เมื่อไม่กี่วันมานี้ เว็ปไซต์กระทรวงการต่างประเทศจีนได้เผยแพร่รายงาน “สถานการณ์ประชาธิปไตยของสหรัฐฯ” รวมถึงรายงานการวิจัยเรื่อง “สิบคำถามเพื่อประชาธิปไตยสหรัฐฯ” ที่เผยแพร่โดยสถาบันการเงินศึกษาฉงหยัง (Chongyang Institute for Financial Studies) ของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน (Renmen University) ของจีน โดยรายงานทั้งสองฉบับได้นำเสนอคำถามที่เกี่ยวกับความวุ่นวายในระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯในปัจจุบันจากมุมมองที่เป็นมืออาชีพ เป็นกลาง และสมดุล ซึ่งได้กระตุ้นให้ผู้อ่านได้คิดและวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น ก่อนที่สหรัฐฯจะเริ่มงานการเมืองระหว่างประเทศที่ตลกร้ายอย่าง “การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย” ดังกล่าวนี้ รายงงานทั้งสองฉบับข้างต้นช่วยให้ประชาคมโลกได้เข้าใจถึงความหมายแฝงและคุณค่าของประชาธิปไตยได้อย่างถ่องแท้ และช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณค่าต่อการอยู่ร่วมกันของมวลมนุษยชาติต่อไป หากมองจากเนื้อหาในรายงานทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหาครอบคลุมและหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น การใช้อำนาจในทางที่ผิด ความล้มเหลวด้านนโยบายและการปกครอง สังคมแตกแยก และรวมถึงการขยายตัวของอำนาจ “ประชาธิปไตย” ซึ่งเผยให้เห็นอย่างชัดเจนและสามารถวิเคราะห์ความจอมปลอม หลอกลวงและอันตรายของระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯในปัจจุบัน และจากรายงานที่ได้เปิดเผยถึงความวุ่นวายของระบอบประชาธิปไตยในสหรัฐฯ ประชาคมโลกจะต้องตั้งคำถามกับสหรัฐฯให้มากยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อจะได้มองเห็นความจริงที่อยู่เบื้องหลังประชาธิปไตยของสหรัฐฯได้อย่างชัดเจน ประการแรก ประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯเป็นประชาธิปไตยสำหรับคนกลุ่มน้อยที่ได้ผลประโยชน์พิเศษ และบิดเบือนความหมายของประชาธิปไตยมานานแล้ว สหรัฐฯได้โฆษณาว่าตนเองเป็น “ประภาคารแห่งประชาธิปไตย” และสร้างภาพลวงตาที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นพื้นฐานของโครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐฯ เดิมทีกระบวนการกำหนดรัฐธรรมนูญแบบสหพันธรัฐของสหรัฐฯเป็นเพียงกระบวนการประนีประนอมต่อผลประโยชน์พิเศษซึ่งกันและกันที่แตกต่างกัน และเป็นกระบวนการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างไม่เป็นธรรม ถึงแม้ว่า “สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ” (American Civil War) จะได้ยุติ “ระบอบทาส” ลงแล้วก็ตาม แต่เป้าหมายหลักของสงครามไม่ได้ทำให้ชาวอเมริกาเชื้อสายแอฟริกาได้รับสิทธิในระบอบประชาธิปไตยมากไปกว่าเดิมเลย แต่เป็นการแสวงหาผลกำไรด้วยการกินรวบในตลาดภายในประเทศมากยิ่งขึ้น จนถึงทุกวันนี้ ชนกลุ่มน้อย อาทิ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกายังคงอยู่ภายใต้การเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ แม้กระทั่งพวกเขายังถูกคิดว่าเป็น “ทาสของสังคมคนขาว” เรื่อยมา ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ประชาชนในสหรัฐฯบางคนได้เลือกใช้การเลือกตั้งแบบตะวันตกมาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าเป็นตนเองเป็น “ประชาธิปไตย” หรือไม่ ? อย่างไรก็ตาม ต้องสังเกตด้วยกว่าการเลือกตั้งทางการเมืองของสหรัฐฯไม่เพียงเป็นระบอบที่เต็มไปด้วยการบิดเบือน แต่ด้านการนำมาปฏิบัติจริงกลับขับเคลื่อนด้วย “การเมืองเงินตรา” อย่างสมบูรณ์ ส่งผลเสียตามมาคือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่มีทางเลือกอื่นใดเลย ปัจจุบันนี้ การเลือกตั้งที่ได้รับการสนับสนุนด้วย “การเมืองเงินตรา” พรรคเดโมแครทและพรรครีพับลิกันต่างผลัดกันเข้ามาบริหารประเทศ แต่สิ่งเดียวที่เหมือนกันระหว่างทั้งสองพรรคก็คือการต่อต้านซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการทำให้ฝ่ายตนได้ผลประโยชน์มากที่สุด ส่งผลให้วอชิงตันหมดความสามารถโดยสิ้นเชิงจากการ “การเมืองแบบการลงมติ” ไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆ ในการตอบสนองต่อความคิดเห็นของประชาชนในประเทศ ด้วยอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ การนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาทำงานต่างๆแทนมนุษย์และการทำร้ายคนผิวสีมีมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุปสรรคในการยอมรับทุกชนชาติในสหรัฐฯเด่นชัดมากยิ่ง และทั้งสองพรรคที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์จากการที่ “ความเหนือกว่าของคนขาว” หรือ “เป็นชนเผ่า” ซึ่งดูเหมือนกับว่ากำลังเป็นที่ความสนใจต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มคนบางกลุ่ม แต่สาระสำคัญก็คือการเพิ่มคะแนนเสียงของฝ่ายตนให้ได้มากที่สุด อีกทั้งสามารถผลักดันกำหนดการนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการทางผลประโยชน์ต่อไป ในการเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19อย่างรุนแรง นักการเมืองของทั้งสองพรรคได้นำการต่อสู้กับโรคระบาดใช้เป็นประเด็นทางการเมืองแม้จะอยู่ภายในระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ตาม ในมุมมองของสหรัฐฯเอง คิดว่าการที่ประชาชนสหรัฐฯถูกคุกคามด้วยโรคระบาดเช่นนี้ชีวิตของพวกเขาไม่ได้สำคัญอะไรเลย แต่กลับใช้ประโยชน์จากประเด็นนี้เพื่อให้ฝ่ายตนได้รับผลโหวตมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว จากมุมมองของประวัติศาสตร์และหลักความเป็นจริง การจัดการและปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของระบอบประชาธิปไตยในสหรัฐฯเป็นได้แค่เพียงการให้บริการผลประโยชน์แก่ฝ่ายตนเท่านั้น โดยปัจจุบันนี้ระบอบประชาธิปไตยเต็มไปด้วยข้อบกพร่องมากมาย จนไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของประชาชนทั่วไปได้ และไม่สามารถส่งเสริมให้สหรัฐฯปกครองและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับผลประโยชน์และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนส่วนใหญ่ได้มานานแล้ว ประการที่สอง สิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย”ของสหรัฐฯบนเวทีนานาชาติเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับอำนาจอธิปไตยและผลประโยชน์ส่วนตนโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้คุณค่าของประชาธิปไตยเสื่อมทรามลงจากที่ควรจะเป็น ในช่วงเวลาแห่งการได้รับเอกราชอย่างสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย และค่านิยมอื่น ๆ ได้ถูกควบคุมโดยสหรัฐฯเพื่อใช้เป็นเส้นแบ่งระหว่างการเมืองแบบยุโรปดั้งเดิม และการเกิดขึ้นของ “ลัทธิมอนโร” ในช่วงศตวรรษที่ 19 ยิ่งเป็นการใช้รูปแบบการปกครองอย่างระบอบ “ประชาธิปไตย” เพื่อแยกทวีปอเมริกาออกจากยุโรป ซึ่งทำให้สหรัฐฯอยู่ในในทวีปอเมริกาในฐานะผู้นำ จะเห็นได้ว่าค่านิยมทางด้านประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือหรือแม้กระทั่งอาวุธที่สหรัฐฯเชื่อว่าสามารถจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะ และเป็นการหาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ตนเองตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งแต่ปี 1880 ถึงปี 2017 สหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงทางทหารในต่างประเทศกว่า 392 ครั้ง ในการแทรกแซงทางทหารเหล่านี้ สิ่งที่เรียกว่า “การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม” บนพื้นฐานของ “ประชาธิปไตย” ได้กลายข้ออ้างที่สหรัฐฯใช้บ่อยที่สุด และได้ใช้ข้ออ้างนี้เข้าแรกแทรกแซงประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อปล้นสะดม ปล้นทรัพยากร ให้การช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นเพื่อเป็นตัวแทนของตน และควบคุมประเทศเหล่านั้นระยะยาว ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐฯใช้การตีความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ของตนเองในการระดมและรวบรวมพันธมิตร สร้างการแยกตัวและการต่อต้านในระยะยาวระหว่างสองฝ่าย ทำลายการพัฒนาที่สมดุลของเศรษฐกิจโลกและสันติภาพและเสถียรภาพทั่วโลก นอกจากนี้ สหรัฐฯยังได้เร่ขาย “ประชาธิปไตย”ในเวทีระหว่างประเทศเรื่อยมา โดยการผลักดันสิ่งที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย” และ “การฟื้นฟูชาติ” พฤติการณ์ที่ค่อนข้างชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ก็คือการที่สหรัฐฯได้ดำเนินการแทรกแซงต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตั้งแต่สหรัฐริเริ่ม “แผนประชาธิปไตยในดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่” สหรัฐฯได้ใช้กลวิธีการต่าง ๆที่ชัดเจนหรือแยบยลยุยงให้การเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลางเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันยังได้ผลักดันนโยบาย “การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย” บนแผ่นดินที่สหรัฐฯยึดครองอย่างประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยตรง ผลลัพธ์ของความล้มเหลวของสหรัฐฯเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การกระทำของสหรัฐฯก่อให้เกิดสถานการณ์ในตะวันออกกลางมีความวุ่นวายและปั่นป่วนมากขึ้น และการที่สหรัฐฯถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานอย่างเร่งด่วนก็เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าสหรัฐฯหมดตัวในการกระทำของตนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง แท้ที่จริงแล้ว สหรัฐฯได้อวดอ้าง “ประชาธิปไตย”ของตนเรื่อยมา และได้ความหมายของ “ประชาธิปไตย”ที่ตนเองได้อธิบายจนกลายเป็น “อาวุธ” และยัดเยียด “ประชาธิปไตย” ให้กับผู้อื่น เป็นวิธีที่ใช้เฉพาะประเทศหรือภูมิภาคที่ตนคิดว่าต้องการควบคุม เป็นการกระทำที่ใช้ความเป็นใหญ่ทางอำนาจที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อยเลย และเกิดความขัดแย้งต่อความคาดหวังประชาธิปไตยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ประชาคมโลกได้เรียกร้องอย่างสิ้นเชิง หากจะกล่าวว่าตรรกะภายในประเทศของระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯถูกครอบงำโดยคนเพียงไม่กี่คนหรือเพื่อผลประโยชน์พิเศษ และตรรกะต่อประเทศต่าง ๆ ของระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯก็คือการยึดมั่นว่าตนเป็นหนึ่งเดียวในโลกนี้ ประการที่สาม การที่สหรัฐฯดึงดันจะทำตามใจตนเองโดยไม่รับฟังข้อเสนอของผู้อื่นในการจัดงาน “ประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย” ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง ถือเป็นการแสดงที่บ้าระห่ำอีกหนึ่งที่มีรากฐานมาจากประโยชน์ส่วนตน ซึ่งเบี่ยงเบนไปจากความสนใจและความปรารถนาหลักของประชาคมโลกอย่างจริงจัง การเคลื่อนไหวของสหรัฐฯครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าสหรัฐฯได้ใช้ความเป็นใหญ่ทางอำนาจในนามของ “ประชาธิปไตย” อย่างที่มักใช้เป็นประจำ ในด้านหนึ่งสหรัฐฯเกิดความวุ่นวายภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ได้เผชิญกับการเมืองที่ตกต่ำ ความล้มเหลวในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงเหตุการณ์ “การยึดครองแคปปิตอลฮิลล์” สหรัฐฯจึงพยายามที่จะรื้อฟื้นภาพลักษณ์ของประชาธิปไตยผ่านการใช้ “การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย” เพื่อเป็นผู้นำในวาระความคิดเห็นของสาธารณชนทั่วโลก และยังคงบิดเบือนสิทธิในการแสดงออกทางการพูดต่อไป อีกด้าน สหรัฐกำลังเผชิญกับสถานะระหว่างประเทศที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จึงพยายามใช้ “ประชาธิปไตย” เป็นเหตุผลในการตั้งพรรคตั้งพวก ขาย “ความหวาดกลัว” แสดงการ “ข่มขู่” ดังนั้นจึงใช้ความเป็นใหญ่ทางอำนาจพยายามผลักดัน “การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจ” มาตรฐานที่กำหนดโดยสหรัฐอเมริกาสำหรับสิ่งที่เรียกว่า “การประชุมสุดยอดประชาธิปไตย” ไม่ใช่มาตรฐานที่ประชาธิปไตยควรมี แต่เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับสิทธิ์และผลประโยชน์ด้วยความเป็นใหญ่ทางอำนาจของตนเองหรือไม่ ต้องสังเกตว่าการกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯไม่เพียงนำไปสู่การแบ่งแยกและการเผชิญหน้าของประชาคมโลกเท่านั้น แต่ยังสร้าง “อุดมการณ์” ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแม้กระทั่งความเสี่ยงที่จะเดินหน้าเข้าสู่ “สงครามเย็นครั้งใหม่” ย่อมนำมาซึ่งความอันตรายร้ายแรงและความท้าทายอันหนักอึ้งต่อระเบียบระหว่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย ในปัจจุบัน ประเด็นปัญหาระดับโลก เช่น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การชะลอตัวด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ล้วนต้องการให้ประชาคมโลกร่วมแรงรวมใจเพื่อเอาชนะต่อความยากลำบากเหล่านี้อย่างเร่งด่วนไปให้ได้ แต่ในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ละทิ้งภาระและความรับผิดชอบระหว่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง กลับกระทำการอันก่อให้เกิดความวุ่นวายระหว่างประเทศขึ้นอย่างเห็นแก่ตัว ขัดขวางสถานการณ์โดยรวมของโลก จนกลายเป็นสิ่งกีดขวางความสามัคคี ความมั่นคง การพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองที่ใหญ่ที่สุด ประชาธิปไตยเป็นค่านิยมร่วมกันของมนุษย์ทุกคน เป็นสิทธิของประชาชนทุกประเทศ แต่ไม่ใช่สิทธิบัตรของประเทศใดประเทศหนึ่งประเทศเดียว ไม่มีประเทศใดสามารถกำหมดมาตรฐานประชาธิปไตยของประเทศอื่นได้ ไม่มีประเทศใดสามารถเอาระบอบการปกครองของตนยัดเยียดให้กับประเทศอื่น และยิ่งไม่มีประเทศใดมีใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือกดขี่ประเทศอื่น ทุกวันนี้ สหรัฐฯซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยภายในประเทศและยิ่งไม่มีสิทธิ์และคุณสมบัติใดในความพยายามกระทำว่าด้วยการส่งเสริม “ประชาธิปไตย” ของตนเองต่อประเทศอื่น นอกจากนี้ยังควรชี้ให้เห็นว่าสถานกาณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในปัจจุบัน อย่างเช่น ความวุ่นวายในระบอบประชาธิปไตย ความล้มเหลวในการปกครองบ้านเมือง ความขัดแย้งภายในและภายนอกประเทศ ต่างล้วนเป็นปัญหาภายในที่เกิดจากการสะสมเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกอื่นใดเลย และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากการความตั้งใจสร้างเรื่องขึ้นมาที่เรียกว่า “ภัยคุกคามภายนอก” และไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้นอย่างจริงจังเลย การใช้ “ประชาธิปไตย” ก่อให้เกิดประโยชน์จะต้องเริ่มต้นจากผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนภายในประเทศไม่ใช้เริ่มจากการผลประโยชน์ส่วนตนของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เปลี่ยนแปลงทิศทางและท่าทีของตนต่อประชาชนในประเทศและต่างประเทศ จึงจะสามารถช่วยให้สหรัฐฯแก้ไขปัญหาของตนเองได้ จึงจะเป็นผลดีต่อชาวอเมริกาและดีต่อประชาชนทั่วโลก โลกทุกวันนี้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่มีมาก่อนในศตวรรษ ทุกประเทศควรจะปรับเข้าหาการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและทิศทางที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์นี้ ก้าวข้ามความแตกต่างของระบอบการปกครอง ละทิ้งความคิดแบบเหมารวม ปฏิบัติตนให้เป็นลัทธิพหุภาคีที่แท้จริง และส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของมวลมนุษยชาติอย่างเต็มที่ เคารพซึ่งกันและกัน เคารพความหลากหลาย และร่วมเอาชนะไปด้วยกัน เพื่อสร้างโชคชะตาร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติ