ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา มีภารกิจหน้าที่หลัก ในการค้นคว้าทดลองและปรับปรุงพันธุ์ข้าวตามหลักวิชา การทดลองงานวิจัยโรคแมลงศัตรูข้าว ดิน ปุ๋ย รวมถึงการหาวิธีการทำนาที่เหมาะสม การทดสอบเครื่องจักร ตลอดจนเป็นศูนย์บริการช่วยเหลือให้คำแนะนำส่งเสริมอาชีพการทำนา ตลอดจนได้รับผิดชอบโครงการนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อขยายพันธุ์สู่มือชาวนา นายสมาน เล่าหลี ประธานแปลงใหญ่ข้าว ต.หนองบัว อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า แปลงใหญ่ข้าว (ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ต.หนองบัว) มีสมาชิก 30 ราย ผลผลิตข้าวรวม 738 ตัน การรวมกลุ่มนาแปลงใหญ่เกิดมาการที่ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยทำให้เกิดการรวมกลุ่มรวมพื้นที่การผลิตเป็นแปลงใหญ่ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทรัพยากร และการตลาด เพื่อผลิตผลิตผลออกมาตรงตามความต้องการของตลาด จึงได้มีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่กันมาจนทุกวันนี้และกลุ่มก็มีความเข้มแข็ง เกษตรกรหลายรายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถต่อรองราคาทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ ให้องค์ความรู้รวมถึงปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ เมื่อได้รับเมล็ดพันธุ์กลุ่มแปลงใหญ่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาขยายพันธุ์ นอกจากนี้ กลุ่มประสบความสำเร็จใน 5 ปัจจัย คือ 1.ลดต้นทุนการผลิต จากเดิม 4,740 บาท/ไร่ เป็น 4,266 บาท/ไร่ 2.เพิ่มผลผลิต จากเดิม 800 กก./ไร่ เป็น 900 กก./ไร่ 3.เพิ่มคุณภาพ เมื่อได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 825 กิโลกรัม ก็จะเกิดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 3 ราย 4.การตลาด การตลาดของกลุ่มจะขายข้าวให้กับโรงสี จำนวน 30 ราย 705,838 กิโลกรัม และขายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้ในชุมชน จำนวน 1 ราย 32,162 กิโลกรัม และ5.การบริหารจัดการภายในกลุ่มแบบเป็นขั้นตอนมีการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวคุณภาพดี มีการวางแผนรวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อการบริหารจัดการกลุ่ม และวางแผนใช้เครื่องจักรกลเทคโนโลยีมาใช้การเพราะปลูก ดูแลแปลงนา เมื่อทำทั้ง 5 ข้อนี้แล้วทำให้เกษตรกรนาแปลงใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นผลผลิตดีมีคุณภาพ มีรายได้ที่มากขึ้น มีสุขภาพที่ดี ในการส่งเสริมเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรามีการมาให้องค์ความรู้ การสร้างกลุ่มแปลงใหญ่ให้เข้มแข็ง ลดต้นทุนการผลิตโดยการสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ การให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตข้าวตามาตราฐาน GAP และมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้ข้าวและเมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว ให้บริการเมล็ดพันธุ์ดีแก่สมาชิกกลุ่มและเกษตรกรในชุมชนใกล้เคียง รวมไปถึงการพัฒนาด้านการตลาดมีการเชื่อมโยงเพื่อสร้างข้อตกลงด้านการตลาดของนาแปลงใหญ่ ส่งเสริม ด้านการตลาดและเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ