เปิดข้อมูลเกิดเหตุนับ 10 ครั้งตั้งแต่ต้นปีนี้ ชี้โรงงานทำนองนี้ก่อตั้งง่ายด้วยคำสั่งคสช.เอื้อไม่มีผังเมืองคุม จึงเกิดได้ในทุกพื้นที่โดยนำเข้าขยะพลาสติกที่ทำได้ง่าย-คุณภาพดีกว่าถูกกว่า ทำไทยกลายเป็นถังขยะโลกไปโดยปริยาย บวกกับสถานการณ์โควิดทำให้โรงงานสะดุด ก่อขยะสะสมในโรงงานจนกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี พร้อมตั้งประเด็นน่าคิด ในเปลวไฟมีเบื่องหลังผลประโยชน์หรือไม่
เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อยมากในปีนี้ และหลายเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาย ไม่นับรวมความหวาดผวาของประชาชนทั่วไป ล่าสุดเกิดไฟไหม้ใหญ่โรงงานรีไซเคิล ซึ่งนายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 8 พ.ย.64 ระบุ "ไฟไหม้โรงงานรีไซเคิลพลาสติคถี่มาก สัมพันธ์กับวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะอะไร...
1.ช่วงนี้เกิดไฟไหม้ม้โรงงานรีไซเคิลพลาสติก ผลิตเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกถี่มาก เช่น
- 7 พ.ย.64 เกิดไฟไหม้โรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดใหญ่บริษัทพลัสพรอสเพอร์ จำกัด ต.มะขามคู่ อ.นิคมพัฒนาจ.ระยอง
- 1 พ.ย.64 ไฟไหม้โรงงานพลาสติก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
- ต้นเดือน ส.ค.64 ไฟไหม้โรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดใหญ่บริษัทพลัสพรอสเพอร์ จำกัด ต.มะขามคู่ อ.นิคมพัฒนาจ.ระยอง
- 26 ต.ค.64 เวลา 15.30 น.เกิดเพลิงไหม้โรงงานบริษัท โปลิโฟม ไฮเท็คส์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผลิต
- 19 ต.ค.64 เวลา 21.37 น.ไฟไหม้โรงงานบริษัท วัฒนาฟุตแวร์ ผลิตรองเท้า ซอยกิ่งแก้ว 9/1 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ผลิตรองเท้ายางและรองเท้าหนัง สารเคมีกาว ทินเนอร์ ยาง หนัง พลาสติก
- 9 ก.ค.64 ไฟไหม้โรงงานพลาสติก เขตบางบอน กทม.
- 5 ก.ค.64 เวลา 03.30 น. ไฟไหม้โรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติกบริษัท หมิงตี้เคมิคอล จำกัด ซอยกิ่งแก้ว 21 ถ.กิ่งแก้ว ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
- 19 มิ.ย.64 เวลา 14.00 น.ไฟไหม้โรงงานพลาสติก บริษัท สุภาภรณ์พลาสติก จำกัด ถนนบางบอน 5 แขวงบางบอนเหนือ กทม.
- 16 พ.ค.64 ไฟไหม้โรงงานพลาสติก ถ.สุขาภิบาล 5 แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม.
- 1 ก.พ.64 ไฟไหม้โรงงานพลาสติกย่านสาธุประดิษฐ์ กทม.
2.ทำไมไฟไหม้จึงเกิดขึ้นบ่อยกับโรงงานรีไซเคิลพลาสติกและผลิตพลาสติกมากในช่วงนี้ สาเหตุที่สำคัญคืออะไร?
2.1.โรงงานรีไซเคิลพลาสติกส่วนใหญ่จัดตั้งนักลงทุนจากต่างประเทศโดยนำขยะพลาสติกจากต่างประเทศเข้ามารีไซเคิลและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกในราคาถูกจำหน่ายในและต่างประเทศ โรงงานรีไซเคิลพลาสติกเหล่านี้สามารถจัดตั้งได้โดยง่ายโดยใช้คำสั่งคสช.ฉบับที่ 4/2559 ที่กำหนดให้โรงงานรีไซเคิลขยะตั้งได้โดยยกเว้นผังเมือง กล่าวคือ เปิดโอกาสให้ตั้งในพื้นที่ใดก็ได้ไม่มีข้อยกเว้นด้านผังเมือง จึงเกิดโรงงานเหล่านี้ขึ้นในทุกพื้นที่ทั้งในภาคตะวันออก ภาคกลาง และ กทม. สามารถนำเข้าขยะพลาสติกเข้ามารีไซเคิลในประเทศไทยได้ ส่วนสาเหตุที่ไม่นิยมใช้ขยะพลาสติกในประเทศไทยเพราะคุณภาพไม่ดี ไม่สะอาดต้องไปล้าง อีกครั้งรวมทั้งไม่ได้ถูกย่อยมาด้วย แต่หากเป็นขยะพลาสติกจากต่างประเทศจะมีข้อกำหนดชัดเจนและราคาไม่แพง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นถังขยะโลก..
2.2.วันที่ 25 ม.ค.64 “คกก.นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก” ปรับนโยบายไม่ประกาศยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกตามมติในปี 2561 แต่ตั้งเป้าจะห้ามนำเข้าในอีก 5 ปีข้างหน้า คือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.69 เป็นต้นไป
2.3.โรงงานรีไซเคิลพลาสติกในประเทศไทยตั้งได้ง่าย มีจำนวนมาก นำขยะพลาสติกหรือชื่อใหม่คือเศษพลาสติกราคาถูกเข้ามาได้ง่าย จึงสะสมไว้ในปริมาณมากในคลังสินค้า แต่ในช่วงปี 64 เกิดโควิด 19 ระบาดในประเทศไทย เศรษฐโลก และของไทยตกต่ำมาก ราคาพลาสติกไม่ดี ขายในประเทศไม่ค่อยได้ ทำให้เศษพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกมีปริมาณมาก จึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อระบบความปลอดภัยหย่อนยานก็เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย อีกประเด็นที่น่าคิดคือ เมื่อโรงงานเกิดภาวะขาดทุนจึงอาจจะเกิดการเผาเพื่อหวังผลประโยชน์อื่นๆ หรือไม่..
3.รัฐบาลต้องมีนโยบายยกเลิกการส่งเสริมการนำเข้าขยะพลาสติกจากนอกประเทศเข้ามารีไซเคิลในประเทศอย่างจริงจัง และควรกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งโรงงานรีไซเคิลในประเทศโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย ของพนักงานและประชาชนโดยรอบให้มากขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยเช่นในปัจจุบัน...
ภาพจากเพจ sonthi kotchawat