วันที่ 8 มี.ค.65 เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี โพสต์ข้อความรายงานสถานการณ์โควิด ระบุว่า...
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 1,003 ราย
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 58 ราย สะสม 2,945 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 866 ราย
2. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 36 ราย
3. บุคลากรทางการแพทย์ 22 ราย
4. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 14 ราย ดังนี้ จังหวัดสมุทรปราการ 4 ราย กทม. 2 ราย จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 ราย จังหวัดสุพรรณบุรี 2 ราย จังหวัดขอนแก่น 1 ราย จังหวัดจันทบุรี 1 ราย จังหวัดภูเก็ต 1 ราย และ จังหวัดอยุธยา 1 ราย
5. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ในครอบครัว 201 ราย จากสถานที่ทำงาน 70 ราย บุคคลใกล้ชิด 55 ราย และ ร่วมวงสังสรรค์ 6 ราย
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 42 ราย
7. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 499 ราย
ณ วันที่ 8 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 844,322
คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 2,031 คน (อัตราป่วย 240.55 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 1 ราย (0.12 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 2 ราย (0.24 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 3 ราย (0.36 ต่อแสนประชากร)
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,891,944 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 2,902 คน (อัตราป่วย 153.39 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 8 ราย (0.42 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 3 ราย (0.16 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 2 ราย (0.11 ต่อแสนประชากร)
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 100,973 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 336,156 คน รวม 437,129 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 3,731 คน (อัตราป่วย 853.52 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 17 ราย (3.89 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 5 ราย (1.14 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 21 ราย (4.80 ต่อแสนประชากร)
วันนี้พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 2 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2564, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2564), ผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 4 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มวันที่ 20 ม.ค. 2565, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มวันที่ 2 ก.พ. 2565 และอีกสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน), และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 ราย (อายุต่ำสุด 36 ปี, อายุสูงสุด 94ปี เฉลี่ยอายุ 71 ปี ) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2564, รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2564, รายที่สี่พบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564, รายที่ห้าพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564, และอีกเจ็ดรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน)
ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
