สำหรับการรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับแผนการใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ เพื่อรักษาผู้ป่วยในไทย โดย ราชวิทยาลัยยจุฬาภรณ์ ได้ระบุว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดหาและกระจาย ยารักษาโควิด ซึ่งช่วงแรกที่เกิดการระบาดโควิด19 ก็ได้มีการจัดหายาเพื่อใช้ในการรักษาคือ ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่มีทั้งแบบยาเม็ด และยาน้ำสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ ต่อมาก็ได้จัดหายาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) โดยในประเทศไทยมีการใช้ 2 ชนิด จึงเรียกว่าแอนติบอดีค็อกเทล (Antibody Cocktail) ซึ่งเป็นยาตัวแรกที่ทาง อย.ไทยได้ให้การรับรองใช้ในภาวะฉุกเฉิน เป็นการสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเข้าไปจับไวรัสทำให้ไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นหากมียาชนิดนี้รักษาในระยะต้น เมื่อเริ่มมีอาการจะทำให้คนผู้ติดเชื้อหายได้เร็วขึ้น ไม่มีอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิต ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อโควิดก็จะช่วยให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น ไม่เกินศักยภาพต่อระบบสาธารณสุข
วันที่ 21 ก.ย.64 คืบหน้าในเรื่องนี้ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ยาแอนติบอดีค็อกเทลมีข้อบ่งชี้การใช้ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคเรื้อรัง หรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นผู้ที่ตรวจพบการติดเชื้อ และมีอาการน้อย-ปานกลาง เมื่อแพทย์ประเมินแล้วมีความเสี่ยงอาการหนักหรืออาจะเสียชีวิต ก็จะให้ยาแอนติบอดีค็อกเทล โดยขณะนี้มีกระจายไปให้รพ.ต่างๆประมาณ 50% โดยแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด จะมีการจัดยาให้ตามข้อบ่งชี้ของยา เนื่องจากยามีอย่างจำกัด และยาชนิดนี้ไม่ได้อยู่ในการรักษาหลัก ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จึงมีค่าใช้จ่ายในการรับยา ซึ่งทางราชวิทยาลัยฯได้มีการจำกัดราคาของรพ.ในการนำยาไปรักษาประชาชน แต่ทั้งนี้ ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทางรพ.อาจจะคิดร่วมด้วย เช่น ชุด PEE เป็นต้น นอกจากนี้ไทยก็ได้มีการทำยาวิจัยยาแอนตี้ไวรัสตัวใหม่ๆที่อาจจะได้เห็นผลสำเร็จเร็วๆนี้