เมื่อผู้คนเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยว และวางแผนกับทริปใหม่ๆ หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ‘ความรับผิดชอบ’ กลายเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนัก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาโลกใบนี้ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ดังนั้นการหันมาใส่ใจ และเข้าใจกับการท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าที่เคย ทั้งการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่นปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งหันมาสนใจความยั่งยืนของเศรษฐกิจที่ครอบคลุมลงไปถึงระดับชุมชน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยให้ไปได้ดี สร้างการเติบโตที่ตอบโจทย์ 3 ข้อ โดย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ได้มุ่งเน้นขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งได้มอบนโยบายกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวไท จะต้องเน้นที่ คุณค่า หรือการท่องเที่ยวที่สร้างการเติบโตที่ตอบโจทย์ 3 ข้อหลัก ประกอบด้วย 1.การเติบโตอย่างทั่วถึง คือ การท่องเที่ยวที่สร้างการเติบโตในทุกมิติที่คนในสังคมมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ร่วมกัน 2.การเติบโตอย่างสมดุล คือ การมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ ซึ่งปัญหาเรื่องความสมดุลที่ผ่านมา เช่น ช่วงเวลา จำนวนนักท่องเที่ยว กลุ่มเป้าหมาย เมืองหลัก เมืองรอง เป็นต้น สำหรับแนวทางการสร้างความสมดุลคือ ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาบริหารจัดการ, การกำหนดวันหยุด/วันทำงาน เหลื่อมเวลา/ทำงานทั่วไทย (work from anywhere), เที่ยวทั่วไทยได้ทั้งปี, ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน, แบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างนักการตลาดและนักพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น และ 3.เติบโตอย่างยั่งยืน คือ พัฒนาและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้เป็นเครื่องมือในการสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาว ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG การมุ่งเน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมควบคู่กับรายได้ GDP นทท.ทำให้เปลี่ยนแปลงเชิงบวก ขณะที่รายงานด้านการเดินทางอย่างยั่งยืนล่าสุดของ Booking.com เผยว่า 94% ของผู้เดินทางชาวไทยมองว่า การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สำคัญมาก และ 78% ระบุว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พวกเขาต้องการเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต ความคาดหวังของนักเดินทางยุคใหม่จึงไม่ใช่แค่คาดหวังประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหรือบริการการดูแลที่ใส่ใจครบทุกด้านจากผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่พวกเขาในฐานะนักเดินทางสามารถช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมชุมชน ในระหว่างทริปท่องเที่ยวของพวกเขาได้ พร้อมกันนี้ผลสำรวจของ Booking.com ยังเผยอีกว่า ผู้เดินทางชาวไทยถึง 85% ต้องการความมั่นใจว่าผลการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะถูกกระจายไปสู่คนทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อช่วยกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นด้วยการช่วยในส่วนที่ตนเองสามารถทำได้ เช่นการเดินทางไปยังจุดหมายและชุมชนที่มีผู้คนไปเยือนน้อย จนเกิดเป็นกระแสการท่องเที่ยวเมืองรอง ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พกพามาเต็มกระเป๋าทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่พักและผู้ให้บริการด้านการเดินทาง ไปจนถึงนักท่องเที่ยวอย่างเราทุกคน ทำให้การริเริ่มทำสัญลักษณ์ ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน (Travel Sustainable property badge) ของ Booking.com กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น ไม่ใช่แค่สำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้นแต่ สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมด้วย สำหรับคนที่อยากจะเดินทางแบบยั่งยืน ตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก ไปจนถึงวิธีปฏิบัติตัวระหว่างทางและจบทริปอย่างสมบูรณ์ เริ่มต้นด้วยการเลือกเที่ยวบินที่บินตรง (direct flight) เพราะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเที่ยวบินแบบ transit ดังนั้นจึงสามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่มากก็น้อย ขณะที่การเลือกจองโรงแรมที่พักที่มีระเบียบมาตรการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องราคาและสถานที่ เพื่อมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและช่วยเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมหันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดของ Booking.com เผยว่า 98% ของผู้เดินทางชาวไทยต้องการเข้าพักในที่พักรักษ์โลกที่ยึดหลักความยั่งยืน ซึ่งในปี 2565 นี้ ซึ่ง Booking.com เพิ่งเปิดตัวตราสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน (Travel Sustainable property badge) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมอบให้แก่ที่พักสำหรับการเดินทางอย่างยั่งยืนทั่วโลก เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถมองหาที่พักแบบรักษ์โลกได้ง่ายดายกว่าที่เคย ด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และเข้าใจง่าย และเพื่อเป็นมาตรฐานของแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนให้กับแวดวงการท่องเที่ยวในอนาคต