เด็กในเจเนอเรชั่นอัลฟ่า (Alpha Generation) คือเด็กที่เกิดมาพร้อมกับการที่โลกเริ่มรู้จักกับ iPad และเติบโตขึ้นพร้อมกับการใช้หน้าจอ Touch Screen แต่ในขณะที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ กลับมีนิยามใหม่อย่าง New Normal หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่เกิดขึ้น จนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลายอย่าง ทำให้โลกการเรียนรู้ของเด็กในเจนอัลฟ่า ถูกจำกัดอยู่แค่หน้าจอและพื้นที่ในบ้าน โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ผนึกกำลังกับ mappa องค์กรที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ ร่วมแนะนำแนวคิดและถอดบทเรียนสู่วิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกน้อยในเจนอัลฟ่ารับมือกับโลกที่ไม่เหมือนเดิมอย่างมีความสุขทั้งกายและใจ ไม่ว่าจะเป็น ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเฟซบุ๊กเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” คำแนะนำจาก ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเฟซบุ๊กเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน’ ในแนวคิด “Kind but Firm ยืดหยุ่นในบางครั้ง จริงจังในบางเวลา แนวคิดและวิธีการที่พ่อแม่ สามารถนำมาปรับใช้โดยการสร้างความเข้าใจ ตั้งกฎกติกา และจริงจังตามกติกาที่ตั้งไว้ จะเป็นการช่วยฝึกวินัยเชิงบวก และช่วยแก้ปัญหาลูกติดหน้าจอ ที่กำลังเป็นปัญหาหลักหนักอกของหลาย ๆ ครอบครัวในขณะนี้” “ฟังให้ได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยด้วยหลัก ‘4R’ การ Respect หรือเคารพในตัวลูก สร้างความสัมพันธ์ที่ดี Relationship เพื่อเข้าไปอยู่ในโลกของลูก Responsibility สร้างให้ลูกเกิดความรับผิดชอบ และ Reward การทำให้ลูกรู้สึกดี หรือการชื่นชมเมื่อลูกทำสำเร็จ ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถใช้ในการฟัง เพื่อให้ได้ยินเสียงหัวใจของลูกได้เช่นกัน” แนวคิดจาก อ.รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ อ.รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ คุณนพรรต นพปศักดิ์ หรือ Aum napat อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ที่ร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปในครั้งนี้ ยังมีโอกาสแชร์ประสบการณ์จริงจากการเลี้ยง อุนยาย หรือ น้องชาร์ม พิมวา นพปศักดิ์ ว่า “จริง ๆ แล้วน้องชาร์มเกิดมาในยุคของ iPad อุ้มอยากให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ดีที่สุด แต่อุ้มก็รู้สึกว่าการที่เด็กวัยนี้อยู่กับหน้าจอมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา อุ้มเลยอยากหาทางออกที่ดีที่สุดให้ลูก และพอได้เข้ามาร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปในครั้งนี้ก็ได้คำแนะนำที่ช่วยให้อุ้มสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปปรับใช้ได้จริง เช่น เราได้เรียนรู้ว่ากิจกรรมนอกบ้านไม่สามารถทดแทนช่วงเวลาพิเศษที่เกิดจากกิจกรรมภายในบ้านได้ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในบ้าน มันช่วยให้เค้าใช้ชีวิตนอกบ้านได้ดียิ่งขึ้น” คุณสมปรารถนา เอกฐิน คุณแม่ผู้ร่วมเวิร์คช็อปในครั้งนี้ กล่าวว่า “การร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของลูกที่เราอาจจะไม่รู้มาก่อน เช่น ความมุ่งมั่นในการทำสิ่งหนึ่งให้ดีที่สุด เห็นได้จากกิจกรรมแข่งคีบของให้ลงตะกร้ากับคุณพ่อ ที่ลูกตั้งใจเล่นมาก และรู้สึกว่าเค้าภูมิใจในตัวเองเมื่อชนะ หรืออีกหนึ่งกิจกรรม คือ วาดภาพมือและเท้าให้ก้าวตาม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้เห็นศักยภาพและพัฒนาการของลูกมากขึ้น ลูกตั้งใจฟังและทำตามกฎกติกาได้ด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง เห็นได้เลยว่าความสัมพันธ์ของระบบความคิดกับกล้ามเนื้อของลูก มีการพัฒนาไปไกลเกินกว่าที่เราคาดไว้อีก รวมถึงความอดทน ความมีสมาธิที่เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เช้ายันเย็นได้”  สมปรารถนา เอกฐิน คุณแม่ผู้ร่วมเวิร์คช็อป สำหรับกิจกรรมเวิร์คช็อปแบบไฮบริด 1 วันสร้างสุขให้ลูกเปลี่ยน (ปี 4) ตอน เตรียมพร้อมกายใจลูกเจนอัลฟ่าสู่โลกที่ไม่เหมือนเดิม เป็นการผนึกกำลังกันระหว่าง โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) จาก บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่มุ่งสร้างแรงบันดาลใจและนำเสนอไอเดียให้พ่อแม่และเด็ก ๆ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพให้เกิดขึ้นในครอบครัวได้อย่างมีความสุข และ mappa องค์กรที่เกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเดินหน้าเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ผ่านการเรียนรู้และลงมือทำ คุณมิรา เวฬุภาค หนึ่งในผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า “mappa เป็นองค์กรที่ทำธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีแนวคิดจากความเชื่อว่า ‘ความรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่’ และการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของลูกเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ที่ ‘บ้าน’ และพ่อแม่ก็คือเพื่อนคู่หูที่ดีที่สุดที่จะร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับลูก” ซึ่งแนวคิดนี้ ตรงกับวัตถุประสงค์ของ โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) โดยคุณกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “การสร้างทักษะชีวิตให้ลูกน้อยในเจนอัลฟ่า เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมความพร้อม พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง โดยสามารถออกแบบพื้นที่ภายในบ้านให้กลายเป็นสวนสนุกหรือพื้นที่การเรียนรู้ เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้เป็นภารกิจที่สนุก โดยมีพ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดให้กับลูก จะช่วยสร้างประสบการณ์เชิงบวกและความมั่นคงทางจิตใจให้ลูกได้” เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า New Normal หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ จะอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหน และในโลกที่ไม่เหมือนเดิมของลูกในเจนอัลฟ่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง การเตรียมความพร้อม และเพิ่มทักษะการใช้ชีวิตให้ลูกน้อย โดยสร้างการเรียนรู้จากพื้นที่ภายในบ้าน เป็นสิ่งที่พ่อแม่ และผู้ปกครองทุกคนสามารถทำได้ เพื่อฝึกให้ลูกน้อย สามารถรับมือกับการใช้ชีวิตในโลกที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ร่วมติดตามข่าวสาร กิจกรรม และเทคนิคดี ๆ ในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพและความสุขในครอบครัว จากโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี ได้ที่ https://www.facebook.com/N4HKThailand/ และ https://www.nestle.co.th/th/nhw/kids