วันที่ 21ส.ค.64 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (รก.11) และประธานคณะกรรมการ MIU (Ministry of Public Health - Intelligence Unit) กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจง เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ว่ามีการนำข้อมูลไปบิดเบือน ดังนี้ ความจริง…. ยาฟาวิพิราเวียร์ จาก MIU กระทรวงสาธารณสุข “ยังคงสนับสนุนให้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ต่อไป ยามีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 โดยขอให้เน้นการให้ยาที่เร็วขึ้น” ตามที่ศูนย์บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินฯ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมาย คณะกรรมการ MIU (Ministry of Public Health - Intelligence Unit) กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาทบทวนด้านวิชาการ ข้อมูลยาฟาวิพิราเวียร์ ตามที่มีการนำข้อมูลเพียงบางส่วน เรื่องยาฟาวิพิราเวียร์ เช่น สไลด์การนำเสนอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากที่ประชุม คณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข และได้มีการนำมาเผยแพร่ โดนนำสไลด์มามาตีความและนำเสนอเอง ผู้เผยแพร่มิได้นำข้อมูลที่ประชุมทั้งหมด และข้อสรุปการประชุม มาเผยแพร่ การนำเสนอเพียงบางส่วน ได้สร้างความเข้าใจผิด ก่อให้เกิดความสับสน ต่อสังคมและประชาชน และผู้เผยแพร่ เป็นบุคคลภายนอก มิใช่คณะกรรมการ MIU สำหรับสาระสำคัญที่ที่ประชุม มีดังนี้ • HITAP ได้ทบทวนจากการศึกษาในต่างประเทศ บางรายงานพบว่ายาฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิผลในการรักษาโควิด และบางรายงานไม่มีประสิทธิผล ซึ่งประสิทธิผลในการรักษาต้องพิจารณาจากหลายประเด็น เช่น ความรุนแรงของผู้ป่วยโควิด สถานที่การศึกษา เช่น ในหอผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน ขนาดและปริมาณยาที่ใช้รักษาที่แตกต่างกัน เป็นต้น และส่วนใหญ่การศึกษาเป็นการเปรียบเทียบกับยาอื่นๆ ที่ใช้รักษาในแต่ละประเทศ • ข้อมูลการศึกษาที่มีผลเหมือนกันคือ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิผลในการลดอาการทางคลินิกใน 7 วัน และ 14 วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ยา ซึ่งสนับสนุนแนวทางการรักษาของไทยที่ปรับปรุงล่าสุด ฉบับที่ 17 ที่เริ่มให้ยาเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มมีอาการ • การศึกษาจากหลายสถาบันของไทยในการระบาดระลอกแรกปี 2563 พบว่า หากได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะลดความรุนแรงได้ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลังมีอาการ 4 วัน • การศึกษาผู้ป่วยเบื้องต้นในประเทศไทย พบว่ากลุ่มที่มีอาการปอดบวมรุนแรงอาการจะดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 14 วันส่วนกลุ่มที่ปอดบวมไม่รุนแรงจะดีขึ้นใน 9 วัน การให้ยาเร็ว เข่น การให้ที่จุดรับผู้ป่วย มีประโยชน์ในการลดความรุนแรงของโรค 3) ข้อเสนอเชิงนโยบาย ของ MIU ต่อกระทรวงสาธารณสุข ก่อนหน้านี้ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอื่นๆ ได้เสนอให้มีการบริหารจัดการและการสำรองยา ให้เพียงพอ ต่อการระบาด ของโรคโควิด 19 จึงเป็นที่มาการจัดหา และสำรองยาที่ปรากฏในปัจจุบัน 4) กระทรวงสาธารณสุขได้บริหารจัดการสถานการณ์โควิด 19 รวมถึงการใช้สำรองยาฟาวิพิราเวียร์ ด้วยความถูกต้องเหมาะสม รอบคอบ ภายใต้ข้อแนะนำด้านยุทธศาสตร์และวิชาการ จาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีอยู่หลายคณะ และได้มีการบริหารจัดการ ผ่านความเห็นชอบ จาก ศูนย์บริหารจัดการสถานการณ์โควิด 19