เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 ก.ย. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผบช.น. โฆษกบช.น. เปิดเผยว่า กรณีที่มีการนัดหมายชุมนุมผ่านช่องทางออนไลน์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีกลุ่มหลักมีการนัดหมายรวมตัวกันในห้วง 23 – 26 กันยายน 2564 ดังนี้ ในวันที่ 23 - 26 กันยายน 2564 กลุ่มทะลุแก๊สรวมตัวที่สามเหลี่ยมดินแดง/ ส่วนวันที่ 25 กันยายน 2564 กลุ่มทะลุฟ้าได้นัดหมายรวมตัว โดยยังไม่มีการระบุเวลาและสถานที่ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด /ส่วนวันที่ 26 กันยายน 2564 กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดหมายเวลา 16.00 – 19.00 น. ที่ลานหน้าหอศิลป์/ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขอเตือนว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่ประกาศ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การชุมนุมหรือรวมกลุ่มทากิจกรรมที่มีลักษณะเสี่ยงต่อการ แพร่โรค จะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 10 ลง 31 สิงหาคม 64 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ อีกส่วนหนึ่ง โดยทาง บช.น. ได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตารวจเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของ บ้านเมืองไว้แล้ว พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า จากการชุมนุมในวันที่ 22 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ของกลุ่มทะลุแก๊ส ที่แยกดินแดง เวลา 18.20 น. เริ่มมีการนำยางรถจักรยานยนต์มาเผาบริเวณบน ถ.วิภาวดีขาออก และมีการนำป้าย มาผูกขวางถนนบริเวณใต้ทางด่วน/ เวลา 20.30 น. มีการนำแผงเหล็กปิดกั้นการจราจร และ จุดไฟเผาทรัพย์สินบริเวณใต้ทางด่วน ทำให้กีดขวางการจราจร และประชาชนในละแวกได้รับ ความเดือดร้อน/ เวลา 21.20 – 23.00 น. มีการขว้างปาประทัด ยิงหนังสติ๊ก พลุไฟ ระเบิดต่างๆเป็นระยะๆเพื่อยั่วยุเจ้าหน้าที่บริเวณฝั่งถนนมิตรไมตรีและหน้ากรมดุริยางค์ทหาร / เวลา 23.20 น. ได้มีกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายดังกล่าวบางส่วนทำการฉีดสีสเปรย์ใส่เกาะกลางถนนวิภาวดีขาเข้าเป็นเหตุให้มีทรัพย์สินสาธารณประโยชน์เสียหาย /นอกจากนั้นตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน ตั้งแต่เวลา 00.30 – 02.40 น. ยังมีกลุ่มฯ ผู้ก่อเหตุขีบรถจักรยายนต์จำนวน15-20คัน ตระเวนทุบทาลายและเผาป้อมจราจร อีกจำนวน 6 จุด ได้แก่ สน.บางซื่อ 3 จุด ที่แยกสะพานควาย ,แยกประดิพัทธิ์ และด่วนระนอง สน.ลุมพินี 1 จุด ที่แยก ราชประสงค์ และสน.พญาไท 1 แห่ง คือ แยกอุรุพงษ์ และ สน.มักกะสัน 1 จุด ที่แยกมิตรสัมพันธ์ ซึ่งจะได้สืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานหาตัวผู้กระทาผิดมาดำเนินคดีต่อไป ซึ่งการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวเป็นความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ (ป.อาญา ม.215) ,เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุม เลิกแล้วไม่เลิก (ม.216), วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น (ม.217) ,ทำให้เสียทรัพย์ (ม.358), ฝ่า ฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ออกนอกเคหสถานในเวลาห้าม (21.00 – 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น) และความผิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกด้วยว่า จากกรณีที่มีเพจเฟสบุ๊ค “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ได้โพสต์ข้อความ เชิญชวนให้มาร่วมชุมนุมในวันที่ 1,2,7 และ 10 สิงหาคม 2564 แล้วทำให้มีผู้ออกมา ชุมนุมและก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองนั้น เจ้าหน้าที่ตารวจจึงได้รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขอให้ศาลออกหมายจับแอดมินเพจดังกล่าว จำนวน 2 คน จับกุมตัวไปก่อนหน้านี้แล้วเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 จำนวน 1 คน และต่อมาในวันที่ 22 กันยายน 2564 เวลา ประมาณ 12.45 น. ได้ทำการจับกุมเพิ่มอีก 1 คน คือ น.ส.ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1506/2564 ในความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(3) นาเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ และตาม ป.อาญา มาตรา 116(3) ยุยงปุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน นำส่งพนักงานสอบสวน ดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยทาง บช.น. จะดำเนินการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ในบ้านเมืองมาดำเนินคดีตามกฎหมายทุกราย ซึ่งหากเยาวชนได้กระทาความผิด ผู้ปกครองอาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ด้วยเช่นกัน ส่วนการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2564 ที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 220 คดี มีผู้ต้องหาทั้งหมด 808 คน ติดตามจับกุมตัวได้แล้ว 563 คน พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า มีผู้ต้องหาบางส่วนกระทำผิดซ้ำ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผบช.น. สั่งการฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวน โดยฝ่ายสอบสวนไปดำเนินการทำความเข้าใจหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมราชทัณฑ์ สภาทนายความ ส่วนกรณีไปเยาวชนก่อเหตุนั้น ต้องมีการทำความเข้าใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนต้องมีสหวิชาชีพมาสอบปากคำ อาจถูกชักจูงมากระทำความผิดได้ การจับกุมที่ผ่านมาเด็กมีการกระทำผิดลดลงเหลือเพียงผู้ใหญ่ ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ว่าตำรวจปล่อยให้ก่อเหตุตำรวจสามารถดูแลได้หรือไม่นั้น พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า มั่นใจว่าตำรวจเอาอยู่ทั้งมาตรการบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำผิดแต่ละกลุ่ม ทางตำรวจมีมาตรการตามปกติเพื่อวางมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อย เมื่อสามเหลี่ยมดินแดงก่อเหตุได้น้อยลงจึงเปลี่ยนไปจุดอื่น เมื่อได้รับคงามร่วมมือจากประชาชนผู้ก่อเหตุไม่สามารถก่อเหตุได้จึงเปลี่ยนไปก่อเหตุที่อื่นจึงต้องมีมาตรการติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุดำเนินคดีตามกฎหมาย