เมื่อ ‘วิกฤตโควิด-19’ คือ ตัวสร้างความผันผวนของห่วงโซ่ธุรกิจ พนักงานทุกคน ก็เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ ‘ไปต่อ’ หรือ ‘พอแค่นี้’ หลายองค์กรต้องรู้จักปรับตัว Upskill และ Reskill เพื่อยกระดับการทำงานผสานทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เน้นให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสูด แต่บางครั้งแม้องค์กรส่วนใหญ่ดำเนินการด้วยกลยุทธ์และเครื่องมือใหม่ แต่กลับเกิดคำถามว่าทำไมประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงไม่เท่ากัน ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าไว้ สิ่งหนึ่งที่เราค้นพบ นั้นคือ บริษัทฯ เน้นการสร้าง Engagement ระหว่างองค์กรและพนักงานเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงทำเพียงเท่านั้นยังไม่พอ บริษัทฯ ต้องรู้จักศาสตร์การบริหารแรงจูงใจพนักงานคือ Employee Work Passion นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 ยาวนานขึ้น สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา บริษัทฯ และพนักงานทุกคนอาจเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานมากขึ้น จนเกิดภาวะช็อต หรือ ที่เราเรียกว่า ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ ซึ่งหลักๆ เป็นผลพวงจากความเครียดสะสมในการทำงานทั้งออฟฟิศและที่บ้าน อย่างการทำงานที่หนักต่อเนื่องเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วนล่าสุดที่บริษัทฯ ต้องหันมาใส่ใจต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานก่อนจะรุนแรงจนถึงขั้นหมดไฟในการทำงาน ซึ่งการสร้าง Engagement ระหว่างบริษัทฯ และพนักงานเป็นตัวช่วยหนึ่งที่เสริมสร้างความผูกพันในองค์กรได้ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่บริษัทฯ ต้องรู้ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของพนักงานแบบมีใจรักในการทำงาน (Employee Work Passion) ที่จะเสริมประสิทธิภาพของตัวพนักงานเองและสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรแบบทวีคูณ” SEAC ได้ร่วมกับ The Ken Blanchard Companies สถาบันชั้นนำด้านการพัฒนาผู้นำและบุคลากรระดับโลกประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครั้งนี้มาพร้อมงานวิจัยล่าสุด สำหรับผู้นำองค์กรและบริษัทฯ ในการบริหารพนักงาน กับ ‘Employee Work Passion’ โดยได้อธิบายว่า “ปัจจุบัน การมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร (Employee Engagement) เพียงแค่ทำให้งานเสร็จลุล่วงนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับองค์กร แต่ยังต้องอาศัยการสร้างพนักงานในรูปแบบ Passionate Employee ที่ไม่ได้เพียงแค่ทำงานให้สำเร็จลุล่วงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรักในงานที่ทำ และ “ความตั้งใจ” (Intention) ในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์สูงกว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อองค์กรและงานชิ้นนั้นให้ออกมาดีที่สุด และพร้อมที่จะเติบโตและผลักดันองค์กรให้ก้าวหน้าในฐานะฟันเฟืองหนึ่งขององค์กร” โดยจากการวิจัยจาก The Ken Blanchard Companies กับงานวิจัยเรื่อง Employee Work Passion Assessment (EWPA) เผยให้เห็นถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่หลากหลาย ที่ช่วยให้องค์กรสามารถปลดล็อค Passion ของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ - ปัจจัยทางด้านองค์กร ที่ช่วยสร้าง Passion ให้กับพนักงานได้ ได้แก่ งานที่ได้รับการแบ่งอย่างเท่าเทียม สามารถประเมินผลงานได้ และได้รับการตอบแทนอย่างถูกต้องตามผลงาน และการเติบโตในหน้าที่การงานนั้นเปิดกว้างและได้รับการสนับสนุน - ปัจจัยทางด้านเนื้องาน ที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานเกิด Passion ได้แก่ เนื้องานที่มีความหมาย แปลกใหม่มีปริมาณที่เหมาะสม และได้รับการประเมินคุณภาพของงาน - ปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ ภายในองค์กรที่ส่งผลให้เกิด Passion กับพนักงาน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับหัวหน้า หรือ กับเพื่อนร่วมงานที่อบอุ่น เปิดกว้างและให้การสนับสนุน การทำงานร่วมกันที่จริงใจต่อกัน การให้ฟีดแบ็กที่ตรงไปตรงมาและส่งเสริมกับการทำงานให้พัฒนาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ต้องเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานมากขึ้น โดยมี 8 หัวใจหลักที่พนักงานมองหาจากบริษัทฯ ระหว่างที่ยังคงสภาวะพนักงาน คือ Meaningful Work การรับรู้ภาพรวมขององค์กรและนำมาเปรียบเทียบกับงานที่ได้ปฏิบัติ ว่าผลงานที่ออกมานั้นมีความสำคัญ มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายหรือไม่ Autonomy ความอิสระในการทำงานหรือขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ Collaboration การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ เกิดการประสานงานในการทำงาน ทำให้สอดคล้องกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างทีมงาน เพื่อให้เป้าหมายหลักที่มีร่วมกันขององค์กรเสร็จสมบูรณ์ Fairness ความเป็นธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ Recognition การยอมรับหรือยกย่องในผลงานและการกระทำของพนักงาน Career Growth การเติบโตในหน้าที่การงาน Connectedness to Colleagues การสร้างสัมพันธ์หรือความสนิทสนมกับพนักงานคนอื่นๆ และ Connectedness to Leader การสร้างสัมพันธ์หรือซื้อใจระหว่างเราและหัวหน้างานหรือผู้บริหารของบริษัทฯ และเมื่อบริษัทฯ เข้าใจความต้องการของพนักงานมากขึ้นย่อมส่งผลเชิงบวกให้กับสภาพจิตใจของพนักงานเป็นอย่างดี และส่งผลสอดคล้องเพื่อชะลอปัญหา ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ ที่อาจเกิดขึ้นแถมช่วยสร้าง Passionate Employee อีกด้วย เปิดประตูเพื่อปูทางสู่ความสำเร็จและขจัดปัญหา ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ และสร้าง Passion ให้เกิดในตัวพนักงาน สู่การสร้างผลลัพธ์ของงานที่มีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://zfrmz.com/Sos4B7d4keWHSc5mPDNT