จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาครัฐมีนโยบายในการปิดประเทศ ปิดสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการในการเดินทางเข้าจังหวัด ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ โดยมีผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้แต่ธุรกิจบัตรเครดิตในหมวดท่องเที่ยวของเคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริการที่มีความแตกต่าง นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการ การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ไม่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่งทำให้รายได้บัตรเคทีซี ในหมวดท่องเที่ยวลดลง 70-80 % ดังนั้นทางเคทีซีจึงได้ปรับกลยุทธ์การตลาด เน้นพัฒนาเรื่องการให้บริการของศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี หรือ KTC World Travel Service ด้วยการ ซ่อม ปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการ Rebuild KTC World Travel Service หรือ สร้าง บริการที่มีความแตกต่าง (Unique Service) ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน จาก Reservation เป็น Counsellor / ขยายบริการเป็น 24 ชั่วโมง เพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดของสมาชิก เช่น การถูกยกเลิกไฟลท์ / การขยายบริการทางไลน์ เพื่อให้สมาชิกติดต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น และการปรับปรุงเว็บไวต์ www.ktc.co.th/ktcworld และ “สนับสนุน” สานความสัมพันธ์กับพันธมิตรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้งนี้นางสาวเจนจิต ยังกล่าวต่อว่า เมื่อมีการปรับมาตรการ การท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญานกลับมาฟื้นตัว เพราะฉะนั้นเพื่อสอดรับกับการท่องเที่ยวในประเทศช่วงไตรมาส 4 ที่จะถึง ทางเคทีซีจึงได้จัดโครงการ เที่ยว… อยู่ได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ทั้ง สถานที่ท่องเที่ยว หมวดรถเช่า และบริษัทนำเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการออกแบบ จัดทำ และผลิตสื่อแบนเนอร์เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ผ่าน 7 ช่องทางของเคทีซี อาทิ จดหมายรายเดือนสำหรับสมาชิกบัตรเคทีซี / Facebook: KTC Real Privileges / เว็บไซต์เคทีซี / KTC Line Official / E-Newsletter / IG: KTC Card และแอพ KTC MOBILE เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจและบริการไปยังฐานสมาชิกกว่า 2.6 ล้านคน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางขายหรือตัวแทนจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนด้วยตัวเอง ผ่านทาง KTC World Travel Service พร้อมกันนี้ เคทีซียังได้สนับสนุนโปรโมชันพิเศษ มอบเครดิตเงินคืน 10% ให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้จ่าย ณ ร้านค้า หรือสถานประกอบการที่ร่วมรายการ เพียงใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย และลงทะเบียนแลกรับผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktctravel ระยะเวลาโครงการระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 –วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งเคทีซีคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 200 ราย กว่า 40 จังหวัดท่องเที่ยว ซึ่งครอบคลุมจังหวัดท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง รูปแบบท่องเที่ยวเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม นางสาวเจนจิต กล่าวว่า แม้ประชาชนจะเริ่มมีความต้องการที่จะเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น แต่รูปแบบการท่องเที่ยวจะปรับเปลี่ยนไปจากเดิม นักเดินทางจะมีความระมัดระวังในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น การท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ๆ ไปกันหลายๆ คน หรือ Collective จะลดน้อยลง ถึงแม้เทรนด์การท่องเที่ยวแบบเดินทางคนเดียวหรือไปกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จะเป็นที่นิยม แต่นักเดินทางก็จะมองหาตัวกลางในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เป็นเพราะต้องการความมั่นใจว่าจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและรวดเร็วที่สุด รวมถึงบริการที่มีคุณภาพ ครอบคลุมการให้บริการเปลี่ยนหรือยกเลิกตั๋วเครื่องบินและโรงแรมที่พัก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงวิกฤตนี้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อทริปเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1.Domestic Travelers: กลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทิศทางว่าจะกลับมาได้เร็วที่สุด 2.Premium Travelers: กลุ่มพรีเมี่ยม เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย การที่ไม่เดินทางเป็นผลจากมาตรการภาครัฐเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐประกาศปรับมาตรการ นักเดินทางกลุ่มนี้จึงสามารถเดินทางได้ทันที เนื่องจากได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว 3.Essential Travelers: กลุ่มนี้เป็น Segment ที่ต้องเดินทางเพราะมีความจำเป็น เช่น ไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือ ขณะที่ในส่วนของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จะพบว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่มีการปรับตัวเป็นอย่างมาก อาทิ การพัฒนา Application ให้เป็น One stop Service การขยายบริการไปยังสินค้าบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตัวอย่างเช่นกรณีของสายการบินแอร์เอเชียที่เข้าซื้อกิจการของโกเจ็ค / OTA รายใหญ่ๆ มีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นำเสนอ Bundle Package มากขึ้น มีการพัฒนา Loyalty Program ของตนเอง หรือบางสายการบินก็ได้มีการหารายได้เสริม เช่น การขายสินค้าต่างๆ เป็นต้น