แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงแต่แนวโน้มกราฟพุ่งขึ้นชัดเจน คือ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงราย ลำพูน และสิงห์บุรี โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคเรื้อรัง คิดเป็น 100% อีก 12%ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสูงสุด ส่วนใหญ่ติดจากคนรู้จัก คนในครอบครัว อาศัยในพื้นที่ร่วมกัน จึงขอให้ออกมาฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรง เช่นเดียวกับผู้ป่วยติดเตียงที่ปัจจุบันมียอดเสียชีวิตต่อเนื่อง วันนี้พบเสียชีวิตอีก 2 ราย ซึ่งติดเชื้อจากผู้ดูแล ที่อาจหย่อนยานมาตรการป้องกัน ส่วนผู้ป่วยอาการหนักปอดอักเสบ 1,369 ราย และมีอาการโคม่าต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 330 ราย ขณะที่วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,753 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในปท.4,741 ราย มาจากต่างประเทศ 12 ราย โดยกทม.ยังพบติดเชื้อรายวันสูงสุด 605 ราย ตายสูงสุดอยู่ในพื้นที่ แม่ฮ่องสอน 3 ราย ส่วนยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 57 ราย รักษาหาย 6,165 ราย ยังรักษาอยู่ 77,811 ราย
วันที่ 29 พ.ย.2564 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 4,743 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 4,741 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 4,486 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 198 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 57 ราย) และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 12 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 รวม 2,111,566 ราย อย่างไรก็ตามหากรวมยอดผู้ป่วยจากการตรวจ ATK จำนวน 1,607 ราย ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่จะมีถึง 6,360 ราย
วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 27 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 20,734 ราย หายป่วยอีก 6,165 ราย รวมยอดรักษาหาย 2,013,021 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 77,811 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.38,448 ราย ในรพ.สนาม/HI-CI 39,363 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,369 ราย มีผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 330 ราย
สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต จำนวน 27 ราย เป็นเพศชาย 14 ราย เพศหญิง 13 ราย อายุ 29-91 ปี อยู่ในพื้นที่ แม่ฮ่องสอร มากที่สุด 3 ราย โดยในภาคใต้เสียชีวิตรวมยังสูงสุดถึง 18 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคอ้วน ติดเตียง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น


