ทางหลวงเฉฉวน-ทิเบตในวันนี้ ที่ประกอบไปด้วยเส้นทางสายใต้ระยะทาง 2,146 กิโลเมตร และเส้นทางสายเหนือ 2,412 กิโลเมตร โดยภายหลังจากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานมากว่า 60 ปี เส้นทางคมนาคมนี้ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาเรื่อยมา พร้อมด้วยการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ในทิเบต ทางหลวงเฉฉวน-ทิเบต จึงเปรียบดั่งริบบิ้นที่คดเคี้ยวไปมาเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ได้ที่พาดผ่านเข้าด้วยกันให้กลายเป็นเมืองที่มีความทันสมัย สมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ที่ทำการของรัฐบาลจังหวัดหลินจือ ตั้งอยู่ที่เมืองปายี เขตปะยี่ จังหวัดหลินจือ เขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของมาโดยตลอด เนื่องจากตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเลค่อนข้างต่ำ มีสภาพแวดล้อมทางนิเวศที่ดี มีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย หลายปีมานี้เมืองปายีได้อานิสงค์จากการสร้างและเปิดใช้งานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 และทางหลวงระหว่างมณฑล รวมถึงเส้นทางรถไฟลาซา-หลินจือ (Lhasa–Nyingchi railway) ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และภูมิทัศน์ของเมืองก็ถูกปรับให้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย
เมืองสำคัญทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่บนทางหลวงเฉฉวน-ทิเบตเส้นทางสายเหนือ เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่สำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเชื่อมระหว่างเส้นทางสายหลักที่พาดผ่านไปทางตะวันตกสู่ทิเบต (ถังโป) และเส้นทางการค้าขายด้วยม้า (ฉาหม่า) แต่เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวอยู่บริเวณหุบเขาลึก จึงเป็นสาเหตุให้การคมนาคมไม่สะดวกนัก รวมถึงขาดการจัดการและวางแผนที่เหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาของเมืองฉางตูของทิเบตถูกจำกัด ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคมก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกลางและเขตปกครองตนเองทิเบต เมืองฉางตูปรับมาตรการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย โดยมีหน่วยงานผังเมืองในประเทศหลายแห่งต่าง ๆ ช่วยกันดำเนินการวางแผนและก่อสร้างในด้านทิศทางการพัฒนาเมือง ขนาดประชากร ภูมิทัศน์ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นให้มีคุณภาพที่ดี
เมืองฉางตูเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าประหลาดใจ แต่เดิมเมืองแห่งนี้มีพื้นที่เพียง 4.6 ตารางกิโลเมตร และมีสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่เพียง 6 แห่งเท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันพื้นที่ของเมืองขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าถึง 3 เท่า เพียงสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่มีถึง 13 แห่ง อัตราการขยายตัวของเมืองมีมากถึง 35 % เลยทีเดียวฉิ้ง เจิ้นตง เจ้าหน้าที่รัฐของเมืองฉางตูกล่าวว่า “เมืองฉางตูเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าประหลาดใจ แต่เดิมเมืองแห่งนี้มีพื้นที่เพียง 4.6 ตารางกิโลเมตร และมีสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่เพียง 6 แห่งเท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันพื้นที่ของเมืองขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าถึง 3 เท่า เพียงสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่มีถึง 13 แห่ง อัตราการขยายตัวของเมืองมีมากถึง 35 % เลยทีเดียว” หากเดินทางโดยใช้ทางหลวงเฉฉวน-ทิเบตเส้นทางสายใต้จากทางทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกก็จะผ่านอำเภอต่าง ๆ ของเมืองฉางตู เช่น อำเภอ หมางคาง จั่งกง ปาเซี่ยว โบมี่ และกงปูเจียงต๋า ตามลำดับ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาอำเภอเหล่านี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก ทางหลวงแผ่นดินที่พาดผ่านกลายเป็นเส้นทางสัญจรหลัก สิ่งปลูกสร้างสองข้างทางมีอยู่บางตา สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก็ค่อนข้างจะเรียบง่าย แต่ในทุกวันนี้อำเภอเหล่านี้กลับเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคย มีอาคารสูงตั้งตะหง่าน ถนนหนทางก็พาดผ่านไปตามตรงซอกซอยต่าง ๆ ทั่วเมือง สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะเพียบพร้อม บางอำเภอสร้างเขตใหม่ในอีกฟากของแม่น้ำ เมื่อถึงช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างเดินทางมาท่องเที่ยวกันอย่างคับคั่ง ห้องพักของโรงแรมก็ถูกจองจนเต็ม นอกจากใจกลางอำเภอแล้ว ยังมีเมืองขนาดเล็กบางแห่งก็พึงพาความสะดวกสบายของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 นี้ ช่วยเมืองเหล่านั้นได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทะเลสาบ “หรานอูหู” (Ranwu Lake) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเขตปาเซี่ยว เมืองฉางตู ทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองทิเบต ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเมืองบริเวณริมฝั่งทะเลสาบเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และกลายเป็นศูนย์บริการนักท่องท่องเที่ยว ซึ่งท้องถิ่นยังเปิดให้ร่วมลงทุนเพื่อสร้างแคมป์สำหรับนักท่องเที่ยวขับรถเที่ยวด้วยตนเองนานาชาติทะเลสาบหรานอูหู (Ranwu Lake International Self-drive Campsite) มีพื้นที่ก่อสร้างกว่า 5,000 ตารางเมตร ภายในบริเวณประกอบไปด้วยพื้นที่ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และยังมีพื้นที่สำคัญรถบ้าน และกางเต้นท์อีกด้วย ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ทิเบตจำเป็นต้องมา “เช็คอิน”สักครั้ง เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ทางหลวงเฉฉวน-ทิเบตมีบทบาทสำคัญในการเป็นเส้นทางเดินทางเข้า-ออกทิเบตที่สำคัญ โดยเชื่อมต่อชีวิต ความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและความสามัคคีระหว่างทิเบตและเฉฉวน ด้วยสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ต่างได้เปลี่ยนแปลงเป็นเมืองที่มีความทันสมัย เปรียบเสมือนไข่มุกส่องประกายตามแนวเส้นทางเฉฉวน-ทิเบตสายนี้พาดผ่าน และยังจุดประกายแสงสว่างให้แก่ชีวิตใหม่ของประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธ์