รู้หรือไม่ว่าทุก ๆ วัน มีผู้ป่วยด้วยอาการมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นถึงวันละ 27 คน หรือคิดเป็น 10,000 คนต่อปี และเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนี้มาถึงวันละ 14 คน ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยหากพูดว่ามะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นโรคร้ายที่อันตรายและใกล้ตัวกว่าที่คิด วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับเกี่ยวกับการสังเกตอาการมะเร็งปากมดลูกมาฝากสาว ๆ ให้ได้สังเกตตัวเองกันอย่างต่อเนื่อง หากพบอาการเบื้องต้น จะได้รีบเข้ารับการตรวจและรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการมะเร็งปากมดลูกสังเกตได้อย่างไรบ้าง มาดูพร้อม ๆ กันเลย อาการที่สังเกตได้ในช่วงระยะเริ่มต้นของโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องบอกโดยตรงว่าในทางการแพทย์นั้น มักจะพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น ซึ่งทางที่ดีที่สุดคือต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีทางการแพทย์ ซึ่งในปัจจุบันนี้นั้นจะใช้วิธีการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) ซึ่งเป็นการตรวจภายใน และมีการแนะนำว่าผู้หญิงทุกคน อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อติดตามผลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง อาการมะเร็งปากมดลูกช่วงแรก ในช่วงแรกที่มีอาการมะเร็งปากมดลูก จะสามารถสังเกตได้จากการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งมีทั้งรูปแบบของเลือดที่ออกมาระหว่างเดือนแบบกะปริบกะปรอย รวมถึงการมีประจำเดือนที่มากหรือน้อยกว่าปกติ ในวัยทองจะมีเลือกออกทางช่องคลอดบางครั้ง หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้อาการตกขาวผิดปกติเองก็เป็นหนึ่งในอาการมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน หากมีอาการเหล่านี้ก็สามารถไปทำการตรวจได้ เพื่อรักษาตั้งแต่ต้น มีอาการปวดหลัง ปวดก้นกบร่วมด้วย เมื่อมีอาการมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นเป็นเวลานานและยังไม่ได้รับการรักษา อาการจะเริ่มมีมากขึ้น และแสดงออกเป็นรูปแบบของอาการปวดหลัง ปวดก้นกบ ในบางรายอาจจะมีอาการปวดบริเวณหลังล่าง และร้าวลงไปถึงขาได้ ถ้าหากมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น และส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายได้ จนถึงขั้นเกิดปัญหาในการขับถ่ายและอาจก่อให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้ มะเร็งปากมดลูก หากตรวจเจอแล้วรักษาอย่างไรได้บ้าง? สำหรับผู้ที่มีอาการมะเร็งปากมดลูก หรือคิดว่าตัวเองอาจจะเป็นโรคนี้ และอยากทราบเกี่ยวกับการรักษาก่อนที่จะไปพบแพทย์ เราก็มีข้อมูลมาให้ด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันนี้นั้นการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกมีทั้งการรับประทานยา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละผู้ป่วยก็จะมีวิธีรักษาและแผนการรักษาที่แตกต่างกันออกไป