ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยสถานการณ์โควิด-19 ระลอกเดือนมกราคม ประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์2565 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในภูเก็ต648ราย Phuket sandbox 40ราย และTest & Go 74ราย โดยขณะนี้มีผู้รักษาตัว 6,522ราย ขณะยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก3ราย เสียชีวิตสะสม31ราย และทำให้จำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยเหลือว่าง1,547 เตียงหรือ43.61%ของเตียงทั้งหมด3547เตียง ทั้งนี้จากข้อมูลผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายคือ 1.ผู้ติดเชื้อรายที่ 19093 เพศหญิง อายุ 73 ปี (กลุ่ม 608) เป็นโรคความดันโลหิตสูง Gout ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ในครอบครัว 2.ผู้ติดเชื้อรายที่ 20732 เพศชาย อายุ 92 ปี (กลุ่ม 608) เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หลอดเลือดสมอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ในครอบครัว 3.ผู้ติดเชื้อรายที่ 20733 เพศหญิง อายุ 53 ปี (กลุ่ม 608) เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หัวใจ เบาหวาน ไม่สูบบุหรี่ ฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 3 เข็ม (SV+SV+AZ) เป็น HRC ผู้ป่วยโควิด-19 ด้านมาตรการการดำเนินการของทางจังหวัด นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ว่า ในช่วงนี้ที่จังหวัดภูเก็ตมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นทำให้ประชาชนมารับบริการตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนต้องรอคิวกันเป็นเวลานานโดยได้มีการเพิ่มช่องทางที่จะเข้าถึงการดูแล โดยที่เราแบ่งตามอาการผู้ติดเชื้อมากกว่า กลุ่มเสี่ยง หรือผู้สูงอายุ เด็กเล็ก โรงพยาบาลช่วยดูแลประเมินอาการให้ว่าจะให้อยู่บ้าน หรือโรงพยาบาลสนาม ส่วนกลุ่มไม่มีอาการอะไรเลย เปิดช่องทางให้ลงทะเบียนเพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถเข้าถึงการรักษาและได้รับคำแนะนำจากทางแพทย์ถือว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่สามารถกักตัวรักษาที่บ้านได้เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มสีเหลืองและแดงได้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อเป็นการดูแลให้มีเตียงเพียงพอในการรองรับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังได้มีการกระจายจุดที่จะให้ไปรับยาที่รพ.สต. ที่ใกล้บ้าน เพื่อให้ท่านสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ถ้าไปแล้วมีผู้ป่วยค่อนข้างเยอะหรือยามีจำนวนจำกัดท่านก็สามารถลงทะเบียนให้ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรเพื่อติดต่อได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ประสานการรับยาจากโรงพยาบาลในวันถัดไปได้ ทุกคนต้องการที่จะรู้ว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อโควิด หรือคนที่ติดเชื้อแล้วกังวลว่าตัวเองจะมีอาการอะไรที่แย่ลงในอนาคตหรือเปล่า เวลาที่ท่านมามีอาการปกติ ไม่มีอาการอะไรเลย เราสามารถแยกกักตัวอยู่ที่บ้านตัวเองได้เลย 10 วัน แต่ถ้ามีอาการให้กลับมาที่คลินิกอุ่นใจซึ่งให้แพทย์ได้ประเมินซ้ำว่ามีอะไรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ในส่วนของบัตรคิวที่ประชาชนตามบัตรคิวจะร่นเวลาให้เร็วขึ้น บัตรคิวขอให้เป็นผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก มีโรคประจำตัว หรือที่ไม่แน่ใจ ขอรับการตรวจแต่ถ้าไม่มีอาการเลยให้อยู่ที่บ้านได้ สามารถตรวจ ATK เองได้ และลงทะเบียนแนบผลทางออนไลน์ได้เลย โดยที่ไม่ต้องมา ส่วนที่ได้รับบัตรคิวไปแล้ว ถ้า วันหนึ่งพยาบาลดูแลได้แค่ 500 คน คิวที่ 1-50 ได้รับการตรวจในชั่วโมงแรก แต่คิวที่ 51 ถึง 100 ก็จะในชั่วโมงถัดไป ๆเวลาจะถัดไปเรื่อยๆ จะได้ไม่ใช้เวลารอนานเกินไปมันจะทำให้คิวแรกจะได้รับบริการก่อน ขณะที่คิวที่ 400 ก็ต้องรอคนที่ 1-399 ได้รับบริการก่อน ดังนั้นที่ไปให้รู้คิวของตัวเองมาตามช่วงเวลาน่าจะดีกว่า ถ้าสมมุติว่าในชั่วโมงหนึ่ง ให้ได้ 50 คน คิวที่ 51-100 ค่อยมาในชั่วโมงที่สอง สักประมาณ 09.30-10.30 ก็ถัดๆไป ทำให้เราใช้เวลาไม่ต้องรอทำกิจกรรมอื่นที่บ้านจะดีกว่าที่ไปนั่งแออัด