ดร.อนันต์ระบุผลงานวิจัยล่าสุด พบมีจุดที่น่ากังวลเป็นจากกวางที่ติดคนพบมีการกลายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม จุดที่ไม่น่ากังวล พบมี 2 ตำแหน่งที่เข้าสู่เซลล์ได้ ไม่เหมือนไอไมครอนที่มีเป็นสิบ โดยภูมิจากวัคซีนยังเอาอยู่ ให้ตระหนัก ไวรัสจากสัตว์อาจเป็นการกลายพันธุ์ต่อไปได้ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ "งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากแคนาดาที่ศึกษาไวรัสโรคโควิด-19 ที่อาจแพร่จากกวางกลับมาสู่คนได้ มีข้อมูลที่น่าสนใจทั้งจุดที่น่ากังวลและจุดที่ยังไม่น่ากังวลครับ จุดที่น่ากังวลคือ ไวรัสที่มาจากกวางที่ติดเข้าสู่คนได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์แตกต่างจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ที่ชัดเจน ถ้าดูการจัดกลุ่มทางพันธุกรรมจะเห็นว่ากลุ่มของไวรัสในกรอบสีแดง แตกออกมาเป็นกลุ่มย่อยที่แตกต่างจากไวรัสกลุ่มอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสนี้จึงไม่เคยพบในไวรัสที่แพร่กระจายในประชากรในมนุษย์มาก่อน แต่จุดที่ยังไม่น่ากังวลคือ การเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนจะมีมากหลายตำแหน่ง แต่ก็ยังเกิดขึ้นในส่วนของโปรตีนสไปค์ที่ใช้เข้าสู่เซลล์ไม่มาก มีเพียงแค่ 2 ตำแหน่ง ซึ่งไม่เหมือนกรณีของโอมิครอนที่มีจำนวนเป็นสิบ ทำให้เมื่อทีมวิจัยตรวจสอบไวรัสดังกล่าวกับซีรั่มของคนที่มีภูมิจากวัคซีนจะยังสามารถไวรัสชนิดนี้ได้อยู่ ข้อมูลนี้อาจจะเป็นการเตือนให้เราระวังว่า ไวรัสสามารถมาจากสัตว์ตัวกลางที่การเปลี่ยนแปลงของไวรัสเป็นไปในรูปแบบที่เราอาจไม่เคยพบมาก่อน กลายเป็นสายพันธุ์ที่สร้างปัญหาในอนาคตได้ https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.02.22.481551v1"