โดยยอดป่วยรายใหม่ลดลงมา เช่นเดียวกับผู้ป่วยอาการหนักปอดอักเสบ 1,105 ราย และมีอาการโคม่าต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 309 ราย ที่ลดลงต่อเนื่อง จำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสูงสุด ส่วนใหญ่ติดจากคนรู้จัก คนใกล้ชิดและในครอบครัว อาศัยในพื้นที่ร่วมกัน เช่นเดียวกับผู้ป่วยติดเตียงที่ปัจจุบันมียอดเสียชีวิตต่อเนื่อง  ขณะที่วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,787 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในปท.3,763 ราย มาจากต่างประเทศ 24 ราย วันนี้มีรายงานลอบเข้าประเทศตามช่องทางธรรมชาติ 2 ราย จากเมียนมา โดยกทม.ยังพบติดเชื้อรายวันสูงสุด 631 ราย ส่วนยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 5 ราย รักษาหาย 5,606 ราย ยังรักษาอยู่ 51,616 ราย  วันที่ 12 ธ.ค.2564 ศูนย์ข้อมูลCOVID-19 รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 3,787 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,763 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 3,720 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 38 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 5 ราย) และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 24 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63  รวม 2,168,646 ราย อย่างไรก็ตามหากรวมยอดผู้ป่วยจากการตรวจ ATK จำนวน 1,108 ราย ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่จะมีถึง 4,895 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 20 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 21,077 ราย หายป่วยอีก 5,606 ราย รวมยอดรักษาหาย 2,068,433 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 51,616 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.25,757 ราย ในรพ.สนาม/HI-CI 25,859 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,105 ราย มีผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 309 ราย สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต จำนวน 20 ราย เป็นเพศชาย 9 ราย เพศหญิง 11 ราย อายุ 35-90 ปี อยู่ในพื้นที่ ปัตตานี สตูล ปราจีนบุรี พิษณุโลก มากที่สุดจว.ละ 2 ราย โดยในภาคใต้เสียชีวิตรวมยังสูงสุดถึง 8 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคอ้วน ติดเตียง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น