จากกระแสการหวั่นวิตกกรณีบริษัทประกันภัยที่รับประกันโควิดเจอจ่ายจบ กำลังเผชิญกับภาวะะวิกฤตจ่ายเคลมค่าสินไหมสูงในปีนี้เป็นประวัติการณ์​ จนบางแห่งอาจขาดสภาพคล่องต้องหาเงินมาเติมเพิ่มทุน​ มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้พี่น้องประชาชนที่ซื้อประกันโควิดเจอจ่ายจบพากันเดือดร้อน​เนื่องจากไม่ได้รับเงินค่าสินไหม ซึ่งค่าสินไหมจ่ายแต่ละบริษัทมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว โดยสินไหมที่บริษัทจ่ายต่อวันสำหรับประกันโควิดขณะนี้มีลูกค้ามาเบิกและบริษัทจ่ายออก แต่ละวันไม่ต่ำกว่าวันละ10ล้านบาททีเดียว หากสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังยืดเยื้อและไม่ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงจากตัวเลขหลักหมื่นคนต่อวันในณ​ ปัจจุบัน ก็ยิ่งอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า​ ถึงสถานการณ์ล่อแหลม​ ที่ว่า​จะมีบริษัทประกันภัยรายใดรายหนึ่งประสบปัญหาปิดกิจการลงอาจเป็นได้ แน่นอนสิ่งที่เหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ​ พระเอกของวงการนี้ที่จะออกมากอบกู้วิกฤตนั่นก็คือ​ กองทุนประกันวินาศภัยที่จะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทประกันที่ล้มหรือปิดกิจการลงไปในอดีตที่ผ่านมา​ ซึ่งทางการใช้เป็นที่พึ่งสุดทายเยียวยาผู้เอาประกันในฐานะเจ้าหนี้บ.ประกันล้ม โดยสถานะของกองทุนณ ปัจจุบันจะมีเงินเหลือพอจ่ายหรือไม่ในวันนี้​ หากสมมุตเกิดมีบริษัทประกันรายใดรายหนึ่งล้มหรือปิดกิจการลงเกิดขึ้น ต่อเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความชัดเจนจากนางวราภรณ์ วงศ์พินิจวโรดม ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย ได้รับการเปิดเผยว่า​ ขณะนี้จำนวนเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัยส่งสมทบเข้ากองทุนประกันวินาศภัยมาตั้งแต่ปี 2551 จนเหลือถึงณ เดือนกันยายน(ปัจจุบัน) มีจำนวนทั้งสิ้นอยู่ที่ประมาณ 5,700 ล้านบาท โดยในจำนวนเงินก้อนดังกล่าวนี้จะคงเหลืออยู่ประมาณ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งกองทุนสามารถนำเอาไปใช้จ่ายเยียวยาให้กับผู้เอาประกันที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทประกันวินาศภัยในกรณีหากเกิดปัญหาบริษัทประกันดังกล่าวมีอันต้องปิดกิจการลงจากประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จนไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมประกันโควิด-19 ได้ ทั้งนี้เนื่องจากในส่วน 2,700 ล้านบาท เป็นเงินที่จะต้องเก็บไว้รอการจ่ายให้กับเจ้าหนี้ของบริษัทประกันที่ปิดกิจการลงไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ดังกล่าวยังไม่เข้ามารับเงินจากองทุน โดยเงินที่จะต้องจ่ายคืนดังกล่าวเป็นภาระหนี้ของผู้เอาประกันที่ยื่นไว้กับกองทุนตั้งแต่ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ฉบับที่ 3 พ.ฅ.2558 เป็นต้นมา ทั้งนี้ในจำนวนภาระหนี้ 2,700 ล้านบาทที่กองทุนรอการจ่ายไว้นั้น ประกอบด้วย 1.เจ้าหนี้ของบริษัทเจ้าพระยาประกันภัยที่ปิดกิจการลงไปเมื่อปี 2561 ซึ่งบอร์ดกองทุนประกันวินาศภัยได้อนุมัติให้ทำการจ่ายเจ้าหนี้ไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ยังไม่เดินทางติดต่อเข้ามารับ ซึ่งมีถึงจำนวนประมาณ 3,000 ราย คิดเป็นเงิน 55 ล้านบาท ในขณะที่เรื่องที่อยู่ระหว่างพิจารณาของเจ้าหน้าที่กองทุนอีก 6,300 ราย คิดเป็นเงิน 265 ล้านบาท 2.เจ้าหนี้สัจจะประกันภัยที่ปิดกิจการลงไปแล้ว ซึ่งบอร์ดกองทุนฯได้พิจารณาอนุมัติแล้ว แต่ไม่มารับจำนวน 2,700 ราย คิดเป็นเงิน 39 ล้านบาท และเรื่องอยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่พิจารณาอีก 970 ราย คิดเป็นเงิน 115 ล้านบาท 3.เจ้าหนี้บริษํทสัมพันธ์ประกันภัย ซึ่งบอร์ดกองทุนอนุมัติให้จ่ายแล้ว และยังไม่มารับ 3,600 ราย เป็นเงิน 103 ล้านบาท และอยู่ระหว่างพิจารณาตกค้างอยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ดำเนนการ 2,700 ราย เป็นเงิน 850 ล้านบาท 4.เจ้าหนี้บริษัทเอพีเอฟ อินเตอร์แนชชันแนล ซึ่งบอร์ดกองทุนอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่มารับ 997 ราย เ(ป็นเงิน 6 ล้านบาทเศษ โดยมีเรื่องตกค้างอยุ่จนท.พิจารณาขณะนี้ 3,700 ราย เป็นเงิน 261 ล้านบาท ส่วนที่ยังเหลือที่อยู่กรมบังคับคดีและผู้ชำระบัญชีอีก 4 บริษัท อันได้แก่ บริษัทวิคตอรีประกันภัย บริษัทส่งเสิรมประกันภัย บริษัทยู่เนียนอินเตอร์ประกันภัย และบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัย ซึ่งหากเมื่อรวมเบ็ดเสร็จแล้วคิดเป็นทั้งสิ้น 2,700 ล้านบาท ทั้งนี้จากการสอบถามผู้สันทัดกรณีย์และเกจิคว่ำหวอดอยู่กับวงการประกันภัย​ และได้เห็นบริษัทประกันล้มหายตายจากมาบริษัทแล้วบริษัทเล่า​ ให้ทรรศนะว่า​ เงินก้อนดังกล่าวจำนวน3,000ล้านบาท​ อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการเยียวยาผู้เอาประกันในฐานะเจ้าหนี้อย่างแน่นอน​ หากกรมธรรม์ประกันโควิดดังกล่าวยังมีภาระผูกพันอันเนื่องจากความคุ้มครองที่เหลืออยู่ในกรมธรรม์ประกันโควิดอีกนานหลายเดือนทีเดียว​ ซึ่งยังไม่มีใครทราบชะตากรรมได้ว่า​ อาจจะเกิดจำนวนเคลมของผู้ติดเชื้ออีกมากน้อยเพียงใด​ขึ้นในอนาคต หากเกิดการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์​ใหม่ โดยเฉพาะในห้วงของรัฐบาลมีความพยายามเปิดประเทศให้ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ​ ซึ่งโอกาสเสี่ยงติดเชื้อระลอกใหม่ย่อมมีโอกาสสูงไม่น้อยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องจับตากันดูว่า​ หากสมมุติบริษัทประกันรายใดรายหนึ่งเกิดไปต่อไม่ไหว​ ทางการจะเลือกวิธีการไหนเป็นทางออก​กู้วิกฤติ ระหว่างการใช้วิธีเดิมๆให้สมาคมประกันฯหาบริษัทมารับโอนกรมธรรม์ที่ยังมีผลระยะเวลาคุ้มครองอยู่​ เช่นในอดีตที่เวลามีบ.ประกันล้ม ก็จะมีบ.ประกันต่างๆเข้ามารับช่วงในการรับโอนลูกค้าประกันรถยนต์ของบริษัทประกันที่ล้มมาดูแล​ แต่วิธีการนี้ดูจะค่อนข้างลำบากเพราะคงจะหาบริษัทรายไหนที่จะเป็นพระเวชสันดรใจบุญเมตตาขนาดนั้น​ เนื่องจากอาจฉุดบริษัทตัวเองดิ่งเหวไปด้วยกับความเสี่ยงจากระบาดไวรัสโควิดสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ๆจากการเปิดประเทศของทางการ หรือว่าทางการจะใช้วิธีการยกเลิกกรมธรรม์หรือยุติความคุ้มครองไปทันทีทันใดโดยปริยาย​ แล้วให้กองทุนคุ้มครองประกันวินาศภัยเป็นผู้จ่ายคืนเบี้ยในส่วนที่เหลือคืนให้กับปชช.ไป​ ซึ่งวิธีการนี้ก็จะทำให้กองทุนฯต้องแบกภาระในส่วนนี้้เพิ่ม แต่ปัญหาก็คือกองทุนจะหาเงินจากที่ไหนมาจ่ายคืน ซึ่งก็น่าเสียดายหากก่อนหน้านี้มีการเปิดช่องกม.ให้กองทุนดังกล่าวสามารถกระทำได้​ เช่นการออกตราสารหนี้ได้​ หรือไปกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือแม้แต่บริษัทประกันที่มีเงินออมระยะยาวมาก้อนหนึ่ง​เพื่อมาใช้ด้วยเหตุผลทำนองสถานการณ์วิกฤตินี้เฉพาะ แล้วกองทุนฯค่อยทยอยใช้คืนด้วยการนำเงินสมทบที่เรียกเก็บสมทบเอาจากบริษัทประกันในแต่ละเดือนแต่ละปีมาคืน​เงินกู้และดอกเบี้ยได้ ก็น่าจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ลงได้ระดับหนึ่ง​ โดยเชื่อว่าบริษัทประกันที่มีพอรต์โฟลิโอเงินลงทุนเยอะๆก็น่าจะสนใจและเอาด้วยเพราะอย่างน้อยๆก็เป็นช่องทางลงทุนในยุคที่พันธบัตรและตราสารการลงทุนให้ดอกเบี้ยผลตอบแทนที่ดีค่อนข้างหายาก