การ “ปั้นเรื่อง” ต้นกำเนิดของไวรัส ความจริงมาจากไหน โดย โหลงหยวน เป็นเวลาสักพักหนึ่งแล้ว ที่ชาวอเมริกันบางคน ได้สร้างเรื่องราวด้วยคำพูดที่ไร้สาระอย่างมากมายในปัญหาการสอบกลับหาต้นกำเนิดของไวรัส โดยการปั้นน้ำเป็นตัวว่า “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการของจีน” คนเหล่านั้นมักที่จะ “ตั้งข้อหาก่อน เพื่อหาหลักฐานสนับสนุนทีหลัง” ด้วยข้ออ้าง “จะกล่าวหาก็ย่อมตั้งข้อหาได้” ซึ่งไม่เพียงแต่ไม่สมเหตุสมผล ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่เป็นผลดีต่อการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสเท่านั้น หากยังเป็นภัยอันตรายต่อสาธารณชนอีกด้วย ลัทธิต่อต้านปัญญาที่ “วิเศษ” ของสหรัฐ ตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาดตอนแรกๆ เดอะแลนซิต (The Lancet) วารสารที่ทรงอิทธิพลด้านแพทยศาสตร์ของโลกได้ตีพิมพ์และแถลงการณ์ร่วม เป็นการร่วมลงนามโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกด้านแขนงงานสาธารณสุข 27 ท่าน โดยมีความเห็นว่า ทฤษฎีสมคบคิดที่เกี่ยวกับ โคโรนา ไวรัส สายพันธ์ใหม่ (Novel Corona Virus) นอกจากจะสร้างความตื่นตระหนกตกใจ ข่าวลือ อคติ และทำลายความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับการระบาดของโรคในทั่วโลกแล้ว จะไม่มีประโยชน์อื่นแต่อย่างใด แต่ทว่า ก็เพราะแถลงการณ์เปิดผนึกฉบับนี้ ทำให้ ดร.สแตนลี่ย์ เพิร์ลแมน (Stanley Perlman) ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังด้านไวรัสวิทยาของมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) สหรัฐอเมริกา ได้ประสบปัญหาเมื่อไม่นานมานี้ โดย นสพ. วอชิงตันโพสต์ รายงานข่าวว่า ท่านได้รับจดหมายข่มขู่เมื่อต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ประณามท่านเป็น “ดร.แฟรงเกนสไตน์ (Dr. Frankenstein)” (คนประหลาดที่สร้างตัวประหลาดบ่อนทำลาย) ซึ่งทำให้พี่โหลงได้นึกถึงหนังสือที่เคยอ่านเล่มหนึ่งขึ้นมา - “ลัทธิต่อต้านปัญญาในชีวิตประจำวันของชาวอเมริกัน” (The Anti-intellectualism of American Life) ที่เขียนโดยนายริชาร์ด ฮอฟสตาเตอร์ (Richard Hofstater) นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง ท่านเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า ลัทธิต่อต้านปัญญา “เป็นแนวโน้มอย่างหนึ่งที่โกรธแค้นและสงสัยปัญญาความรู้ตลอดจนบุคคลที่มีปัญญาความรู้ และลดค่าของปัญญาความรู้ลงอย่างต่อเนื่อง” กล่าวโดยง่ายๆ ลัทธิต่อต้านปัญญา เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล มองไม่เห็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับความเห็นของตน เชื่อแต่สิ่งที่ตนเองเห็นว่าถูกต้อง เคสลัทธิต่อต้านปัญญาที่ “เมจิก” เกิดขึ้นบ่อย เป็นเนืองนิตย์ในสังคมสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่น ชาวพรรครีพับลิกันมากมายเห็นกันว่า โลกร้อนที่แท้เป็นกลอุบายของฝ่ายเสรีกับรัฐบาลต่างประเทศ ดังนั้น สหรัฐฯ จึงปฏิเสธไม่ยอมร่วมหารือ อีกตัวอย่างเช่น คนบางคนเห็นว่า โคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่ อย่างเก่งเป็นเพียง “ไข้หวัดที่รุนแรงกว่า” เท่านั้น จึงไม่ต้องสวมหน้ากาก ทำกิจกรรมร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน เป็นต้น ความจริงนักวิทยาศาสตร์มีข้อสรุปแล้วในการสอบกลับหาต้นกำเนิดของไวรัสและคัดค้านทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” นายมาสซิโม กาล์ลี่ (Massimo Galli) ผ.อ. แผนกโรคติดต่อของโรง พยาบาลซาโก (Sako Hospital) มิลาน อิตาลี่ กล่าวว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “เป็นไวรัสที่ไม่รู้จักชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีร่องรอยของพันธุวิศวกรรมภายในตัวไวรัส” ดูในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์แล้ว ทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ไม่มีหลักฐานแม้สักนิด “ถ้ามีคนพัฒนาโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ด้วยวิธีนี้ (ห้องปฏิบัติการ) ผมอยากพูดว่า การทำเช่นนี้ไม่มีความจำเป็น และเสียเวลาด้วย” นายคริสเตียน โดรสเตน (Christian Drosten) นักไวรัสวิทยาสัญชาติเยอรมันกล่าวว่า ทั้งนี้ ต้องเปลี่ยนพื้นที่เฉพาะของหน่วยพันธุกรรมบางหน่วย บนพื้นฐานโคโรนาไวรัสของโรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) แต่ว่าหน่วยพันธุกรรมของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ กับ ของโรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน มีความแตกต่างกันมากมาย ยิ่งกว่านั้น ทีมงานหนึ่งที่รวมเจ้าหน้าที่วิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สหรัฐฯ อยู่ด้วย ได้ประกาศรายงานผลวิจัยฉบับหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้โดยระบุว่า หลังจากวิเคราะห์ตัวอย่างโลหิต 24,000 รายแล้ว พบว่า ชาวอเมริกันบางคนติดโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 แล้ว แม้จะเป็นอย่างนี้ แต่ในปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของการตรวจสอบหาต้นกำเนิดไวรัสย้อนหลัง ซึ่งยากที่จะทำสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น ทฤษฎีสมคบคิดที่ “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” สอดคล้องกับจินตนาการของลัทธิต่อต้านปัญญามากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีความต้องการในภาคพื้นบ้าน จึงมีคนบางคนจงใจสนองความโกลาหลด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่บอกใครไม่ได้ ทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” จึงโด่งดังไปทั่วสหรัฐฯ ในชั่วขณะหนึ่ง นายดะเวียร์ (Dwyer) นักภูมิคุ้มกันวิทยาและนักระบาดวิทยาชาวออสเตรเลีย สมาชิกทีมผู้เชี่ยวชาญร่วมขององค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ได้ตอบสนองคำพูดทางการเมืองของบางประเทศ กระทั่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของบางประเทศ การแพร่ข่าวนี้มีส่วนที่เจตนาตั้งใจ ความจริง ลัทธิต่อต้านปัญญาไม่เพียงแต่เป็นการสูญเสียจิตใจทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น หากยิ่งสะท้อนให้เห็นการล่มสลายของจริยธรรมทางการเมืองของสหรัฐฯ ภายใต้การซ้ำเติมของความตายตัวของชนชั้นทางสังคม ความเป็นสุดขั้วทางการเมืองในประเทศและความคิดสงครามเย็นที่ต่อเนื่อง ซึ่งมีการแสดงออกต่อภายนอกประเทศคือ โห่ร้องเรียกค่าชดเชยโรคระบาด ทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” เป็นต้น การแสดงออกต่อภายในประเทศคือ ปัญหา “คนผิวดำมีความสำคัญ” (Black Lives Matter) การดูถูกคนเชื้อสายเอเชีย ปืนท่วมท้น เป็นต้น ที่ไม่ได้รับการแก้ไขทางการเมืองเป็นเวลายาวนาน นายแฟรงซิส ฟูกูยามะ (Francis Fukuyama) นักวิชาการสัญชาติอเมริกันเขียนบทความโดยระบุว่า ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เขาเริ่มเสียใจและเสียดายต่อการเกิดความเสื่อมลงทางการเมืองที่ฝังแน่นในสหรัฐฯ แล้ว องค์กรธรรมาภิบาลภาครัฐของสหรัฐฯ นับวันมีบทบาทน้อยลง สภาพนี้แย่ลงไปอีกหลังจากนายทรัมป์เข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว กระบวนการเลวร้ายลงนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วที่น่าวิตก และพัฒนาถึงขั้นน่าตกใจ เช่น เหตุการณ์ผู้ประท้วงบุกโจมตีเข้าไปในตึกรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ดำเนินการแข่งขันแบบกรีฑา ไม่ทำการแข่งขันแบบเกมส์นักสู้ พี่หลงสังเกตได้ว่า ในช่วงไม่นานที่ผ่านมานี้ ความจริงสหรัฐฯ ได้เกิดเรื่องไม่น้อยรอบๆ ทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ ได้เกิดการแตกแยกภายใน นายคริสโตเฟอร์ แอชลีย์ ฟอร์ด (Christopher Ashley Ford) อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศจดหมายเปิดผนึกพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเมื่อเร็วๆ นี้ สรุปเนื้อหาด้วยประโยคเดียวก็คือ “ผมไม่ได้แอบคบพรรคคอมมิวนิสต์” เขาเคยกล่าวในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังกำหนดมาตรการ “ทั้งภาครัฐ” (Whole-of-government measure) เพื่อรับมือกับการท้าทายด้านความมั่นคงจากจีนที่มีต่อสหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ เขายังเคยเดินทางไปลอนดอนเอง เพื่อกดดันรัฐบาลอังกฤษให้ “ละทิ้งเทคโนโลยีหัวเหว่ยของจีนทันที” แล้วคนที่ถูกเรียกว่าผู้ลากมากดีด้านการต่างประเทศเช่นนี้ ทำไมจึงถูกชาวอเมริกันบางคนสวมหมวก “สายลับคอมมิวนิสต์” ได้ล่ะ? สื่อมวลชนสหรัฐฯ บางสื่อตรวจสอบย้อนหลังแล้วเห็นว่า การที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โจมตีสิ่งที่เรียกว่าทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ในตอนโรคระบาดแรกๆ เป็นการยืนเคียงข้างกับจีน นายฟอร์ดเป็นคนแรกที่ได้รับผลกระทบ ถึงแม้ว่าจดหมายแก้ตัวของนายฟอร์ดเปี่ยมไปด้วยการประณามที่ไม่เป็นความจริงต่อจีน แต่เขาก็ได้เปิดเผย เหตุและผลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในการสร้างทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” และใส่ร้ายจีน สรุปโดยสั้นๆ ก็คือ มีกำลังบางส่วนหมายจะยัดเยียดข้อหา “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ให้จีน ทั้งๆ ที่ไม่มีมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ชาวอเมริกันบางคนพูดว่า “สอบกลับหา” ต้นกำเนิดของไวรัส แต่กลับทำการ “ปั้น” ต้นกำเนิดของไวรัส ก็เหมือนดั่งที่นายปิเตอร์ ดัสชาก (Peter Daschak) นักสัตววิทยา ประธานพันธมิตรเพื่อสุขภาพระบบนิเวศ (Alliance for ecological health) ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ สมาชิกทีมผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในการวิจัยสอบกลับหาต้นกำเนิดโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า รายงานเกี่ยวกับปัญหาการสอบกลับหาต้นกำเนิดของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เป็น “ลักษณะการเมือง ไม่ใช่ลักษณะเชิงวิทยาศาตร์” แล้วทำไมชาวอเมริกันบางคนจึงต้อง “พยายาม” กุเรื่องเช่นนี้ล่ะ? ชีวิตการเมืองของบุคคลชั้นนำสหรัฐฯ รุ่นนี้ ส่วนใหญ่เริ่มแต่ยุคสงครามเย็น เช่น นายจอ ไบเดน (Joe Biden) วัย 78 ปี เข้าวงการการเมืองตั้งแต่ทศวรรษปี 1970 (พ.ศ. 2513) ความคิดทางการเมืองของบุคคลเหล่านี้ความจริงถูกผูกมัดพันธนาการกับยุคเก่าในวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ที่เต็มใจ “หาศัตรู” ของสหรัฐฯ กฎของป่า ความคิดสงครามเย็น เกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ (zero-sum game) อยู่ในสมองคิดของพวกเขาตลอดเวลา ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่อำนาจของสหรัฐฯ ถูกทดแทน ถูกคุกคามนั้นลบไม่ออก ภายใต้ความคิดเก่านี้ แม้กระทั่งการกระทำต่อพันธมิตรฝั่งยุโรปยังมี “เหตุการณ์ดักฟัง” ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงประเทศจีนที่มีอุดมการณ์ต่างกัน ศักยภาพไล่เลี่ยกัน นายสตีเฟน บันนน (Stephen Bannon) “กุนซือที่ปรึกษา” ของนายทรัมป์เคยกล่าวว่า สหรัฐฯ มีกรอบเวลาเพียงประมาณ 5 ปีเท่านั้น ในการขัดขวางจีน รอรัฐบาลจอ ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง มีความเข้าใจชัดเจนว่า ไม่มีทาง “ขัดขวาง” การพัฒนาของจีนอย่างเต็มที่ได้ จึงทวีความรู้สึกกังวลใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของชาวอเมริกันบางคน แม้กระทั่งคนนอกก็รับรู้ได้ ศาสตราจารย์ คิชอร์ มาห์บูบานี่ (Kishore Mahbubani) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้กล่าวตรงๆ ว่า เขาเคยอยู่สหรัฐฯ นานสามเดือน ชาวอเมริกันบางคนมี “จิตใจหวาดกลัว ซึ่งยากที่จะพรรณนาได้” ต่อประเทศจีน องค์การอนามัยโลกเคยกล่าวว่า สำหรับการสอบกลับหาต้นกำเนิดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ควรจะให้บรรดานักวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการวิจัย บนพื้นฐานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ มิฉะนั้น การสอบกลับก็ไม่มีทางให้คำตอบที่ทั่วโลกต้องการ มองจากมุมนี้ การสร้างบรรยากาศ อึมครึมในปัญหาสอบกลับหาต้นกำเนิดของไวรัสด้วยความไม่รู้และสับสนนั้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการศึกษาความเป็นมาของไวรัสอย่างเห็นได้ชัด ชาวอเมริกันบางคนไม่ได้สนใจ ที่จะทำความชัดเจนเรื่องไวรัสจริงหรอก หากสนใจแต่การสร้างประเด็นร้อนไปผูกพันธนาการกับปัญหาซินเกียง ไต้หวัน เป็นต้น ให้จีนตกอยู่ในความเพ่งเล็งระหว่างประเทศ บ่อนทำลายชื่อเสียงประเทศจีน เพื่อเบี่ยงเบนแรงกดดันภายในประเทศ “สิ่งที่เรียกว่า จีนสร้าง โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เจตนาร้ายมุ่งทำลายแบบนี้ เป็นฝีมือของฝ่ายตะวันตกในการโจมตีจีนอย่างสม่ำเสมอ” นี่ไม่ใช่คำพูดของพี่หลง แต่เป็นคำพูดของนายเซป ลารูช (Zep Larouche) ประธานสถาบันชิลเลอร์ (the Schiller Institute) คลังความคิดของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว โดยเฉพาะโรคระบาดแห่งศตวรรษ ทำให้ผู้คนเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่า โลกเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น มนุษยชาติร่วมชะตากรรมกัน ในยุคนี้ ความร่วมมือวินวินเป็นหัวข้อหลัก การแข่งขันระหว่างประเทศควรจะเป็นการแข่งขันแบบกรีฑาที่วิ่งไล่กัน ยกระดับสูงขึ้นร่วมกัน หากไม่ควรเป็นแบบเกมส์นักสู้ที่โจมตีซึ่งกันและกันแบบคุณต้องตายฉันถึงรอด การสังเกตการกระทำของสถาบันวิจัยไวรัสที่อู่ฮั่น สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ที่ตกอยู่ในจุดโฟกัส อาจทำให้เข้าใจปัญหาได้บ้าง นสพ. เดลิ เทเลกราฟ (Daily Telegraph) ของอังกฤษรายงานข่าวว่า นายปิเตอร์ ดัสชาก (Peter Daschak) ผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวถึงในข้างต้น ได้กล่าวถึงการเดินทางไปอู่ฮั่นว่า ผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการคนหนึ่งของสถาบันวิจัยไวรัสที่อู่ฮั่นบอกเขาว่า การที่เจ้าหน้าที่วิจัยขององค์กรนี้ไม่ได้ให้ความสนใจต่อทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ก็เพราะว่าไม่อยากจะให้ “ออกซิเจน” แก่ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านั้น ทฤษฎีสมคบคิดทั้งหมดล้วนไม่มีหลักฐาน นางสือเจิ้งลี่ นักวิจัยสถาบันวิจัยไวรัสที่อู่ฮั่นกล่าวให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่า สิ่งที่เธอสนใจในขณะนี้คือ วัคซีนโควิด-19 และลักษณะของไวรัสใหม่ สหรัฐฯ มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่า ติดเชื้อโควิด-19 สะสมเกิน 30 ล้านคน จำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 6 แสนคน นี่ไม่ใช่ตัวเลข นี่คือชีวิตต่างหาก ซึ่งไม่ควรเป็นสภาพของประเทศมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก พี่หลงปรารถนาอย่างจริงใจว่า ชาวอเมริกันบางคนแทนที่จะปั่นกระแสทฤษฎี “รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการจีน” ที่ไม่มีมูล จงเลิกคิดแต่เรื่องเดิมๆ หันไปรับผิดชอบต่อประชาชนในประเทศ หันไปยกระดับกำลังแข่งขันของประเทศตนเองด้วยความหาญกล้าทางการเมืองจะดีกว่า การทำเรื่องของตนเองให้ดีนั้น ไม่เพียงแต่เหมาะสำหรับประเทศจีนเท่านั้น หากยังเหมาะสำหรับสหรัฐฯ ด้วย