"บรรยิน"ร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด สำนวนคดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์ ระบุบรรยินไม่กังวลใจ เพราะถือเป็นอุบัติเหตุไม่มีเจตนา วันที่ 21 ก.ย.59 ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ นายบัญชา ชัยจำ ทนายความ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรมช.พาณิชย์และส.ส.นครสวรรค์ ผู้ต้องหาคดีฆ่านายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง หรือ เสี่ยชูวงษ์ นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามส่งสำนวนดังกล่าว จำนวน 4,000 หน้าให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องคดี เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด โดยมีนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดรับมอบหนังสือแทน นายบัญชา เปิดเผยว่า วันนี้นำเอกสารร้องขอความเป็นธรรมรวม 6 หน้า มายื่นให้อัยการสูงสุดพิจารณาในประเด็นที่ พ.ต.ท.บรรยินถูกกล่าวหาว่าเจตนาฆ่านายชูวงษ์ โดยให้ข้อมูลยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่าแต่เป็นอุบัติเหตุ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางฝ่ายผู้เสียหายก็ได้มายื่นขอความเป็นธรรมไว้แล้ว เราจึงมายื่นขอความเป็นธรรมด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้รับความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งไม่มีอยากให้มีการชี้นำแต่ขอให้ทุกอย่างไปตามพยานหลักฐาน เป็นภาพรวมในประเด็นเกี่ยวกับสถานที่และเวลาการออกจากสนามกอล์ฟ ซึ่งมีพยานรู้เห็นเหตุการณ์และเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งส่วนไหนที่เราจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเราได้ ก็ขอให้สอบสวนในส่วนนั้น ส่วนพนักงานสอบสวนสอบพยานปากใดไว้แล้วแต่ยังสอบไม่ถึงในประเด็นที่เราอยาก ให้สอบ ก็ขอให้สั่งสอบสวนเพิ่ม”นายบัญชากล่าว อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นต่างๆที่ขอให้สอบสวนเพิ่มเติมนั้นก็ได้ยื่นกับ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ไปแล้วด้วน ส่วนกรณีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีโอนหุ้น 300 ล้าน ซึ่งกล่าวอ้างว่าเป็นมูลเหตุจูงใจในคดีฆ่านายชูวงษ์ก็ถือว่าตกไปและจะต้อง ตัดประเด็นนี้ออ ซึ่งในสำนวนคดีฆ่าผู้ตายนั้น พ.ต.ท.บรรยินไม่ได้กังวลใจ เพราะเป็นอุบัติเหตุได้ไม่มีเจตนาฆ่าอยู่แล้ว ตอนนี้ต้องรอดูว่าพนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคดีฆ่านี้อย่างไร ด้านนายประยุทธ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของพ.ต.ท.บรรยิน ในสำนวนคดีฆ่านายชูวงษ์ได้เพื่อเสนอให้อัยการสูงสุด สำหรับคดีโอนหุ้นที่อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สั่งไม่ฟ้องนั้น ยังไม่ทราบว่าทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นหรือส่งสำนวนกลับมาให้ อัยการหรือยัง แต่ในแง่ข้อกฎหมายนั้น ถ้าผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นพ้องกับอัยการที่สั่งไม่ฟ้องก็ต้อง ถือว่าคดีโอนหุ้นสิ้นสุดตามกฎหมาย แต่หากเห็นแย้งกับอัยการ สำนวนดังกล่าวนั้นก็จะถูกส่งกลับมาให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดในขั้นตอน สุดท้าย