วันที่ 16 ก.พ. 65 แพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ราชบุรี เปิดเผยยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด -19 ของจังหวัด มีผู้ป่วยยืนยันระลอกเดือนมกราคม 2565 ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ 371 ราย ผู้ป่วยสะสม ทั้งหมด 6,325 ราย ( ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 รวม 48,652 ราย ) ขณะนี้มีผู้ป่วยคงรักษา 2,559 ราย รักษาหายวันนี้ 165 ราย รักษาหายสะสม 3,757 ราย (รักษาหายสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 45,185 ราย) เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิตสะสม 9 ราย ( เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 412 ราย) สำหรับอำเภอที่มีผู้ป่วยรายใหม่สูงสุดเรียงตามลำดับ และพบคลัสเตอร์ใหม่ในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอโพธาราม 90 ราย อำเภอบ้านโป่ง 86 ราย อำเภอเมือง 74 ราย อำเภอดำเนินสะดวก 70 ราย อำเภอปากท่อ 20 ราย พบ Cคลัสเตอร์ใหม่ในพื้นที่ โรงงานน้ำตาล อ.บ้านโป่ง 5 ราย พบรายใหม่ในคลัสเตอร์เก่าพื้นที่ โรงงาน 8 ราย จำแนกตามสถานที่เสี่ยง พบว่าในโรงานสถานประกอบการ 47 ราย ตลาด 9 ราย สถานที่ราชกร / รัฐวิสาหกิจ 13 ราย ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ส่งผลตรวจไปทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด 1,174 ราย ผลบวก 371 ราย วันที่ 1 ม.ค. - 11 ก.พ. 2565 (สัปดาห์ที่ 1 - 6) ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 31,843 ราย พบผลบวก 4,906 ราย วันที่ 12 - 15 ก.พ. 65 (สัปดาห์ที่ 7) ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4,393 ราย ผลบวก 1,298 ราย รวม 46 วัน ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 36,287 ราย พบผลบวก 6,204 ราย โดยจำนวนเตียงทุกประเภทของโรงพยาบาล (ไม่รวมโรงพยาบาลสนาม ในจังหวัดทั้งหมด 1,028 เตียง ปัจจุบันใช้เตียงไปแล้ว จำนวน 696 เตียง (ร้อยละ 67.70) โรงพยาบาลสนามของจังหวัด ทั้งหมด 6 แห่ง รวม 1,491 เตียง ใช้ไป 1,092 เตียง (ร้อยละ 73.24) ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล แบ่งเป็น HI : 515 ราย - FAI ในโรงงาน เปิดใช้จำนวน 0 แห่ง ใช้เตียงไป 0 เตียง สถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (LO) ของจังหวัดราชบุรี ทั้งหมด 5 แห่ง รวม 275 ห้อง ใช้ไป 211 ห้อง คงเหลือ 54 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565) ในส่วนของสถานการณ์การฉีดวัคซีนของราชบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนการฉีดวัคซีนสะสม (ในจังหวัด) ทั้งหมด 1,235,916 โด้ส แบ่งเป็น จำนวนการฉีดเข็มหนึ่ง 531,509 โด้ส จำนวนการฉีดเข็มสอง 523,063 โด้ส จำนวนการฉีดเข็มสาม 172,693 โด้ส จำนวนการฉีดเข็มสี่ 8,651 โด้ส ทั้งนี้ภาพรวมประชาชน กลุ่ม 608 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเฉพาะในจังหวัดราชบุรี เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนเข็ม 1 ร้อยละ 57.20 เข็ม 2 ร้อยละ 61.09 เข็ม 3 ร้อยละ 18.79 ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้รับวัคซีนเข็ม 1 ร้อยละ 61.49 เข็ม 2 ร้อยละ 64.14 เข็ม 3 ร้อยละ 26.56 หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปได้รับวัคซีนเข็ม 1 ร้อยละ 76.42 เข็ม 2 ร้อยละ 76.63 เข็ม 3 ร้อยละ 19.99 กลุ่มนักเรียนอายุ 12-17 ปี ที่ได้รับวัคซีน (ยอดสะสม) คิดเป็นร้อยละ 94.36 ร้อยละความครอบคลุมการฉีดวัคซีนประชากรจังหวัดราชบุรี เข็ม 1 ร้อยละ 57.82 เข็ม 2 ร้อยละ 56.94 เข็ม 3 ร้อยละ 18.80 พบอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนสะสม จำนวน 775 ราย โดยจังหวัดราชบุรี มีสูตรการฉีดวัคซีน ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 Astraseneca เข็มที่ 2 Astraseneca – Pfizer ผู้มีอายุ 12 - 17 ปี เข็มที่ 1 Pfizer ฝาสีม่วง เข็มที่ 2 Pfizer ฝาสีม่วง ผู้มีอายุ 5 - 11 ปี เข็มที่ 1 Pfizer ฝาสีส้ม เข็มที่ 2 Pfizer ฝาสีส้ม ขณะที่แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ขอให้ประชาชนยึดหลัก Universal Prevention for COVID-19 หรือ "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล" ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ข้าวของเครื่องใช้บ่อย ๆ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เสมอ และรีบสร้างภูมิคุ้มกันหมูโดยการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างน้อย 2 เข็ม ติดต่อขอรับวัคซีนที่รพ. ใกล้บ้าน หากมีอาการสงสัยหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อให้ตรวจ ATK 2 ครั้ง ในวันที่ 5 - 6 และ 10 โดยนับวันถัดจากวันที่สัมผัสใกล้ชิด ผู้ติดเชื้อเป็นวันที่ 1 และกักตัวเป็นระยะเวลา 10 วัน หากพบว่าติดเชื้อให้แจ้งสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษา