“เชื่อถือไม่ได้” นี่เป็นภาพจำที่สื่อของอินเดียมักทิ้งไว้ให้โลกภายนอกเป็นประจำ ไม่กี่วันมานี้สื่อบางสำนักของอินเดียต่างประโคมข่าวกันยกใหญ่ว่าทหารจีนข้ามเขตแดนและถูกจับใกล้กับแนวเส้นควบคุมแท้จริง (Line of Actual Control) บริเวณทางตอนใต้ของทิเบต ทางการจีนก็ได้ปฏิเสธข่าวลือนี้ทันที หลังจากเกิดการปะทะระหว่างทหารจีนและทหารอินเดียขึ้นบริเวณหุบเขากัลวานเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมานั้น สื่ออินเดียก็ได้รายงานข่าวปลอมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทหารจีนหลายครั้ง อีกทั้งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังได้เผยแพร่ข่าวที่ว่าโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นเป็นการรั่วไหลของ “อาวุธชีวภาพของจีน” ตัวอย่างข่าวในลักษณะเช่นนี้มีอีกนับไม่ถ้วน ทำไมจึงทำอย่างนี้หรือ? เพื่อผลกำไรอย่างไร้ยางอายหรือไม่มีความเป็นมืออาชีพ หรือว่าสื่ออินเดียวเพียงแค่เป็น “สื่อกลาง” ให้กับใครบางคนผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงกันแน่? เหตุผลมันซับซ้อนยิ่งนัก อย่างไรก็ตาม สามารถมั่นใจได้ว่าการที่อินเดียยอมให้มีข่าวปลอมเกี่ยวกับจีนเผยแพร่ได้อย่างหน้าตาเฉย ซึ่งความร้ายแรงของการทำนี้จะไม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียเพียงเท่านั้น
เจาะจงประเด็นปัญหา:ปัญหาชายแดน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถาน กับดักหนี้……
ความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดียบริเวณชายแดนแนวเส้นควบคุมแท้จริงมีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 17 เดือนแล้ว และระหว่างนั้น อินเดียได้สร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับปัญหาชายแดนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบรรยายชายแดนให้มีความตรึงเครียด และปลุกปั่นอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนอินเดียต่อปัญหาชายแดนเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเหตุการณ์ล่าสุดที่ผ่านมาก็คือ ช่วงก่อนการเจรจาระดับผู้บัญชาการทหารระหว่างจีนและอินเดียครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม สื่อบางสำนักของอินเดียต่างประโคมข่าวกันยกใหญ่ที่ว่าทหารจีนข้ามเขตแดนและถูกจับใกล้กับแนวเส้นควบคุมแท้จริง (Line of Actual Control) บริเวณทางตอนใต้ของทิเบต ทางการจีนก็ได้ปฏิเสธข่าวลือนี้และเปิดเผยข่าวจริงที่เกิดขึ้นนั้นทันที ทั้งนี้ผู้ใช้ชื่อ “钧正平” (Jun Zhengping) โพสต์ข้อความลงบนเพจทางการกองทัพปลดแอกของจีนใน Weibo ว่า “ดูเหมือนว่าสื่ออินเดียชอบสร้างข่าว ปลุกปั่นเกี่ยวกับปัญหาชายแดนจีน-อินเดียเป็นอย่างมาก การกระทำแบบนี้เป็นการให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวอย่างไม่ต้องสงสัย และหวังว่าต่อจากนี้สื่ออินเดียจะให้ความสำคัญกับจรรยาบรรณมากกว่านี้”
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศระหว่างจีนและอินเดียเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ฉะนั้น จีนได้กลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักในการสร้างข่าวปลอมของสื่ออินเดีย หัวข้อข่าวของสื่ออินเดียที่มีต่อจีนนั้นค่อนข้างเป็นข่าวเจาะจงและเชิงลบ นอกจากประเด็นปัญหาชายแดนที่ได้กล่าวถึงแล้ว ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ที่เป็น “ปฏิปักษ์” เช่น การละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของบริษัทและบุคลากรของจีนในอินเดีย การจารกรรมและการข้ามชายแดนผิดกฎหมาย และประเด็นปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับทิเบต นอกจากนี้สื่ออินเดียก็ยังกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจของจีนและผลกระทบที่มีต่อประเทศของตน
ไม่กี่วันมานี้ หลิ่ว จงยี่ เลขาธิการศูนย์ศึกษาจีนและเอเชียใต้ สถาบันการศึกษาปัญหาระหว่างประเทศเซี่ยงไฮ้ ได้เขียนบทความวิเคราะห์ว่า อินเดียยังคงใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ อาทิ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับปากีสถาน สร้างข่าวลือว่าโครงสร้างพื้นฐานของจีนไม่โปร่งใส และก่อให้เกิดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมาอย่างต่อเนื่อง หลิ่ว จงยี่ ยังกล่าวถึงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สื่ออินเดียยังได้เผยแพร่ข่าวที่ว่าโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นเป็นการรั่วไหลของ “อาวุธชีวภาพของจีน” ทั้งนี้คณะกรรมการนักกฎหมายระหว่างประเทศและเนติบัณฑิตยสภาของอินเดียร่วมกันส่งคำร้องถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวหาว่าโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19ได้รับการพัฒนาจากแลปในอู่ฮั่น และเรียกร้องให้รัฐบาลจีนจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่า “การรั่วไหลของอาวุธชีวภาพ” และ “ทฤษฎีการชดเชยของจีน” นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นนักวิชาการ สื่อและกลุ่มนักกฎหมายของอินเดียเป็นผู้สนับสนุนเป็นพวกแรกๆ เลยก็ว่าได้
หลากหลายสาเหตุ :หาผลกำไร ขาดความสามารถทางอาชีพ และเป็น “สื่อกลาง” ให้กับผู้อื่น
สื่ออินเดียส่วนใหญ่เป็นของเอกชน เพื่อความอยู่รอดและผลกำไร ข่าวของพวกเขาจึงต้องเป็นที่ “สะดุดตา” ฉะนั้นการหา “ผลกำไร” เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สื่ออินเดียผลิตข่าวปลอมขึ้นมากมาย Prabhakar Kumar สมาชิกของ CMS องค์กรวิจัยสื่อของอินเดียเคยวิเคราะห์ว่า สื่อบางสำนักของอินเดียมักเผยแพร่ข่าวปลอมเป็นเพราะพวกเขาไม่มีการตรวจสอบข่าว และขั้นตอนการรวบรวมและรายงานข่าวสถานีโทรศัพท์และหนังสือพิมพ์ไม่มีมาตรฐาน ตัวอย่างข่าวที่ถูกเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายก็คือ บัญชี Twitter บางบัญชีปลอมแปลงบัญชีให้คล้ายกับกระทรวงสาธารณสุขของปากีสถานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และข่าวลักษณะเช่นนี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งข่าวในการรายงานข่าวของสื่ออินเดียมาอย่างต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ของอินเดียส่วนใหญ่ขาดความสามารถทางอาชีพ ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ความเป็นจริงของข่าวและความสามารถในการสืบค้นข้อมูลข่าวเชิงลึก
พรรคภารตียชนตา พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลของอินเดีย ณ ขณะนี้มีชุดกลไกในด้าน “การต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อของจีน” โดยโจมตีและทำลายชื่อเสียงของจีนด้วยการเผยแพร่ลงบนหนังสือ สำนักข่าว คลังความคิด นักวิชาการและช่องทางอื่นๆ ในช่วงที่พรรคภารตียชนตาทำหน้าที่บริหารประเทศ โดยเฉพาะช่วงการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีโมดี สมัยที่ 2 จีนได้กลายเป็นเป้าหมายเพื่อเบี่ยงเบนความขัดแย้งภายใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของอินเดียตกต่ำเป็นอย่างมาก รัฐบาลอินเดียเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถต่อสู้กับโรคระบาดได้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว กระแสเกี่ยวกับปัญหาพรมแดนจีน-อินเดียสามารถปลุกระดมลัทธิชาตินิยมในอินเดียและเบี่ยงเบนความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลอินเดีย
ผลกระทบเชิงลบ:ความสัมพันธ์จีน-อินเดียได้รับกระทบ ยากต่อการรักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของตนเอง
ผลการศึกษาหลายชิ้นได้ชี้ว่า ความรู้สึกทางชาตินิยมในอินเดียเป็นสาเหตุหลักของการแพร่กระจายข่าวปลอมในประเทศ ประการแรกคือ ผู้สื่อข่าวของอินเดียเข้าใจเกี่ยวกับจีนน้อยมาก อีกประการหนึ่งคือ พวกเขาได้รับอิทธิผลในด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ เช่น ด้านการเมือง ความรู้สึกทางชาตินิยม รัฐบาล และผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจ ดังนั้นข่าวที่ผู้สื่อข่าวเขียนและรายงานมีเนื้อหาที่ไม่ตรงตามความจริงเป็นจำนวนมากและมีความน่าเชื่อถือต่ำเป็นอย่างยิ่ง
ประชากรส่วนใหญ่ของอินเดียมีข้อจำกัดทางด้านระดับการศึกษา ไม่เคยออกนอกประเทศ ดังนั้นมีเพียงสื่อและสื่อสังคมบนอินเตอร์เน็ตเท่านั้นที่พวกเขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจประเทศจีนได้ ซึ่งยากที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นจริง ส่งผลให้พวกเขาเชื่อในสิ่งที่สื่ออินเดียกล่าวหาจีนใน”เชิงลบ”มากยิ่งขึ้นทุกวัน “พูดได้เลยว่า ในสายตาของคนอินเดีย ระดับการพัฒนาของจีนยังคงอยู่ในทศวรรษ 1970 เท่านั้น”
การสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับจีนของสื่ออินเดียทำให้ชาวอินเดียจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิด ทำให้พวกเขามีความต้องการในการเสพข่าวเชิงลบที่เกี่ยวกับจีนมมากขึ้น จึงเป็นสิ่งผลักดันให้สื่ออินเดียตอบสนองต่อความต้องการและสร้างเนื้อหาข่าวที่เหมาะสมกับรสนิยมของผู้คนเหล่านั้น กระทำเช่นนี้ทำให้เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียเท่านั้น ยังส่งผลต่อความน่าเชื่อและชื่อเสียงระหว่างประเทศของตนเองอีกด้วย
ปรากาช จวาเดการ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวอินเดีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการแพร่ภาพกระจายเสียงช่วงสั้นๆได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า “เสรีภาพของสื่อคือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และคือคำสัญญาของรัฐบาลโมดี แต่ทุกคนต้องยอมรับว่าเสรีภาพที่ได้มาเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ” อย่างไรก็ตาม ศกุนตลา บานาจิ ศาสตราจารย์ด้านสื่อของวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน เชื่อว่า รายงานส่วนใหญ่ของสื่ออินเดียนั้น “ไม่มีร่องรอยของความจริงหรือความรับผิดชอบอยู่เลย”