“ตัวแทนเยาวชนประเทศไทยได้ร่วมกันร่างปฏิญญาขึ้น แล้วนำเข้าสู่การพิจารณาของผู้แทนเยาวชนแต่ละประเทศ ในการประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 เพื่อขอคำรับรองก่อนประกาศเป็นปฏิญญาเยาวชนเอเชียแปซิฟิก ในการควบคุมยาสูบ โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการ 5 ประการ เน้นพลังเยาวชนเป็นฐาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสร้างสังคม ปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน โดยกลุ่มตัวแทนเยาวชนยังเชื่อว่าอนาคตที่ดีของพวกเขาคือการรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่” นนทกร ศิริวัฒนสาธร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกสมาพันธ์นิสิต นักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand) หนึ่งในเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่ได้เข้าร่วมการประชุม Youth Program of APACT 2021 กล่าวถึงสาระสำคัญของสารตั้งต้น ที่พัฒนาเป็นปฎิญญาต้านยาสูบของกลุ่มเยาวชนนานาชาติ นนทกร ศิริวัฒนสาธร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิก IFMSA-Thailand เขาบอกด้วยว่า ปฏิญญาว่าด้วยยาสูบหรือสุขภาพที่เยาวชนไทยร่างขึ้นมานั้นไร้ข้อกังขา เพราะกลุ่มเยาวชนจาก นานาประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ต่างให้การสนับสนุนและเห็นด้วยกับปฏิญญาที่จะให้วัยรุ่นมีบทบาทสำคัญในการต่อต้าน บุหรี่ เช่น ปราสาด เซเนกา ตัวแทนเยาวชนจากศรีลังกา กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของเยาวชนควรเป็นอันดับแรก เพราะเป้าหมายใหญ่ของการชักจูงเข้าสู่วงจรสูบบุหรี่คือพวกเขา พลังเยาวชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึง Mahadula Kumari ที่มองว่าการเสริมอำนาจให้กับชุมชนเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นเยาวชนเองที่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้ชุมชนบรรลุ เป้าหมายได้ หรือสามารถเปลี่ยนทัศนคติของชุมชนได้ ส่วน ศิริฤดี ฉันทชัยวัฒน์ ประธานคณะกรรมการเพื่อ สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ภายใต้สมาพันธ์ IFMSA-Thailand ระบุว่า เราสามารถร่วมมือกันในฐานะเยาวชนเพื่อต่อสู้ กับการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ และ Abu Rayhan แพทยศาสตร์มหาบัณฑิต บอกว่า จะใช้ความรู้ที่ได้จาก การประชุมในครั้งนี้ ในการเคลื่อนไหวการควบคุมยาสูบในประเทศของตนเอง ขณะที่ สุวินัย จิระบุญศรี นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิก IFMSA-Thailand เผยภายหลังเข้าร่วมประชุม Youth Program of APACT 2021 ว่า สิ่งสำคัญในปฏิญญา ที่ตัวแทนเยาวชนทุกประเทศ เห็นตรงกันว่า ควรให้เยาวชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในบอร์ด และองค์กรต่อต้านบุหรี่ ต่างๆ มากขึ้น ในลักษณะคณะกรรมการ เยาวชนหรือกลุ่มเยาวชน เพื่อร่วมพิจารณาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ ซึ่งจะช่วยให้ตามเกมบริษัทยาสูบได้ทัน เพราะพวกตนกำลังตกเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่บริษัทหมายตาให้กลายเป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งรู้ดีว่าการออกแคมเปญ เชิญชวนให้เข้าสู่วงจรยาสูบแบบไหน ที่จะได้ผลในกลุ่มวัยรุ่น จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอนี้ไปพิจารณา อย่างไรก็ตาม สุวินัย มองว่า ปัญหายาสูบกับเยาชนในประเทศไทย หรือในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก นั้นมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.ระดับนโยบาย ที่เยาวชนยังไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากนัก จึงควรให้เยาวชน เข้าไปมีส่วนร่วม ในทุกขั้นตอนของการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 2. การใช้เทคโนโลยี ในการปราบปรามและต่อต้านบุหรี่ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าบริษัทบุหรี่อาศัยความหลากหลายของเทคโนโลยี และการทำการตลาดแบบนิวเวิลด์ มาเก็ตติ้ง ในการต้อนเจเนอเรชั่นใหม่ให้เข้าสู่วงจรสูบบุหรี่ “ในวงเสวนา Youth Program of APACT 2021 มีการเสนอปัญหาเรื่องการขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ที่ขายกัน เกลื่อนมาก แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับตามไม่ทัน ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะ ที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ในส่วนที่เป็นออนไลน์ด้วยซ้ำ ยังไม่นับเรื่องการโฆษณาบนเฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าถึงคนได้วงกว้าง ตรงนี้ทำให้บริษัทบุหรี่ ทำการตลาดได้ดีขึ้น และเรายังตัดวงจรนี้ไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใช้ เทคโนโลยีไปปราบปรามให้ทัน” สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่ สุวินัย ต้องการเสนอให้รัฐรีบดำเนินการ คือจัดตั้งหน่วยงานกลางในลักษณะ เซ็นทรัลคอมมานด์ ซึ่งอาจเป็นการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าณรงค์เชิงรุกในการต้าน บุหรี่ ซึ่งตรงนี้ประเทศไทยมีศักยภาพพอที่จะทำได้ และการที่มีเซ็นทรัลคอมมานด์ จะทำให้มีการบังคับใช้ กฎหมายได้ดีขึ้น จากที่ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานไหนจะเป็นคนจัดการ ก็จะมีเจ้าภาพ และยังมีฐานข้อมูลที่เป็น ศูนย์รวมที่จะช่วยให้การปราบปราม ง่ายขึ้นมาก ส่วนเหตุผลที่เยาวชนต้องลุกขึ้นมาปกป้องสุขภาพของตัวเอง เพราะมีผลสำรวจทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศพบว่าเยาวชนจำนวนมากกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ และเยาวชนส่วนใหญ่ไม่เท่าทัน อันตรายจากยาสูบ ไม่เว้นแม้กลุ่มนิสิตนักศึกษาสาธารณสุขที่รู้โทษของยาสูบเป็นอย่างดี รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะ รองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ แพทยสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะ รองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ แพทยสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยข้อมูลการสำรวจการใช้ บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไทย เมื่อปี 2560 ของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 30 ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างน้อย 1 ครั้ง ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัยร้อยละ 60 เคยสูดบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมี ผลสำรวจนิสิตนักศึกษาและกลุ่มอาชีพสาธารณสุขในประเทศไทย ปีล่าสุด 2564 เมื่อเทียบ กับปี 2554 พบว่า ทันตแพทย์สูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 4.9 รองลงมาคือ นักศึกษาแพทย์ ร้อยละ 4.3 เภสัชกร เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 4.0 เทคนิคการแพทย์ ร้อยละ 3.7% และพยาบาล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8 % ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลดลงเหลือ ร้อยละ 4.0 และเมื่อถามเรื่องการใช้ยาสูบในรอบ 30 วันที่ผ่านมา พบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 90.7 ศ.ดร.นพ.ประกิตพัน์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021  ด้าน ศ.ดร.นพ.ประกิตพัน์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021 ให้ความเห็นว่า เยาวชน ในปัจจุบันนอกจากรับรู้เรื่องอันตรายของยาสูบแล้ว ต้องตระหนักด้วยว่ากำลังเป็นกลุ่มเป้าหมาย สำคัญของบริษัทบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าไปอีกหลายสิบปีหรือตลอดชีพของตน ซึ่งเยาวชนเอเชียโดยเฉพาะเยาวชนไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เพราะยังมีความเข้าใจผิดอยู่มาก และมีคนพยายามทำให้ เกิดความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่อันตราย และเสพติดได้ง่ายมาก แต่เลิกยากมาก เราจึงต้องการสร้างความตระหนักรู้ในตรงนี้ให้เข้มข้น เพราะจากงานวิจัย ที่ทำอยู่ในเมืองไทย ระบบการควบคุมยาสูบสำหรับเยาวชนในประเทศ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอกับปัญหาที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีงานวิจัยออกมามากขึ้น พบว่าเยาวชนสหรัฐฯ ที่มีอาการปอดป๊อบคอร์น (EVALI) ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา เข้าโรงพยาบาลแล้ว 3,000 ราย เสียชีวิต 70 กว่าคน และมีกรณีที่สูบแล้วระเบิดตัด หลอดลมเสียชีวิตประมาณหลัก 10 คน เท่ากับในสหรัฐฯ มีเยาวชนเสียชีวิตจากบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเกือบ 100 คน โดยอายุที่เริ่มสูบคือมัธยมศึกษาตอนต้น หรือประมาณมัยธยมศึกษาปีที่ 2 ในประเทศไทยเริ่มมีเยาวชน ที่แอดมิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเกิดปอดอักเสบ EVALI จึงคาดหวังว่าเยาวชนกลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้นำ กลุ่มเยาวชนอื่นๆ ในประเทศไทย ในอาเซียน และในระดับโลก ในด้านการรณรงค์ต้านยาสูบต่อไป สำหรับรายละเอียดของปฏิญญาเยาวชนเอเชียแปซิฟิกในการควบคุมยาสูบทั้ง 5 ข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1.ให้สร้างพื้นที่ปลอดภัย และสุขภาพที่ดีให้กับเยาวชน ซึ่งกำลังจะเป็นอนาคตของชาติให้ ห่างไกลจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด สร้าง ค่านิยมและให้ความรู้แก่เยาวชนอย่างถูกต้องเรื่องพิษภัยของบุหรี่ เพื่อรู้เท่าทันอุตสาหกรรมยาสูบ ในขณะ เดียวกันต้องมีกระบวนการของการศึกษาเกี่ยวกับอันตราย ของการใช้ยาสูบทุกรูปแบบ และจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และเชิงรุก เพื่อสามารถตอบโต้กับ อุตสาหกรรมยาสูบ ได้อย่างทันท่วงที บรรยากาศการยกมือโหวตให้การรับรอง ปฏิญญาเยาวชนเอเชียแปซิฟิกในการควบคุมยาสูบ ของเหล่าเยาวชน 2.เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายดำเนินการรระงับการขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์ อย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายกำกับและระงับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทุกช่องทาง ตรวจสอบบัญชีร้านค้าหรือภาษีผู้สูบบุหรี่ตามกฎหมาย FCTC 3.สนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบาย ให้เยาวชนเป็นหนึ่งในกรรมการของกิจกรรมใดๆ ของการควบคุมการบริโภคยาสูบ ในฐานะเหยื่อคนสำคัญ ของอุตสาหกรรมยาสูบ “เราจะอยู่แถวหน้า ของเรื่องนี้ เราขอให้เยาวชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ และนำความคิดของเราไปปฏิบัติอย่างจริงจังและตรงจุด” 4.ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการสร้างโครงการต่างๆ เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ สนับสนุนให้เกิดองค์กรเยาวชนเพื่อเป็นองค์กรด้านการวิจัย เป็นภาคีเครือข่ายเกื้อหนุนในการ ดำเนินงาน เชื่อมโยงกับองค์กร จิตอาสาอื่น ๆ และ 5.เสนอให้ภาครัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยโทษของบุหรี่ไฟฟ้า และเรื่องการ สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้ากับการติดเชื้อโควิด 19 งานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 หรือ 13th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13th APACT 2021 Bangkok) ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดงานเป็นครั้งที่ 3 ตลอดระยะเวลาการจัดประชุมที่ APACT ที่ยาวนานกว่า 26 ปี นั้น ในปีนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่าง ศจย. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีก 12 องค์กรพันธมิตร.