ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ "ในโลกของไวรัสเดลต้า 1.ติดเชื้อได้ง่ายกว่าแอลฟ่า 50% 2.ไวรัสในระบบทางเดินหายใจสูงกว่าสายพันธุ์อื่น 1,000 เท่า 3. เป็นไวรัสที่ Fast Fit and Furious ติดง่าย ติดเร็ว แบ่งตัวดี อัตราการติดเชื้อภายในบ้านเดียวกันสูงกว่าสายพันธุ์แอลฟ่า secondary attack สูงจาก 5 % เป็น 10% โดยเฉพาะในบ้านเดียวกันหรือ close contacts อาจจะมีคนที่ได้รับวัคซีนติดเชื้อเดลต้าส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย แต่จะพาเชื้อไปให้คนอื่นและไปถึงคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน สายพันธุ์นี้ทำให้คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมีอัตราการป่วยที่รุนแรงและนอนโรงพยาบาลมากกว่ายังที่ไม่ได้วัคซีนประมาณ 2 เท่า 4. ดื้อต่อวัคซีน ลดการตอบสนองต่อวัคซีนเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม 3 เท่า แต่วัคซีนยังใช้ป้องกันโรครุนแรงได้ แต่อาจจะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ดีแม้แต่ mRNA vaccine 5. หลังจากฉีดวัคซีนแล้วยังคงต้องใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างต่อ เหมือนที่อเมริกาแนะนำให้กลับมาใส่หน้ากากในที่ที่อัตราการระบาดสูง สำหรับในเมืองไทย อัตราการติดเชื้อน่าจะยังสูงอยู่อีกนาน จะเห็นคนที่ได้รับวัคซีนแล้วยังติดเชื้อแต่อาการน้อย (แล้วแต่ชนิดของวัคซีนและระยะเวลาหลังจากได้รับวัคซีน) ส่วนตัวคิดว่าจะเห็นยอดสูงอัตราการติดเชื้อขึ้นๆลงตามช่วงที่มีการผ่อนคลายมาตรการ แต่สิ่งที่ต้องทำคือลดอัตราการตายโดยเร่งฉีดในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรงให้เร็วที่สุด ซึ่งยังมีความยาก ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ออกมารับวัคซีนไม่ได้และกลุ่มที่ยังลังเลที่จะรับวัคซีน ส่วนคนที่เคยติดเชื้อมาก่อนจะมีภูมิอยู่แต่อยู่ไม่นาน ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อให้ระดับของภูมิคุ้มกันอยู่สูงพอ อ้างอิงจาก https://assets.publishing.service.gov.uk/.../S1267_SPI-M... https://www.thelancet.com/.../PIIS0140-6736(21.../fulltext https://virological.org/.../viral-infection-and.../724 https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2107799"