วันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของการประชุมผู้นำรัฐภาคี “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” ครั้งที่ 15 พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ว่า จีนได้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติอย่างเป็นทางการชุดแรก ได้แก่ อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน, อุทยานแห่งชาติแพนด้า, อุทยานแห่งชาติเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์, อุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนมณฑลไห่หนาน และอุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ อุทยานแห่งชาติ 5 แห่งแรกของจีนนี้ มีเอกลักษณ์และบทบาทต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาวะนิเวศจีนอย่างไร ผู้รับผิดชอบอุทยานทั้ง 5 แห่งนี้ ได้มาแนะนำให้คำตอบ พร้อมแจกแจงถึงภาระหน้าที่และการสร้างสรรค์ในอนาคต 1. อนุรักษ์ “หอคอยคลังน้ำจีน” ผู้ให้สัมภาษณ์ : นายหวัง เซียงกั๋ว อธิบดีกรมการบริหารอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน(อุทยานต้นกำเนิดแม่น้ำ 3 สาย) ตั้งอยู่ส่วนลึกของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ประกอบด้วย 3 เขต ได้แก่ ฉางเจียงหยวน(เขตต้นแม่น้ำแยงซี), หวงเหอหยวน(เขตต้นแม่น้ำเหลือง) และหลานชางเจียงหยวน(เขตต้นแม่น้ำล้านช้าง) มีภูมิลักษณะที่พิเศษแตกต่างและทิวทัศน์สวยงามอลังการ “เขตซานเจียงหยวน” มีสมญานามว่า “หอคอยคลังน้ำจีน” เป็นแหล่งสนองทรัพยากรน้ำจืดสำคัญของจีน เป็นเขตอ่อนไหวและเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของเอเชีย ซีกโลกเหนือ กระทั่งทั่วโลก และยังเป็นตัวกั้นสำคัญด้านความปลอดภัยทางภาวะนิเวศและคลังทรัพยากรสิ่งมีชีวิตที่ราบสูงของจีนด้วย ซึ่งตั้งแต่เมื่อค.ศ. 2005 จีนก็ได้อนุมัติเริ่มโครงการรังสรรค์เขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับประเทศ “เขตซานเจียงหยวน” ขึ้นแล้ว ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 2016 ในฐานะเป็นเขตสาธิตด้านระบบอุทยานแห่งชาติที่แรกของจีน “อุทยานซานเจียงหยวน” ได้เริ่มการสร้างสรรค์อย่างเป็นทางการ รอบ 5 ปีมานี้ ในด้านกลไกการบริหารจัดการ มีการประสานงานทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บรรลุการกำกับดูแลด้วยกฎหมายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ภาวะนิเวศ ดินแดนและทรัพยากรทางธรรมชาติของเขตสาธิต แก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ไม่ชัดเจน การดูแลควบคุมด้วยกฎหมายไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น งานรังสรรค์อุทยานแห่งนี้มีจุดเด่นอีกอย่างคือ ให้ชาวปศุสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตสาธิตมาตลอดนั้น มีส่วนร่วมในงานดูแลภาวะนิเวศของอุทยาน ปัจจุบัน พวกเราได้บรรลุ “หนึ่งครอบครัวหนึ่งตำแหน่ง” โดยมีผู้ดูแลภาวะนิเวศ 17,211 คน ได้รับใบอนุญาตทำงานและดำรงหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รายได้ทั้งปีของแต่ละครอบครัวเพิ่มขึ้น 21,600 หยวนโดยเฉลี่ย ประชาชนมีเจตนารมณ์ร่วมการอนุรักษ์ภาวะนิเวศมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด    2. สร้างบ้านพักกว้างใหญ่และดีงามให้แพนด้า ผู้ให้สัมภาษณ์ : นายหลี่ เทียนหมั่น อธิบดีกรมกิจการป่าไม้และทุ่งหญ้ามณฑลซื่อชวน(เสฉวน) อธิบดีกรมการบริหารอุทยานแพนด้าแห่งชาติ มณฑลซื่อชวน แพนด้าแสนน่ารักเป็นสมบัติแห่งชาติของจีน และเป็นสัตว์ล้ำค่าที่พบได้เพียงในจีน อีกทั้งยังเป็นทูตสันถวไมตรีเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ปัจจุบัน ด้วยการอนุรักษ์อย่างลงรายละเอียดถี่ถ้วนเป็นเวลานาน จำนวนแพนด้าป่าของจีนมีกว่า 1,800 ตัว ความเสี่ยงด้านการสูญพันธุ์ได้ลดลงจากระดับเกือบสูญพันธุ์มาเป็นระดับง่ายต่อการสูญพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ส่วนหนึ่งมาจากผลสำเร็จของบทบาทการสร้างระบบสาธิตอุทยานแห่งชาติแพนด้า แต่ก่อน พื้นที่ใช้ชีวิตของแพนด้าป่ากระจัดกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ กระทบถึงการอยู่รอดและขยายพันธุ์ของแพนด้าอย่างร้ายแรง เขตสาธิตระบบอุทยานแห่งชาติแพนด้าที่เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2017 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนสภาพดังกล่าว และบรรลุการอนุรักษ์ข้ามเขต อุทยานแห่งชาติแพนด้าประกอบด้วยเขตที่มีแพนด้าป่าอาศัยอยู่มากใน 23 อำเภอ(เขต) 9 จังหวัด(เมือง) ของมณฑลซื่อชวน มณฑลส่านซี และมณฑลกันซู่ โดยได้ควบรวมเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ 69 แห่งที่เดิมขึ้นตรงต่อหน่วยงานและเขตบริหารต่างกันให้เป็นหนึ่งเดียว ให้พื้นที่อยู่อาศัยของแพนด้า 13 ฝูงเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน ปัจจุบัน ที่นี่มีแพนด้าป่ากว่า 70% ของทั่วประเทศจีนอาศัยอยู่ ช่วงหลายปีมานี้ พวกเราได้สร้างฐานการฝึกทักษะการดำรงชีวิตในป่า และฐานปล่อยแพนด้าที่ฟื้นสัญชาติสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ รวมทั้งดำเนินการทดลองฟื้นฟูฝูงเล็ก เพื่อพยายามเพิ่มจำนวนและความมั่นคงของประชากรแพนด้าป่า นอกจากนี้ พวกเรายังได้ทดลองทำอีกหลายวิธี เช่น จัดตั้งตำแหน่งงานด้านภาวะนิเวศ จ้างผู้ดูแลป่าไม้และภาวะนิเวศ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เขตชุมชน ธุรกิจ องค์การทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และอาสาสมัคร เข้าร่วมการสร้างสรรค์ของอุทยานแห่งชาติ พวกเรามีเป้าหมายว่า เพิ่มขีดความสามารถด้านการบริการสาธารณชนของอุทยานแห่งชาติ ที่รวมถึงการให้ความรู้และการสัมผัสประสบการณ์ทางภาวะนิเวศ สร้างให้เป็น “สวนสนุกหลากหลายประโยชน์” ที่รวบรวมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การเรียนการสอน และการพักผ่อนหย่อนใจ ยกตัวอย่างเช่น จัดตั้งโรงเรียนป่าไม้แพนด้าระหว่างประเทศ โดยรักษาสภาพแวดล้อมเดิมตามธรรมชาติของ “บ้านพักของแพนด้า” พร้อมจัดกิจกรรมกระตุ้นการอนุรักษ์แพนด้า การให้ความรู้ด้านสิ่งมีชีวิตและคุณค่าทางภาวะนิเวศแก่เด็กๆ 3. เสือโคร่งและเสือดาวในป่าเขาเป็นสัญลักษณ์ภาวะนิเวศที่ดี ผู้ให้สัมภาษณ์ : นายเจ้า ลี่ อธิบดีกรมการบริหารอุทยานเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์แห่งชาติจีน สถิติแสดงว่า หลายปีมานี้ ภายในอุทยานแห่งชาติจีนเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์ นักท่องเที่ยวได้เจอเสือโคร่งไซบีเรียโดยบังเอิญถึง 17 ครั้ง เป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นมากว่า สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์นี้กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นในป่าเขากว้างใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เสือโคร่งและเสือดาวอยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าไม้ จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า ระบบภาวะนิเวศมีสภาพดีขึ้นต่อเนื่องจริง ซึ่งการอนุรักษ์เสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์นั้น ไม่ใช่แค่ให้การคุ้มครองชีวิตสัตว์เท่านั้น หากยังต้องอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และโครงสร้างพืชพันธุ์ต่างๆ ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหารด้วย นี่เป็นภาระหน้าที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์ ระบบสาธิตอุทยานแห่งชาติเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2017 มีขอบเขตครอบคลุมมณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮยหลงเจียง พื้นที่ทั้งหมด 14,065 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ 19 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ป่าไม้ 97.74% ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเพียงหนึ่งเดียวของเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์ของจีนมาแต่เนิ่นนาน ตั้งแต่จัดตั้งระบบสาธิตบริหารงานอุทยานแห่งชาติขึ้นเป็นต้นมา พวกเราได้สร้างกลไกการปฏิบัติงานที่ประสานกันระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อค้นคว้าและผลักดันการอนุรักษ์และบริหารจัดการแบบมหภาคต่อภูเขา ระบบน้ำ ป่าไม้ ที่นา ทุ่งหญ้า และเขตทราย สถิติล่าสุดแสดงว่า เสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาวอามูร์ที่นี่ ได้เพิ่มจำนวนจาก 27 ตัวและ 42 ตัวก่อนการสร้างเขตสาธิต มาเป็น 50 ตัวและ 60 ตัวในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน มีลูกเสือโคร่งเกิดใหม่อย่างน้อย 10 ตัว และลูกเสือดาวเกิดใหม่อย่างน้อย 7 ตัว การที่จำนวนเสือโคร่งและเสือดาวในป่าของจีนเพิ่มขึ้น เป็นผลพวงมาจากการอนุรักษ์ภาวะนิเวศที่ดีขึ้นนั่นเอง หลายปีมานี้ พวกเราได้สร้างระบบเครือข่ายการอนุรักษ์อย่างครบถ้วน ยืนหยัดการลาดตระเวนและอนุรักษ์ที่ครอบคลุมอย่างทั่วถึง เพิ่มระยะทางการออกลาดตระเวนเป็น 24 เท่าของก่อนสร้างระบบสาธิต ทำให้พฤติกรรมล่าสัตว์ป่าลดลง 94.55% พวกเราได้ดำเนินการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างมีระเบียบ โดยได้ฟื้นฟูภาวะนิเวศของพื้นที่เกือบ 43,000 เฮกตาร์ พวกเรายังได้กำหนดวิธีชดเชยความเสียหายด้านสัตว์ป่าด้วย โดยใช้รูปแบบการบริหารงานอัจฉริยะแบบ “อินเตอร์เน็ต+ภาวะนิเวศ” สร้างระบบเครือข่ายการดูแลแบบ “รวมดินฟ้าอากาศเป็นหนึ่งเดียว” ที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 10,000 ตารางกิโลเมตร บรรลุเป้าหมายขั้นต้นว่า “ในป่ามีเสือโคร่งและเสือดาว ประชาชนมีจิตสำนึกอนุรักษ์ภาวะนิเวศ” 4. ป่าฝนเขียวชอุ่มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ผู้ให้สัมภาษณ์ : นายหวง จินเฉิง อธิบดีกรมการบริหารอุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนมณฑลไห่หนาน อุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนมณฑลไห่หนาน เป็น 1 ใน 34 แห่งสำคัญของโลกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่นี่มีทรัพยากรป่าฝนเขตร้อนที่ล้ำค่าอย่างหนาแน่น และเป็นที่อยู่อาศัยแห่งเดียวในโลกของชะนีไห่หนาน มณฑลไห่หนานสนับสนุนการสร้างอุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนมณฑลไห่หนานอย่างเต็มที่ โดยได้จัดอยู่ในรายชื่อ 12 โครงการแรกเพื่อพัฒนาการปฏิรูปเปิดกว้างของมณฑลไห่หนาน ได้ให้แรงสนับสนุนสำคัญกับการพัฒนาสร้างสรรค์อุทยานแห่งชาติ ชะนีไห่หนานในป่าฝนเขตร้อนมณฑลไห่หนานได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ในฐานะเป็นสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่นของที่นี่ ชะนีไห่หนานเคยใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนอันกว้างใหญ่ของเกาะไห่หนาน แต่มีช่วงหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว ฝูงชะนีไห่หนานก็ได้ลดจำนวนลงอย่างมาก ช่วงปลายทศวรรษ 1970 เหลือแค่ 7-9 ตัว อยู่ในสภาพมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ ด้วยความพยายามอนุรักษ์เป็นเวลา 40 ปีของคนหลายชั่วรุ่น ปัจจุบัน จำนวนชะนีไห่หนานได้เพิ่มถึง 5 ฝูง ทั้งหมด 35 ตัว กลายเป็นชะนีสายพันธุ์เดียวจากทั้งหมด 20 ชนิดทั่วโลกที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง นอกจากนี้ บริเวณที่มีป่าฝนเขตร้อนหนาแน่นในมณฑลไห่หนานยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยชนเผ่าดั้งเดิม คือ ชนเผ่าหลีและชนเผ่าเหมียว เพื่อฟื้นฟูป่าฝนเขตร้อนอย่างเป็นระบบ พวกเราได้ตั้งกลไกชดเชยเพื่อดำเนินการอนุรักษ์ภาวะนิเวศ และแผนการอพยพเชิงอนุรักษ์ภาวะนิเวศ เพื่ออพยพหมู่บ้านบางแห่งในใจกลางเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมแก้ไขปัญหาการมีงานทำ การใช้ชีวิต และอื่นๆของผู้คนที่ต้องอพยพ การสร้างอุทยานแห่งชาติจำต้องนำความผาสุกแก่ประชาชน ต้องให้ประชาชนสัมผัสได้ถึงชีวิตที่ดีขึ้นจากนโยบายเน้นภาวะนิเวศ และการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. การอนุรักษ์ทรัพยากรทางภาวะนิเวศ สร้าง “ภูเขาเงินกูเขาทอง” ผู้ให้สัมภาษณ์ : นายเฉิน เวย รองอธิบดีกรมบริหารงานอุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ อุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ ประกอบด้วยเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับประเทศภูเขาอู่อี๋มณฑลฝูเจี้ยน, เขตทิวทัศน์ระดับประเทศภูเขาอู่อี๋, เขตอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำปลาคาร์ฟฮอลแลนด์เขตทิวทัศน์ลำธารจิ่วชีว์ และอุทยานป่าไม้แห่งชาติจีน จัดเป็นเขตอนุรักษ์แห่งเดียวของจีนที่เป็นทั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑล และพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคุ้มครองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ อุทยานเขียวขจีแห่งนี้มีป่าดิบที่ไม่ถูกมนุษย์ทำลายพื้นที่ 210.7 ตารางกิโลเมตร เป็นระบบนิเวศป่าเขตร้อนที่มีลักษณะเด่นชัดที่สุด และพื้นที่กว้างใหญ่สุดในโซนละติจูดเดียวกันของโลก สมัยก่อน บริเวณนี้มีความสลับซับซ้อนมาก โดยป่าไม้ 66.6% เป็นป่าดิบ ในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดชาอูหลงและชาดำของโลก ที่นี่มักมีพฤติกรรมการปลูกต้นชาอย่างผิดกฎเกณฑ์ มีแต่ใช้มาตรการการอนุรักษ์ภาวะนิเวศที่เข้มงวดที่สุด จึงสามารถปรับเปลี่ยนสภาพนี้ได้ โดยเมื่อปี 2017 ทางการมณฑลฝูเจี้ยนจัดตั้งกรมบริหารงานอุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ที่ขึ้นตรงต่อมณฑล และสร้างสถานีบริหารอุทยานแห่งชาติใน 6 ตำบลที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดตั้ง 6 หน่วยงานกำกับดูแลทางกฎหมาย นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มกำลังการอนุรักษ์ พวกเรายังได้มอบสิทธิ์การดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรทางภาวะนิเวศบางส่วนให้กับฝ่ายที่ 3 และใช้บริการจากสังคมเพื่อเสริมกำลังการลาดตระเวน ขณะเดียวกัน ยังได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น การสำรวจระยะไกลด้วยดาวเทียม และ GIS เป็นต้น สร้างเครือข่ายใหญ่ในเขตอนุรักษ์ เพื่อดูแลทรัพยากรทางภาวะนิเวศอย่างทั่วถึงในทุกเวลา หากจะปรับเปลี่ยนน้ำใสและภูเขาเขียวให้เป็น “ภูเขาเงินภูเขาทอง” ก็ต้องใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งพวกเราได้ใช้รูปแบบการบริหารจัดการใหม่ คือ “พัฒนาพื้นที่ 10% เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ 90% ที่สำคัญกว่า” โดยได้กำหนดมาตรการชดเชย 11 ประการ เช่น การชดเชยเพื่อสร้างป่าไม้เชิงการอนุรักษ์ และการซื้อขายผลิตภัณฑ์จากป่า เป็นต้น เอื้อประโยชน์แก่ทั้งสังคมและผู้ทำสวนป่า ขณะเดียวกัน พวกเรายังได้ประกาศใช้ข้อเสนอบริหารการปลูกไร่ชาเชิงอนุรักษ์ ดึงดูดธุรกิจใบชาและชาวไร่ชาทำการปลูกชาตามมาตรฐานภาวะนิเวศ และปลูกป่า 625,000 โหม่ว(ประมาณ 417 ตารางกิโลเมตร) ปัจจุบัน เขตภูเขาอู่อี๋มีอุตสาหกรรมใบชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุตสาหกรรมปลูกไผ่และพืชผลใต้ต้นไผ่ และอุตสาหกรรมอื่นๆที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชนด้วยภูเขาในรูปแบบใหม่