หลายคนอาจไม่รู้ว่า การประปาส่วนภูมิภาค และ การประปานครหลวง แบ่งสัดส่วนการรับผิดชอบกันอย่างไร วันนี้เราจะมาพาไปทำความรู้จักกัน การประปาส่วนภูมิภาค หรือที่เราเรียกกันว่า กปภ. นั้น มีหน้าที่หลักคือจัดหาแหล่งน้ำดิบ ผลิตจัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาไปจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้น เฉพาะ กรุงเทพ นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ การประปานครหลวง แต่จะไม่รวมถึงระบบประปาที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเมื่อจัดการหาแหล่งน้ำดิบ เรียบร้อยแล้ว ก็จะร่วมกับกรมอนามัย ตรวจสอบคุณภาพน้ำ เพื่อช่วยการันตีคุณภาพน้ำ เพื่อแจกจ่ายไปตามสาขาซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งหมด 234 สาขา ใน 74 จังหวัด ขั้นตอนการผลิตน้ำประปาตามมาตรฐานของการประปาส่วนภูมิภาคนั้น ได้แก่ - การจัดหาแหล่งน้ำดิบที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตน้ำประปา - การตรวจสอบคุณภาพของน้ำดิบ - การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ การกำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนมากับน้ำ การทำให้ตกตะกอน การกรองจนใสสะอาด การฆ่าเชื้อโรค และขั้นตอนสุดท้ายคือ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งขั้นตอนนี้ การประปาส่วนภูมิภาค ร่วมมือกับ กรมอนามัย ดำเนิน "โครงการส่งเสริมความเชื่อมั่นคุณภาพน้ำประปา" โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนา มาตรฐานทาง เพื่อให้น้ำประปามีคุณภาพมาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด นอกจากนี้ กปภ.ยังได้ดำเนินโครงการจัดการน้ำสะอาด เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตน้ำสะอาดของสถานผลิตน้ำประปาของ กปภ.ทั่วประเทศ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำโดยผู้เชี่ยวชาญ ก่อนสูบจ่ายไปให้กับประชาชน ต่อไป กปภ. ตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจ แก่ประชาชน การผลิต น้ำประปา นั้นต้องผ่านขบวนการต่าง ๆ มากมาย กว่าจะเป็นน้ำประปาให้บริการแก่ประชาชนได้ มีขบวนการผลิตต่อไปนี้ ขั้นตอนแรกคือ การสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำอื่นที่จัดหาหรือจัดเตรียมไว้ ซึ่งจะมีการตรวจสอบวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของน้ำดิบอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ โดยใส่สารส้มหรือปูนขาวเพื่อช่วยในการตกตะกอนและปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำดิบ น้ำที่ผสมสารส้มหรือปูนขาวแล้ว จะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอน จนได้น้ำที่มีความใสสะอาด แล้วจึงใส่คลอรีนลงในน้ำในอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อฆ่าเชื้อโรคแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแล้วนำไปเก็บในถังน้ำใสเพื่อรอการสูบจ่าย อีกทั้ง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ. ) ยังได้ ร่วมมือกับ กรมอนามัย จัดทำ "โครงการส่งเสริมความเชื่อมั่นคุณภาพน้ำประปา" โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนา มาตรฐานทาง เพื่อให้น้ำประปามีคุณภาพมาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด นอกจากนี้ กปภ.ยังได้ดำเนินโครงการจัดการน้ำสะอาด เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตน้ำสะอาดของสถานผลิตน้ำประปาของ กปภ.ทั่วประเทศ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำโดยผู้เชี่ยวชาญ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำประปาที่ผลิตอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ได้น้ำประปาที่ใสสะอาดปลอดภัย ก่อนที่จะทำการสูบจ่ายน้ำโดยการปล่อยน้ำจากหอถังสูงหรือสูบอัดน้ำเข้าระบบท่อจ่ายน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ ทำให้ส่งน้ำไปได้ไกลและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น อีกด้วย และเพื่อให้ประชาชนแน่ใจว่าน้ำของเรานั้นสะอาดอยู่ตลอดเวลา กปภ.จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จำนวน 31 แห่งทั่วประเทศ (รวมสำนักงานใหญ่) ทำให้สามารถเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำและพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานภายใต้ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 โดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางของ กปภ.บริการให้คำปรึกษาและร่วมปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพน้ำแก่หน่วยงานต่าง ๆ อีกด้วย สำหรับอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หรือ Lab Cluster ของ กปภ. สามารถแบ่งออกตามพื้นที่และสาขาในความรับผิดชอบได้ ดังนี้