สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์ พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศไทย องค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ พระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง เป็นหนึ่งในตำนาน “พระพุทธรูปลอยน้ำ” อันลือเลื่อง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ที่เวียนมากราบสักการะอย่างเนืองแน่นตลอดทั้งปี แต่ที่ยกให้เป็น “สุดยอด” ก็ต้อง “เหรียญอาร์มรุ่นแรก ปี 2460” ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ” และประการสำคัญที่สุดคือ เป็นเหรียญพระพุทธที่ “แพง” ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ ครับผม การจัดสร้าง พระพุทธโสธร เข้าใจว่าผู้สร้าง คือ อาจารย์หลิน ขณะรักษาการเจ้าอาวาส เป็นผู้ดำริจัดสร้าง “เหรียญอาร์มพระพุทธโสธร รุ่นแรก ปี 2460” โดยมี ขุนศิริ นิพัฒน์ มัคนายกวัด เป็นผู้ดำเนินงาน เพื่อมอบแก่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ ในการซ่อมแซมฐานชุกชีขององค์หลวงพ่อโสธร นับเป็นเหรียญพระพุทธที่ “แพง” ที่สุดในประเทศ และหายากเอามากๆ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ” อีกด้วย เนื้อหามวลสาร-พุทธลักษณะพิมพ์ทรง พิมพ์สระอุติดไม่ชัด พิมพ์สระอุติดไม่ชัด เหรียญพระพุทธโสธร รุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างเป็น 2 แบบ คือ เหรียญรูปอาร์ม และ เหรียญรูปเสมา แต่ “เหรียญรูปเสมา” นั้น แจกเฉพาะกรรมการเท่านั้น “เหรียญอาร์มพระพุทธโสธร ปี 2460” มีการจัดสร้างเป็น 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อสำริด และ เนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว ข้างเลื่อย กว้างประมาณ 2.3 ซม. สูง 3 ซม. ด้านหน้า ยกขอบสูง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธโสธร ประทับนั่ง เหนืออาสนะ ระบุปีที่สร้างคือ “พ.ศ.๒๔๖๐“ ด้านล่างอาสนะ เป็นลายกระหนกหน้าสิงห์ ด้านข้างทั้ง 2 มีอักษรไทยว่า “พระพุทธโสทร เมืองฉเชิงเทรา” โดยมีตัว “อุ” ปิดหัวท้าย ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว “อุ” ต่อมาเป็นอักขระขอม 4 บรรทัด อ่านว่า “นะ โม พุท ธา ยะ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง” แต่เนื่องจากมีการจัดสร้างเป็นจำนวนมาก จึงมีหลายแม่พิมพ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้ “แม่พิมพ์ด้านหน้า” แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ สระอุ ติดชัด, พิมพ์ สระอุ ติดไม่ชัด และ พิมพ์ สระอุ ติดไม่ชัด มีเส้นแตก หรือเรียกกันว่า “พิมพ์แตก” ส่วน “แม่พิมพ์ด้านหลัง” มี 4 พิมพ์ โดยให้สังเกตที่อักขระขอมบรรทัดสุดท้ายที่อ่านว่า “สุขัง พะลัง” คือ “พิมพ์ยันต์ใหญ่” ตัว “ขัง” มีลักษณะกลมมน หางไม่ชิด “พิมพ์ยันต์กลาง” ตัว “ขัง” มีลักษณะแกะปลายหางชิดติดกันเป็นเส้นตรง “พิมพ์ยันต์เล็ก” ตัว “ขัง” มีลักษณะแกะปลายหางติดกัน แต่ไม่เชื่อมต่อกับช่วงตัว และ “พิมพ์ยันต์เล็กบล็อกแตก” จะเป็นพิมพ์ยันต์เล็ก ที่ตรงท้ายอักขระขอมบรรทัดสุดท้ายจะมีรอยขี้กลาก นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ ในการพิจารณา ดังนี้ พิมพ์สระอุติดชัดหน้า พิมพ์สระอุติดชัดหน้า เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดชัด - เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า “โส” เส้นนอกจะยกเป็นขดลวดเหมือนขอบกระด้ง มีรอยเส้นตีคู่เป็น “เส้นใน” ลักษณะเป็นเม็ดไข่ปลาเล็กๆ เรียงกัน พระกรรณยาวและปลายไม่แตกเป็นปากตะขาบ - ตัว “พ” หางจะสั้น - ปรากฏเส้นพระศอโค้งงอ 2 เส้น - ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ กับเลข ๖ จะจรดกัน - ตัวอักขระด้านหลังจะเล็กกว่า แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดไม่ชัด - เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า “โส” รอยเส้นตีคู่ที่เป็น “เส้นใน” ลักษณะเป็นเส้น - พระกรรณจะสั้นกว่า และปลายแตกเป็นปากตะขาบทั้งสองข้าง - ตัว “พ” หางจะยาวกว่า ส่วนสระอุจะติดเลือนๆ - ไม่ปรากฏเส้นพระศอ - ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ จะยาวกว่าเลข ๖ พิมพ์สระอุติดชัดหลัง พุทธคุณ พุทธคุณครบครันเป็นเลิศตามที่อธิษฐานขอพรทุกประการ โดยเฉพาะ เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นฉมังนัก ครับผม อย่างไรก็ดี ตามที่บอกไปแล้วว่า “เป็นเหรียญพระพุทธที่ “แพง” ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ” ดังนั้น ท่าน ผู้สนใจใฝ่แสวงหาไว้แนบกายควรปรึกษา กูรูผู้เชี่ยวชาญและไว้ใจได้จริงๆ ครับผม