NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนติดตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในเดือนส.ค.64 ดังนี้
2 สิงหาคม 2564 ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ผ่านพ้นไปแล้วกับปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์จะโคจรอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวนของดาวเสาร์และช่องว่างแคสสินี
11 สิงหาคม 2564 ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์
เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 18.40 น. ทางทิศตะวันตก มีเวลาสังเกตประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
12 สิงหาคม 2564 ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์
อัตราการตกสูงสุด 110 ดวงต่อชั่วโมง เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 23.00 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงรุ่งเช้า มีอัตราการตกสูงสุดวันที่ 13 ส.ค.64 เวลาประมาณ 02.00 น.
16 สิงหาคม 2564 ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ณ กรุงเทพฯ
เวลา 12.20 น. (ครั้งที่ 2) โดยเมื่อดวงอาทิตย์ตั้งฉาก เงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
20 สิงหาคม 2564 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงใตจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี