของเยอรมันหลายคนที่มีจุดยืนเชิงบวกต่อการขยายสมาชิกสหภาพยุโรปก็ยังรู้สึกไม่พอใจต่อคำสัญญาของผู้นำสหภาพยุโรป และ โรธ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างของสภากลางของประเทศเยอรมนีเตือนว่า "เราไม่ควรตั้งความหวังผิดๆ ซึ่งในที่สุดจะจบลงด้วยความผิดหวัง" ซึ่ง โรธ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีรับผิดชอบด้านกิจการยุโรปในสมัยรัฐบาลของอังเกลา แมร์เคิล และยังเคยรับผิดชอบในการเจรจากับประเทศที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ศึกษาข้อกำหนดต่อประเทศที่สมัครเข้าร่วมมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เขายังกล่าวอีกว่า "ไม่มีทางลัด ไม่มีเส้นทางที่ง่าย ในทางตรงกันข้าม การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจอันแสนเจ็บปวด ต้องการสร้างหลักนิติธรรมและการต่อสู้กับการทุจริต" อันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของเยอรมนียังแสดงความสงสัยเกี่ยวกับโอกาสที่ยูเครนจะได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป เธอกล่าวว่า ทุกคนต่างรู้ดีว่า "การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ใช่สิ่งที่สามารถกระทำได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน" อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา โอลัฟ ช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีได้ให้สัมภาษณ์กับเซ็ทเดเอฟ (ZDF) ว่าขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะพิจารณารับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปมีกฎเกณ์ต่างๆ ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก การจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้นั้นมีเงื่อนไขต่างๆมากมาย และเขายังกล่าวอีกว่า การป้องกันการขยายตัวและการยกระดับความรุนแรงของความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน หรืออาจเป็นเพราะยูเครนมีเจตจำนงทางการเมืองและอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงกับรัสเซีย ด้วยเหตุนี้อาจจะส่งผลให้ยูเครนมีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเร็วขึ้น แต่ในสายตาของรูแซล การที่ยูเครนถูกรับเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปภายใต้กระบวนการพิเศษแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สหภาพยุโรปภาคภูมิใจในการปฏิบัติต่อทุกประเทศตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดอย่าง "เท่าเทียมกัน" ปัจจุบันประเทศที่ได้รับการระบุว่าเป็นประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก ได้แก่ ตุรกี และประเทศบอลข่านตะวันตกอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เซอร์เบีย แอลเบเนีย มาซิโดเนียเหนือ และมอนเตเนโกร ซึ่งทั้ง 5 ประเทศนี้ก็ยังคงอยู่ในสถานะ "ผู้สมัคร" มาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงไม่ได้รับเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการเสียที แต่กรณีของยูเครนไม่ได้เป็นอยู่ในสถานะผู้สมัครด้วยซ้ำ เช่นนั้นแล้วโดยทั่วไปประเทศที่ยืนสมัครเข้าเป็นสมาชิกจะต้องรอนานเท่าไหร่สหภาพยุโรปจึงจะ "รับเข้าเป็นสมาชิก" ถ้าอ้างอิงจากประเทศสมาชิกที่สหภาพยุโรปรับเข้าเป้นสมาชิกล่าสุดอย่างประเทศโครเอเชีย ซึ่งโครเอเชียยืนขอเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 และจนกระทั้งปี ค.ศ.2013 จึงได้รับเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้แม้แต่โปแลนด์ และสโลวีเนีย ที่สนับสนุนให้ได้ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกอยู่ ณ ขณะนี้ ก็ยังคิดว่า โอกาสที่ยูเครนจะถูกรับเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณปี ค.ศ. 2030 หากยึดตามมาตรฐาน "เกณฑ์โคเปนเฮเกน" ในปี ค.ศ. 1993 ที่ว่าด้วยเกณฑ์การรับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ประเทศที่จะได้รับเข้าเป็นผู้สมัครของสหภาพยุโรปจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ มีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด และมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ของการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ก่อนเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน สถานการณ์ภายในของยูเครนยังไม่ตรงตามเงื่อนไขข้างต้น เช่น สหภาพยุโรปกล่าวหายูเครนว่ามีการคอร์รัปชั่นภายในหลายครั้ง และมีองค์กรเอกชนได้จัดลำดับคอร์รัปชั่นของยูเครนไว้ที่ลำดับ 122 จาก 180 ประเทศแ ซึ่งจัดอยู่ลำดับสุดท้ายในบรรดาประเทศในยุโรป ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกของสภาพยุโรปยังคงหาข้อตกลงกันร่วมกันไม่ได้เกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎเกณฑ์การรับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปมานานหลายปีแล้ว และนี่เป็นยังเพียงประเทศเล็ก ๆ ในบอลข่านตะวันตก ซึ่งต่างกับยูเครนที่มีประชากรมากกว่า 40 ล้านคน ปัจจุบันนักการเมืองของประเทศร่ำรวยแถบตะวันตกของยุโรปยังคงไม่กล้าประกาศนโยบายสนับสนุนเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในช่วงหาเสียงเลือกตั้งเลย นั่นก็เพราะว่าประชาชนของประเทศเหล่านี้คิดว่า ประเทศสมาชิกใหม่อาจจะใช้เงินอุดหนุนจำนวนมากในอีกหลายปีข้างหน้า นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ ไม่เพียงมีสิทธิ์อันเป็นที่สุดในการรับสมาชิกใหม่เพิ่ม แต่ยังมีสิทธิ์ตัดสินใจเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการเจรจา บัคแกเรียจึงได้ใช้สิทธิ์ที่ตนเองพึงมีในฐานะหนึ่งในสมาชิกขัดขวางการเจรจาการขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปชองมาซิโดเนียเหนือมาโดยตลอด ปัจจุบันยูเครนได้รับการสนับสนุนจากประเทศไม่ค่อยร่ำรวยนักในแถบยุโรปตกวันออกเท่านั้น เช่น บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย และต่างเรียกร้องให้ “ยูเครนเข้าร่วมสหภาพยุโรปโดยทันที” ด้วยเหตุผลทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่กระนั้นฝรั่งเศส สเปน เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ต่างยังคงมีท่าทีที่ไม่ไว้วางใจต่อการเรียกร้องดังกล่าว ในเมื่อโอกาสที่ยูเครนยังถูกรับเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปมีน้อย แล้วทำไมฟ็อน แดร์ ไลเอิน และมิเชลล์ รวมถึงอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันออกยังคงให้ความหวังที่เกินจริงแก่ยูเครนอยู่ มิลาน นิทซ์ นักวิจัยอาวุโสของสถาบันการต่างประเทศเยอรมนีชี้ว่า ในการเผชิญกับสถานการณ์ที่ตกต่ำในปัจจุบัน ผู้นำยูเครนและยุโรปไม่มีทางเลือกที่ดีไปว่าการวางท่าทีทางการเมือง นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า การที่เซเลนสกีไม่มีหวังที่จะได้เข้าร่วมกับนาโต้ เขาจึงเลือกที่จะเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป เพียงอยากเตือนให้ยุโรปสนับสนุนยูเครนมากยิ่งขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามข้อกำหนด "สนธิสัญญาลิสบอน" ของสหภาพยุโรปได้กำหนดไว้ว่า "หากอาณาเขตของประเทศสมาชิกถูกกองกำลังติดอาวุธโจมตี ประเทศอื่น ๆ จะให้ต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งหมดที่มี" รายงงานจากกรุงเบอร์ลิน 8 มีนาคม ผู้สื่อข่าวประจำกรุงเบอร์ลิน WANG Huaicheng Guangming Daily (9/03/2022 ฉบับที่ 16)