อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในเพจ เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุว่า.. 9 เหตุผล เพื่อค้านเหตุผลที่จะตัด"ราชมงคล"ชื่อพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 "ราชมงคล" หมายถึง "มงคลแห่งพระราชา" แต่คุณจะตัดนามพระราชทานอันเป็นมงคลยิ่งนี้ทิ้งไปด้วยเหตุผล…. •1 คุณบอกว่า”หมxลัย”ชั้นนำของโลกล้วนใช้ชื่อเมืองเป็นชื่อ ”หมxลัย” ขอโทษนะ นี่มันเมืองไทย เมืองที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นชื่อมงคลของมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือแม้แต่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ถึงจะไม่ใช่พระนามพระมหากษัตริย์ แต่พระมหากษัตริย์พระองค์ที่เป็นที่รักยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นผู้พระราชทานให้ •2 คุณบอกว่า ”หมxลัย” ชั้นนำของโลกล้วนใช้ชื่อเมืองเป็นชื่อ ”หมxลัย” แต่กรุงเทพถูกมหาวิทยาลัยเอกชนใช้ไปแล้ว คุณจึงนึกถึงชื่อเดิมของกรุงเทพ ที่เคยมีชื่อว่า พระนคร และคุณยังคงนึกถึงเวลาเขียนที่อยู่ของคุณว่า พระนคร และพาณิชย์พระนคร และราชมงคลพระนคร ก็มีชื่อพระนครอยู่ คุณเลยจะเอาชื่อพระนครมาตั้งเป็นชื่อ”หมาลัย” นี่คุณจะตั้งชื่อ ”หมxลัย” โดยเอาเรื่องส่วนตัวเป็นที่ตั้ง เอาตัวคุณองเป็นที่ตั้งอย่างนั้นหรือ ตายล่ะ! แล้วชื่อพระราชทานจากในหลวงคุณจะตัดทิ้ง อกอีแป้น! เอาชื่อพระราชทานทิ้งไป แล้วเอาชื่อเก่าของกรุงเทพตามความคิดเห็นของคุณ และเอาชื่อเดิมในความทรงจำดีๆ ในอดีตของคุณมาใส่แทน ไอเดียปังมากแม่! •3 เหตุผลงามๆ ตามท้องเรื่อง ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อสถาบัน ไว้ว่าจะเป็นการตัดชื่อราชภัฏหรือราชมงคลอันเป็นชื่อมงคล เพราะได้พระราชทานจากในหลวง ร.9 ออกไป มักมีเหตุผลใกล้เคียงกัน เหมือนก็อปปี้ข้อความกันมาว่า “กฎหมายหรือกำหนดกฏเกณฑ์ข้อบังคับในการบริหารงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมันรวมกัน ถ้ายังเป็นราชภัฏหรือราชมงคลอยู่ และจะถูกตีความว่ายังเป็นมัดเดียวกับราชภัฏหรือราชมงคล และในเมื่อเปลี่ยนสถานภาพ ออกนอกระบบแล้ว จึงต้องเปลี่ยนชื่อเพื่อให้มี พ.ร.บ.ของตัวเอง” ที่นี่มาลองดูความเห็นที่น่าสนใจของอาจารย์เปรื่อง กิจรัตน์ภร อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่เคยกล่าวไว้ ซึ่งผมเห็นว่ามีเนื้อหาและสาระสำคัญที่ใช้อธิบายความต้องการเอาชื่อราชภัฏหรือราชมงคลอันเป็นชื่อพระราชทานของในหลวง ร.9 ออก ด้วยข้ออ้างต่างๆ ว่า “มองว่าการเปลี่ยนชื่อสถาบันและการออกนอกระบบเป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสม ที่มีผู้บอกว่าจำเป็นต้องตัดคำว่าราชภัฏออก เพื่อไม่ให้กฎหมายซ้ำซ้อนนั้น คงเป็นเหตุผลส่วนตัว เพราะการพิจารณาว่าจะได้เปลี่ยนสถานะหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร และไม่จำเป็นต้องตัดคำว่าราชภัฏออก ก็เปลี่ยนสถานะได้หากสภาเห็นชอบ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ออกนอกระบบไปแล้ว แต่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อ เพราะให้เกียรติชื่อพระราชทาน” อ่านซ้ำครับ เพื่อตอกย้ำว่า มันไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ ก็เปลี่ยนสภานะและออกนอกระบบได้ รวมทั้งสามารถมี พ.ร.บ.เป็นของตัวเองได้ แค่คำอธิบายนี้ข้อเดียว ก็กระจ่างชัดเพียงพอแล้ว ว่าเหตุผลที่ใช้เป็นข้ออ้างเปลี่ยนชื่อ เป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น เพราะความจริงมันไม่ได้เป็นปัญหาและอุปสรรคใดๆ เลย •4 สวนดุสิตและสวนสุนันทา ยังตัดชื่อราชภัฏออกเลย แต่ช้าก่อน สวนดุสิตและสวนสุนันทา ยังคงเป็นชื่อพระราชทานอันมีความมงคล ถึงแม้สวนดุสิตและสวนสุนันทาจะตัดชื่อราชภัฏออก แต่ชื่อสวนดุสิตและสวนสุนันทา เป็นชื่อที่มาจากสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีที่มาจากอุทยานสวรรค์ 4 แห่งที่สร้างล้อมรอบพระราชวังดุสิตตามความเชื่อเรื่องสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งประกอบด้วย สวนสุนันทา สวนจิตลดา สวนปารุสวัน สวนมิสกวัน อันเป็นชื่อพระราชทาน เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งยังคงใช้ชื่อพระราชทานอันเป็นมงคล •5 เปลี่ยนชื่อแล้วจะดังขึ้นเป็น 1 ใน 10 เปลี่ยนชื่อเป็น ”หมxลัย” พระนคร จะทำให้ ”หมxลัย” ขึ้นไปอยู่ 1 ใน 10 ”หมxลัย” ชั้นนำหรือดีที่สุดของประเทศ oh my goodness ถ้าตรรกะนี้ถูกต้อง มหาวิทยาลัยทั้งหลายในประเทศไทย รีบเปลี่ยนชื่อและออกนอกระบบเลยครับ เพราะจะได้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำหรือดีที่สุดของประเทศ •6 มหาวิทยาลัยนอกระบบ คุณพูดประมาณว่า ถ้าไม่ให้เปลี่ยนชื่อ เพื่อเป็นการรีแบรนด์ ก็อย่ามีกฎหมายให้ออกนอกระบบเลย มาดูกันว่าจุดประสงค์ของการออกนอกระบบเป็นยังไง สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หรือที่เรียกว่า มหาวิทยาลัยนอกระบบ คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง จุดประสงค์หรือข้อดีของการออกนอกระบบคือ •เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้น •เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล •มหาวิทยาลัยสามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ การเปลี่ยนชื่อเพื่อรีแบรนด์มันตรงกับจุดประสงค์ข้อไหนครับ เปลี่ยนชื่อแล้ว •จะเกิดความคล่องตัวในการบริหาร? •ช่วยรัฐบาลลดภาระค่าใช้จ่าย? •จะเปิดหลักสูตรได้มากขึ้น? •จะดังขึ้นเป็น 1 ใน 10 จริงอ่ะ! •7 พระองค์เจ้าจุลยังเปลี่ยนชื่อเลย !!! พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อแรกประสูติทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระนามว่า "หม่อมเจ้าพงษ์จักร" (ไม่ใช่จักรพงษ์นะจ๊ะที่รัก) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามใหม่ว่า "จุลจักรพงษ์" โดยเป็นการเอาอย่างพระนามของทูลหม่อมปู่ คือ จุลจอมเกล้า ทั้งยังเป็นการล้อพระนามพระบิดา คือ เล็ก ไปในขณะเดียวกัน ประเด็นคือ การที่พระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้เปลี่ยนชื่อหลานที่สมเด็จพระพันปีตั้งไว้ มันเป็นเรื่องที่ทำได้นะครับ เพราะพระเจ้าอยู่หัวคือผู้ที่ดำรงพระยศสูงสุดในแผ่นดิน จริงมั้ยครับ แต่คุณกำลังจะเป็นผู้ที่จะเปลี่ยนชื่อที่ในหลวงพระราชทานให้ มันผิดกันนะครับ คุณใหญ่กว่าพระเจ้าอยู่หัวว่างั้นเถอะแม่คุณ! •8 มดกับช้าง คุณเห็นเวลาช้างลากไม้ซุงใช่มั้ย ตัวเขาใหญ่โตจนสามารถลากไม้ซุงด้วยตนเองได้ แต่ไม้ซุงที่ว่านั้นเล็กกว่าช้างหลายเท่านะ แล้วคุณเคยเห็นมดทำงานด้วยใช่มั้ย มดตัวเล็กนิดเดียว แต่เมื่อรวมตัวกันเป็นกองทัพ เขาลากของที่ใหญ่โตและหนักกว่าตัวมดเองไม่รู้กี่เท่า ช้างจะลากของที่ใหญ่โตและหนักกว่าตัวได้มากเหมือนกองทัพมดหรือไม่ คุณฝันว่าเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยพระนครแล้ว คุณจะขึ้นมาเป็น 1 ใน 10 เอาอย่างนี้ เรามาลองไล่ดูกันหน่อยมั้ย เอาแบบนับหนึ่งถึงสิบโดยไม่เป็นการจัดอันดับนะ 1.จุฬา 2.มหิดล 3.ธรรมศาสตร์ 4.ขอนแก่น 5. เชียงใหม่ 6.พระจอมเกล้าลาดกระบัง 7. พระจอมเกล้าธนบุรี 8.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 9.เกษตรศาสตร์ 10.ศิลปากร “หมาลัย”พระนคร ของคุณจะเขี่ยใครลงได้ คุณเกิดมาเป็นมด ดังนั้นจะต้องเป็นมดที่จะแข่งกับช้าง ไม่ใช่เกิดมาเป็นมด แต่จะทำตัวเป็นช้างเพื่อจะไปท้าชนกับช้าง มดไม่มีวันเป็นช้างได้หรอก แต่มดสามารถแข่งขันกับข้างได้ และจะทำได้ดีในแบบของมด ซึ่งช้างไม่มีวันทำได้อย่างมด อย่าลืมว่าอดีต พาณิชย์พระนคร เทคนิคกรุงเทพ อุเทนถวาย เพาะช่าง พระนครเหนือ พระนครใต้ จักรพงษ์ภูวนาถ ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บพิตรพิมุข โชติเวช ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ 1 ในประเทศมายาวนาน ชื่อสถาบันเหล่านั้น มีประวัติในเรื่องคุณภาพทั้งการเรียนการสอนและศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคมมายาวนาน การจะขึ้นมาเป็น 1 ใน 10 มีโอกาสเป็นไปได้ด้วยการรวมกันเป็นราชมงคล ซึ่งจะมีพลังพลัดดันให้เป้าหมายนั้นเป็นจริงมากกว่าจะแยกตัวมาสู้อยู่ผู้เดียว •9 จะทิ้งรากเหง้าไปดื้อๆ เพื่อการพัฒนา คุณบอกว่า สมาคมศิษย์เก่าและศิษย์เก่ารุ่น 40 ปีก่อนคือกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์ และไม่มีสิทธิ์มาวุ่นวาย ศิษย์เก่าเสียประโยชน์อะไร? แล้วนี่มหาวิทยาลัยต้องทิ้งรากเหง้าของตนเอง ถึงจะทำให้เป็นสถาบันที่พัฒนาขึ้นไปเป็น 1 ใน 10 ของประเทศหรือ? เหมือนปัญหาการเมืองหรือเปล่าเน้อ ที่ยกเลิกความเป็นไทย เลิกยิ้ม เลิกไหว้ เลิกเรียกลุงป้าน่าอา เลิกมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทิ้งรากเหง้าไปให้หมด บ้านเมืองถึงจะพัฒนาสถาพร ชื่อ”ราชมงคล” คือตัวถ่วงความเจริญ เหมือนกับที่การเมืองใส่ความว่า”สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวถ่วงความเจริญ หรือไม่ ตัวถ่วงความเจริญทึ่แท้จริงของเมืองไทยคือนักการเมืองที่ฉ้อฉลมิใช่หรือ ตัวถ่วงความเจริญที่แท้จริงของมหาวิทยาลัยคือชื่อ ราชมงคล หรืออะไรกันแน่ คิดให้มากๆ โอ๊ย ยังมีอีกหลายข้อ แต่พอเถอะ คนเขียนก็เหนื่อย คนอ่านก็เบื่อแล้ว เหนื่อยจะสาธยาย สาธย่าแล้วล่ะแม่คุณ กลับไปอ่านขัอ 3 ซ้ำนะ เพราะเป็นแง่คิดและสาระสำคัญที่ชัดเจน ว่าชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อใช้สนับสนุนความคิดของตนว่าถูกเสมออยู่ฝ่ายเดียว อ่อนเพลียละเหี่ยใจ