ขณะที่ยอดป่วยอาการหนักปอดอักเสบวันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 980 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นเป็น 280 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้พบ 22,311 ราย มาจากต่างประเทศ 136 ราย แต่เมื่อรวมกับผู้ป่วยจากการตรวจ ส่วนผู้ป่วยเข้าข่ายจากการตรวจ ATK วันนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 21,497 ราย ทำให้ไทยมีผู้ติดเชื้อรวมพุ่งสูงถึง 43,808 ราย ผู้เสียชีวิต 42 ราย ป่วยติดเตียงถึง 1 รายทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มโรคเรื้อรัง และส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนใกล้ชิด สำหรับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด คือ กทม. จำนวน 2,779 รายซึ่งเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน และพบการเสียชีวิตกระจายในทุกภาคทั่วไทย สูงสุดอยู่ที่กทม. 9 ราย ส่วนยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง มีจำนวน 27 ราย รักษาหาย 17,470 ราย ยังรักษาอยู่ 213,645 ราย
วันที่ 28 ก.พ.65 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 22,311 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 22,175 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 136 ราย วันนี้มีรายงานลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย 17 ราย จากเมียนมา 15 ราย และลาว 2 ราย โดยเป็นต่าวชาติทั้งหมด ติดเชื้อในประเทศ (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพสูงถึง 21,958 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 190 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 27 ราย) รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 รวม 2,891,927 ราย อย่างไรก็ตามหากรวมยอดผู้ป่วยจากการตรวจ ATK จำนวน 21,497 ราย ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่จะมี 43,808 ราย
วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 42 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 22,933 ราย หายป่วยอีก 17,470 ราย รวมยอดรักษาหาย 2,655,349 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 213,645 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.83,479 ราย ในรพ.สนาม/HI-CI 130,166 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 980 ราย มีผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 280 ราย
สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต จำนวน 42 ราย พบเป็นคนไทย 41 ราย ออสเตรีย 1 ราย เป็นเพศชาย 23 ราย เพศหญิง 19 ราย อายุ 2-102 ปี พบทุกภาคทั่วไทย มากสุดใน กทม. 9 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคอ้วน ติดเตียง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น โดยในจำนวนผู้เสียชีวิตพบ 29 รายอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุน้อยกว่า 60 ปีแต่มีโรคเรื้อรัง 11 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 2 ราย ส่วนผู้ป่วยติดเตียงยังมีการรายงานเสียชีวิตต่อเนื่องวันนี้พบ 1 ราย โดยพบว่า 26 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ติดเชื้อจากบุคคลใกล้ชิด หรือคนรู้จัก และอาศัยในพื้นที่เสี่ยง

